☆ สาระ-น่ารู้

ฝนตกน้ำขัง… ระวัง “โรคฉี่หนู”

“โรคฉี่หนู” อันตรายที่มาพร้อมกับฝน เกิดจากการลุยน้ำขัง ย่ำโคลน แช่น้ำนานๆ เชื้อเข้าร่างกายผ่านบาดแผล หรือผิวหนังอ่อนนุ่ม หรือแค่รอยถลอก รอยขีดข่วน ผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน หรือเยื่อบุตา รวมถึงอาหารน้ำดื่มก็สามารถมีเชื้อปนเปื้อนได้

หนูเป็นสัตว์รังโรค (reservoir) ทางด้านสาธารณสุข ถือเป็นพาหะนำโรค และเป็นเครื่องบ่งชี้ด้านสุขลักษณะของสถานที่ แสดงให้เห็นถึงสภาวะความบกพร่องทางด้านสุขาภิบาล ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อต่างๆ

โรคฉี่หนู Leptospirosis เป็นโรคที่พบได้ในช่วงฤดูฝน โดยน้ำฝนจะชะล้างเอาเชื้อโรคต่างๆ จากสภาพแวดล้อมไหลมารวมกันอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมขัง โรคฉี่หนูเกิดจากเชื้อก่อโรคฉี่หนู ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ชื่อว่า เลปโตสไปรา (Leptospira sp.) ที่อยู่ในปัสสาวะของสัตว์ที่เป็นพาหะ เช่น หนู สุกร โค กระบือ สุนัข เป็นต้น โดยสัตว์ที่เป็นพาหะอาจไม่แสดงอาการแต่มีการติดเชื้อที่ท่อไตทำให้มีการปล่อยเชื้อออกมากับปัสสาวะ ซึ่งเชื้อจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมขังตามดิน โคลน แอ่งน้ำ ร่องน้ำ น้ำตก แม่น้ำ ลำคลอง และสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานเป็นเดือน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม

ลักษณะอาการของโรคฉี่หนู มีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะน่องและโคนขา ( หลังลุยน้ำ 1 – 2 สัปดาห์ ) โรคฉี่หนูจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตาแดง หากมีอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติการเดินลุยน้ำ ย่ำโคลน หรือการสัมผัสน้ำแก่แพทย์ผู้รักษาให้ทราบด้วย หากไม่รีบรักษาและปล่อยไว้นานจนอาการมากขึ้นอาจเสียชีวิตได้

การป้องกันการติดเชื้อ จะปลอดภัยจาก “โรคฉี่หนู” ได้อย่างไร?

  • เลี่ยงการลุยน้ำ ย่ำโคลน หรือการแช่น้ำนาน ๆ
  • สวมรองเท้าบูท ถุงมือยางหากจำเป็นต้องลุยน้ำ
  • กรณีซึ่งมีบาดแผลตามร่างกาย หรือแค่รอยถลอก รอยขีดข่วน ปิดพลาสเตอร์ หากมีแผลป้องกันแผลโดนน้ำ
  • ทานอาหารปรุงสุก
  • ทำความสะอาดบ้าน กำจัดขยะไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของหนู กำจัดหนูตามแหล่งที่อยู่อาศัย ป้องกันหนูชุกชุม

อาการโรคฉี่หนู แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มอาการไม่รุนแรง มีอาการไข้สูงแบบทันทีทันใด ปวดศีรษะ สับสน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการคล้ายโรคไข้เลือดออก อาการเฉพาะโรคฉี่หนู ได้แก่ ปวดกล้ามเนื้อรุนแรง ตาแดง หรือ เลือดออกใต้ตาขาว ผู้ป่วยกลุ่มนี้ถ้าได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของโรค และเป็นอยู่ได้นานถึง 1 สัปดาห์แล้วอาการจึงดีขึ้น
  • กลุ่มอาการรุนแรง พบน้อยกว่ากลุ่มแรก ผู้ป่วยมีอาการไข้สูง ปวดเมื่อย เหมื่อนกลุ่มแรก และจะมีอาการแทรกช้อนของโรคอื่นร่วมด้วย เช่น ตาเหลือง ตัวเหลือง คอแข็ง ความดันโลหิตต่ำ การทำงานของไตลดลง ปอดอักเสบ เลือดออกผิดปกติ รายที่รุนแรงมากอาจพบเลือดออกในปอดได้ กลุ่มนี้ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิต
admin

Recent Posts

เชื่อหรือไม่? ในอดีตประเทศไทยเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’

เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ

🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ยืนยันแล้ว! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก

ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

เปิด 5 เคล็ดลับ “ดื่มน้ำอย่างไรให้เป็นยา” ตามหลักอายุรเวท

เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ประวัติ ความเป็นมา เทศกาลไหว้พระจันทร์ กับ ตำนาน “ฉางเอ๋อ” เทพธิดาแห่งดวงจันทร์

วันไหว้พระจันทร์ 🌙 ภาษาจีน คือ "中秋节" (จงชิวเจี๋ย) ส่วนวันไหว้พระจันทร์ภาษาอังกฤษ คือ Moon Festival หรือ Mid-Autumn Festival (เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง) เทศกาลไหว้พระจันทร์… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

This website uses cookies.