จะนั่งก็โอย จะลุกก็โอย หมอแนะ เดินถอยหลังแก้ปวดหลังได้!

ปกติชีวิตที่จะต้องมีแต่เดินไปข้างหน้า แต่หากทว่าอยากจะเดินถอยหลัง ได้ลองเปลี่ยนอิริยาบถการเดินดูบ้าง จะปรากฏสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่ง ศ.คลินิก นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune” โดยระบุ “#เดินถอยหลังแก้ปวดหลัง -คุณเคยเดินถอยหลังจริงๆไหม -วันนี้ มาเล่าเรื่องที่ไม่ใช่ abstract หรือ แค่หลักคิด แต่เป็นเรื่องจริงทางกายวิภาคและสรีรวิทยาครับ ….

ปกติชีวิตที่จะต้องมีแต่เดินไปข้างหน้า แต่หากทว่าอยากจะเดินถอยหลัง ได้ลองเปลี่ยนอิริยาบถการเดินดูบ้าง จะปรากฏสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่ง ศ.คลินิก นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune” โดยระบุ “#เดินถอยหลังแก้ปวดหลัง

-คุณเคยเดินถอยหลังจริงๆไหม

-วันนี้ มาเล่าเรื่องที่ไม่ใช่ abstract หรือ แค่หลักคิด แต่เป็นเรื่องจริงทางกายวิภาคและสรีรวิทยาครับ …. หากลองเดินถอยหลังดู จะรู้สึกว่า มันยากเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ทำไม่ได้ ต้องตั้งใจ ตั้งสติ ยกเท้า ก้าว ถ่ายน้ำหนัก และ ยังต้องคอยเหลียวดูข้างหลัง (ผมเคยเดินถอยหลังจนชนรถที่จอดเอาไว้) … เดินถอยหลัง มันไม่เป็นธรรมชาติ มันช้า มันงุ่มง่าม แล้ว เราเดินทำไม

-ธรรมชาติ สร้างร่างกายเราให้เดินไปข้างหน้าครับ ช้อสะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า พับไปทางเดียว เช่น ข้อเข่าพับไปข้างหลัง เหยียดไปข้างหน้าได้ไม่เกิน 180 องศา ถ้าไปไกลกว่านั้นต้องใช้ข้อสะโพกช่วยทำแทนครับ ตาของเราก็มีไว้มองไปข้างหน้า คอเราก็บังคับตาให้มองไปข้างหน้า … แล้วเดินถอยหลัง ได้อะไร ทำให้แก้ปวดหลังได้จริงหรือครับ

-เวลาเราเดินไปข้างหน้า กล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกายตั้งแต่ ศีรษะ จรดเท้าต้องช่วยกันทำงานครับ เพราะทุกๆครั้งที่ยกเท้าขึ้นพ้นพื้น เท้าอีกข้างหนึ่ง ลำตัว หัวไหล่ ต้อง พยุงให้เราทรงตัวได้ไม่ล้มลง ก่อนที่จะรอให้เท้าที่ยกพ้นพื้นไปรับน้ำหนัก และ ทำหน้าที่แทน การเดินจึงไม่ใช่เพียงแค่การทำงานของ เข่า ต้นขา และ เท้า แต่เป็นการทำงานประสานกันทั้งร่างกาย …

แต่ในภาวะปกติ ที่ถูก โปรแกรมให้ทำซ้ำๆ กัน ทุกวันๆ กล้ามเนื้อมัดหลักๆ จะแข็งแรง และ พาร่างกายให้เคลื่อนที่ไปได้ แต่ กล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ที่อยู่ตามแกนของลำตัว ก็แค่ประคอง ให้มีการทรงตัวอยู่ได้ คอย ติดตาม และ พยุงตาม … หลายครั้ง เวลาเราเดิน หรือทำกิจกรรม กล้ามเนื้อใหญ่ ก็ไม่ได้รอจังหวะให้กล้ามเนื้อเล็กพร้อม ขยับไปก่อนเลย กล้ามเนื้อเล็กๆ ก็ถูกลากไป และ เกิดการบาดเจ็บ โดยที่กล้ามเนื้อใหญ่ที่ใช้ในการเดินไม่ได้ใส่ใจ หรือ ลืมสนใจ … การบาดเจ็บนี้ กล้ามเนื้อเล็ก ก็ทนเอา จนกระทั่งวันหนึ่ง ทนไม่ไหว ไม่ยอมขยับ เกิดอาการเจ็บปวดทุกครั้งที่ขยับ เราจึงเพิ่งตระหนักว่า ปวดหลัง ปวดเอว

