❖ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม

กำเนิด ความเชื่อ ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ประเพณีแห่งความกตัญญูกตเวที

ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีสำคัญคู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช มาช้านาน เมื่อกล่าถึง “งานเดือนสิบ” แล้วใคร ๆ ก็นึกถึงเมืองนคร ลูกหลานชาวนครศรีธรรมราช ที่จากภูมิลำเนาไปอยู่ไกลบ้าน ไกลเมือง เมื่อถึงช่วง “เดือนสิบ” ก็จะเริ่มกลับบ้านเกิดเมืองนอนเพื่อร่วมงานประเพณีสารทเดือนสิบโดยทั่วหน้ากัน

ประเพณีสารทในพระพุทธศาสนา พบว่า มีกำเนิดจากความเชื่อเรื่องการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย คัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท บันทึกไว้ว่า

ครั้งหนึ่ง.. เปรตผู้เป็นญาติทั้งหลายจึงแสดงเสียงเสียงโอดครวญน่าสะพรึงกลัวก่อกวนพระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งแคว้นมคธ จึงได้กราบทูลอาราธนาสมเด็จพระศาสดา และนิมนต์คณะสงฆ์ไปรับมหาทาน ที่พระราชนิเวศน์เพื่อทำพิธีอุทิศส่วนกุศลแก่หมู่ญาติของพระองค์ เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว พระเจ้าพิมพิสาร ทรงถวายผ้าและไทยธรรมต่างๆ และทรงอุทิศพระราชกุศลแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ

ในครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบันดาลให้พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวาร เห็นว่าหมู่ญาติที่ล่วงลับไปแล้วนั้น อันได้ไปเกิดเป็นเปรต มีสภาพเช่นไร และหลังจากได้รับผลบุญที่อุทิศไปให้แล้วนั้นมีสภาพเป็นเช่นไร

และในขณะที่พระเจ้าพิมพิสารทรงหลั่งน้ำทักษิโณทกนั้น มีสระโบกขรณีที่เต็มไปด้วยดอกปทุมอันสวยงามได้บังเกิดขึ้น ทันใดเมื่อบรรดาเปรตเหล่านั้นได้ดื่มกินน้ำ ก็สามารถบรรเทาความกระหาย

ครั้นเมื่อได้อาบน้ำนั้น พลันให้ได้มีผิวพรรณเหลืองอร่ามดุจทองคำเนื้องาม ร่างกายที่ผิดปรกติพิกลพิการไม่สมประกอบ กลับคืนดังคนปกติ ครั้นเมื่อได้รับอาหาร คาว-หวานอันเป็นทิพย์ ก็ทำให้ร่างกายที่ผ่ายผอมนั้นกลับสมบูรณ์มีน้ำมีนวลขึ้น

จึงเป็นที่มาของการอุทิศส่วนบุญโดยมีน้ำกรวด

แต่ว่า เปรตเหล่านั้นก็ยังมิได้มีเครื่องห่อหุ้มร่างกายพระเจ้าพิมพิสารจึงได้กราบทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ควรจะทำประการใด

พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบว่า ให้ถวายผ้าสบง จีวร และผ้านิสีทนะแด่พระภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าพิมพิสารเมื่อได้ฟังดังนั้นแล้ว ทรงรีบรับสั่งให้บริวารจัดหาผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้ารองนั่ง มาถวายแด่คณะพระภิกษุซึ่งมีพระบรมศาสดาเป็นประมุข จากนั้นแล้ว พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงอุทิศผลบุญนี้แก่หมู่เปรต

ครั้นเมื่อเปรตทั้งหลายได้รับผลบุญแล้วเปล่งสาธุการออกมา จึงได้พากันเข้าไปอยู่ในวิมาน และเมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้เห็นอานิสงส์ของการทำทานและอุทิศส่วนกุศลผลบุญแก่หมู่ญาตินี้แล้วทรงมีความอิ่มเอม ยินดี เลื่อมใสและศรัทธาในการทำทานนี้มากยิ่งนัก

ในครั้งนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอนุโมทนาด้วยพระคาถาอันปรากฏใน “ติโรกุฑฑสูตร” ตอนหนึ่งว่า ..

