กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเครื่องแสดงถึงความเก่าแก่ ความแข็งแกร่ง ความเจริญรุ่งเรืองและประวัติศาสตร์อันยาวนาน
กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ริมถนนราชดําเนิน เดิมเป็นกําแพงที่ก่ออิฐถือปูนทั้งสี่ด้าน มีเชิงเทิน ใบเสมา มีป้อมมุมที่มุมกําแพงทั้งสี่ด้าน กําแพงทางด้านมีประตู เมืองทางทิศเหนือ คือ ประตูชัยเหนือ หรือ “ประตูชัยศักดิ์” และประตูเมืองทางทิศใต้ คือ ประตูชัยใต้ หรือ “ประตูชัยสิทธิ์” ขนาดของเมืองวัด ตามกําแพงเมืองยาว ๒,๒๓๘.๕๐ เมตร กว้าง ๔๕๖.๕๐ เมตร
การสร้างกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช ปรากฏหลักฐานจากตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เมื่อตั้งเมืองขึ้นที่หาดทรายแก้ว แล้วจึงสร้างกำแพงเมืองเป็นกำแพงดิน มีคูล้อมรอบ สันนิษฐานว่ามีการบูรณะกำแพงเมืองส่วนต่าง ๆ กันมาหลายครั้ง ทุกครั้งคงพยายามรักษาแนวกำแพงเดิมไว้ใน พ.ศ.๑๙๕๐ สมเด็จพระราเมศวรแห่งกรุงศรีอยุธยาตีล้านนาไทยได้ ได้กวาดต้อนผู้คนมาไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช
ชาวล้านนาไทยจึงนำเอาแบบอย่างการสร้างกำแพงเมืองมาจากเมืองเชียงใหม่ มาซ่อมกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช โดยทำเป็นกำแพงแบบปักเสาพูนดินในราว พ.ศ.๒๑๐๐ เมื่อชาวโปรตุเกสนำวิธีการสร้างแบบก่ออิฐและตั้งฐานปืนใหญ่เข้ามากำแพงเมืองนครศรีธรรมราชคงถูกดัดแปลงเป็นกำแพงก่ออิฐขึ้น เพื่อให้เป็นป้อมปราการที่แข็งแรง
..ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นายช่างวิศวกรและสถาปนิกของฝรั่งเศสเข้ามาเมืองไทย จึงมีการสร้างกำแพงเมืองตามแบบชาโต (Chateau) กำแพงเมืองนครศรีธรรมราชที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน จึงเป็นกำแพงเมืองที่สร้างขึ้นสมัยพระนารายณ์มหาราช โดยวิศวกรชาวฝรั่งเศสนามว่า เดอ ลามาร์ มีลักษณะผังสี่เหลี่ยม รวม ๑๐ ประตูเมือง ได้แก่
๑.ประตูชัยใต้ (ชัยสิทธิ์)
๒.ประตูหลังพระ
๓.ประตูท่าชี
๔.ประตูท้ายวัง
๕.ประตูท่าม้า
๖.ประตูชัยเหนือ (ชัยศักดิ์)
๗.ประตูโพธิ์ (๑)
๘.ประตูลอด
๙.ประตูยม และ
๑๐.ประตูลัก (โบราณเรียกประตูผี)
วิศวกรเดอ ลามาร์ เคยกล่าวถึงเมืองนครศรีธรรมราชไว้อย่างน่าสนใจว่า ”นครศรีธรรมราช คือ เมืองเก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งในตะวันออก เมื่อก่อนเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรที่มีชื่อเดียวกัน เมืองนครศรีธรรมราชมีผังเมืองยาวและแคบมาก ตั้งอยู่บนสันทรายที่แยกตัวออกจากที่ลุ่ม ความยาวของสันทรายจากเหนือถึงใต้ และสภาพของสันทรายทำให้เมืองนครแข็งแรง” (จากบทความคุณค่าจากแผนที่เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งสำรวจและจัดทำโดย ม.เดอ ลามาร์ เมือ พ.ศ.๒๒๓๐ โดยคุณภูธร ภูมะธน)
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งตรงกับสมัยที่พระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) ครองเมืองนครศรีธรรมราช ได้มีการซ่อมกำแพงอีกครั้งราวปี พ.ศ. ๒๓๒๗
เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ครั้งเป็นพระยาสุขุมนัยวินิต ข้าหลวงสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช สั่งให้รื้อกำแพงเมืองซึ่งชำรุด แต่ยังคงเห็นรูปทรงและใบเสมาชัดเจน เอาอิฐมาทำถนนที่เลียบริมกำแพงด้านในทุกด้าน
ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ทำการซ่อมกำแพงเมือง ที่หลงเหลือ ปัจจุบันมีแนวกําแพง เมืองที่หลงเหลืออยู่เป็นแนวขนานไป กับคูเมืองตั้งแต่ประตูชัยเหนือหรือ ประตูชัยศักดิ์ ไปทางตะวันออก
ยาวประมาณ ๑๐๐ เมตร ใบเสมาและแนวป้อมจึงยังคงปรากฏให้เห็น ส่วนด้านอื่น ๆ นั้น พังทลายเห็นเพียงซากอิฐหรือดินเท่านั้น
ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ทำการซ่อมกำแพงด้านทิศเหนือเพียงบาง ส่วน ใบเสมาและแนว ป้อมจึงยังคงปรากฏให้เห็น ส่วนด้านอื่น ๆ นั้น พังทลายเห็นเพียงซากอิฐหรือดินเท่านั้นกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเครื่องแสดงถึงความเก่าแก่ ควนแข็งแกร่ง ความ เจริญรุ่งเรือง และประวัติศาสตร์อันยาวนาน
ความสำคัญต่อชุมชน