อทาสิ เม อกาสิ เม ญาติมิตฺตา สขา จ เม เปตานํ ทกฺขิณํ ทชฺชา ปุพฺเพ กตมนุสฺสรํ ฯ

” บุคคลมาระลึกถึงอุปการะที่ท่านผู้นี้ได้ทำให้แก่ตน ในกาลก่อนว่า ได้ให้สิ่งนี้แก่เรา ผู้นี้ได้ทำกิจของเรา ผู้นี้เป็นญาติ เป็นมิตร เป็นเพื่อนของเรา ควรให้ทักษิณาทานเพื่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว”

โดยความหมายนั้นคือ.. “เราควรระลึกถึงบุญคุณผู้ที่เคยมีอุปการคุณ อันได้แก่ บิดา มารดา หรือญาติมิตรผู้ล่วงลับ และควรได้อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่หมู่ญาติมิตรนั้นๆ โดยการให้ทักษิณาทาน”

เชื่อกันว่า เหล่าสัตว์นรกที่ได้เห็นพี่น้องลูกหลานของตน ทำบุญให้ทานรักษาศีลห้า ศีลแปด ตลอดจนได้บวชลูกหลานไว้ในบวรพระพุทธศาสนาแล้ว ต่างก็พากันยินดีชื่นชมโสมนัส ครั้นแล้วต่างพากันแซ่ซ้องสาธุการและประสาทพรแก่ลูกหลาน ขอให้มีความสุขความเจริญทั้งโลกนี้และโลกหน้า

ตัวอย่างอื่น ๆ ในสมัยพุทธกาลได้แก่

พระสารีบุตรเถระ ได้สร้างกุฎี ๔ หลัง ถวายแก่สงฆ์พร้อมทั้งข้าวและนํ้า แล้วอุทิศส่วนบุญไปให้แก่เปรตที่เคยเป็นมารดา

นางติสสาอุบาสิกา ได้ถวายภัตตาหารและผ้าไตรจีวรแก่พระภิกษุ ๘ รูปแล้วอุทิศส่วนบุญไปให้แก่นางเปรต เป็นผลให้ผู้ที่ได้รับส่วนบุญพ้นจากความเป็นเปรตได้

โดยความเชื่อเรื่องบุญสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีที่วิวัฒนาการมาจาก ประเพณี “เปตพลี” ของศาสนาพราหมณ์ อันเป็นประเพณีที่จัดทำขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย ปฏิบัติต่อเนื่องมาในอินเดียก่อนสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์เห็นว่าเป็นประเพณีที่ดีงามจึงอนุญาตให้พุทธบริษัทปฏิบัติสืบเนื่อง

ต่อกันมา จึงก่อเกิดประเพณีและพิธีกรรม เพื่อให้มีพิธีการปฏิบัติเป็นแบบ ยึดถือตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น ความเชื่อเรื่องบุญสารทเดือนสิบจึงเป็นสื่อให้เกิดการปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา

จนกลายเป็นประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ด้วยความเชื่อเกี่ยวกับจิตวิญญาณ หลังจากที่ตายไป เชื่อว่าผู้ทำกรรมใดย่อมได้รับกรรมนั้น ทำดีได้ขึ้นสวรรค์ ทำชั่วตกนรก เป็นเปรต

ต้องทนทุกข์ทรมานเพราะผลแห่งบาปที่ทำไว้และ ดำรงชีพอยู่ด้วยการอาศัยส่วนบุญจากการ การอุปการะของญาติพี่น้องหรือผู้อื่น ที่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ส่วนเดียว จึงจะมีความเป็นอยู่พออยู่ได้ ถ้าไม่มีใครอุทิศไปให้ก็ไม่ได้รับบุญ

admin

Recent Posts

จากความเชื่อ “เปรต” ผีที่หิวโหย 12 ตระกูล 21 จำพวก

เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..

1 week ago

เชื่อหรือไม่? ในอดีตประเทศไทยเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’

เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ

🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ยืนยันแล้ว! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก

ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

เปิด 5 เคล็ดลับ “ดื่มน้ำอย่างไรให้เป็นยา” ตามหลักอายุรเวท

เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

This website uses cookies.