-ไม่ใช่ความผิดของกล้ามเนื้อใหญ่นะครับ แต่ เป็นการประสานงานที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ร่างกายเราจึงต้องการการบริหาร การบริหาร คือการซ้อมการประสานงาน สามารถซ้อมไป ทำงานไป (on the job training) กล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก ล้วนมีความสำคัญ และ สามารถ ช่วยกันทำงานได้ครับ แต่ต้องการการซ้อม การประสานงาน การเดินไปข้างหน้าตามปกติ แบบเร็วๆ บางครั้ง ก็ลืมดูกัน ดังนั้น การเดินถอยหลัง เป็นการย้อนจังหวะการทำงานทุกอย่าง ที่ไม่คุ้นเคย ทำให้ มีเวลาที่กล้ามเนื้อมัดต่างๆ จะได้เรียนรู้ว่า กล้ามเนื้อมัดอื่น เขาทำอะไรอยู่ ช่วยอะไรเราอยู่ เรียนการทำงานร่วมกัน …

เวลาเดินถอยหลัง จะเปลี่ยนคิว การส่งมอบงาน ก่อนหน้านี้ เคยรอรับงานจากเขา ตอนนี้ กลายเป็นกล้ามเนื้อนั้นส่งมอบจังหวะให้เขาทำต่อ หรือ ในทางกลับกัน ก่อนหน้านี้ เคย สั่ง และ ส่งงานต่อให้เขา ตอนนี้ ต้องกลับมารับงานต่อจากเขา … เป็นการฝึกฝนแบบหนึ่ง ฝึกระบบประสาท และ สมองด้วยครับ ….. ในจังหวะนี้เอง ทำให้การส่งต่องานระหว่างกล้ามเนื้อมัดใหญ่กับมัดเล็กดีขึ้น ในการเดินปกติครั้งถัดไป จะเกิดการบาดเจ็บน้อยลง การปวดหลังก็น้อยลงครับ

-ร่างกายเรามหัศจรรย์ เรามีเรื่องที่เรียนรู้จากร่างกายเราได้มากมายเลยครับ … แม้แต่ในชิวิตการทำงาน การลองเปลี่ยนบทบาทกันบ้าง จะทำให้เราเข้าใจกันและกันได้ดีขึ้นครับ”

บทความต้นฉบับ

เดินถอยหลังแก้ปวดหลังได้!

admin

Recent Posts

คืบหน้า การเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2568

ความคืบหน้าของการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครบัตรใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในต้นเดือนมีนาคม 2568 เพื่อพิจารณาข้อสรุปเกณฑ์บัตรสวัสดิการใหม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป ก่อนที่การเปิดลงทะเบียนในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2568 ตามที่ ครม.ได้เห็นชอบตามไทม์ไลน์ ทั้งนี้ ช่องทาง… อ่านเพิ่มเติม..

2 days ago

ปฏิทินวันพระ พ.ศ. 2568/2025 (ปีมะโรง – ปีมะเส็ง)

วันพระ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันธรรมสวนะ อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยปกติ ในเดือนหนึ่ง ๆ จะมีวันพระ 4 วัน ตรงกับวันขึ้น 8… อ่านเพิ่มเติม..

2 weeks ago

สูตรก่อนนอน ช่วยให้หลับสนิท ตื่นมาสดชื่น

10-3-2-1-0 สูตรก่อนนอน ที่จะช่วยให้ตื่นมาสดชื่น โดยการเอาชนะใจของตนเองเป็นหลัก การนอนหลับผักผ่อนไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ แถมยังอาจส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนโหยอาหารและอ้วนง่ายขึ้น วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถเข้านอนได้ตรงเวลา นอนหลับสนิท และตื่นเช้าวันรุ่งขึ้นด้วยความแจ่มใสอย่างคนพักผ่อนเต็มที่และพร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวัน มาติดตามกันเลยว่าวิธี 10-3-2-1-0 จะมีอะไรบ้าง... 10… อ่านเพิ่มเติม..

3 weeks ago

10 จังหวัดที่มี วัด เยอะที่สุดในประเทศไทย

พุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ผ่านการเผยแผ่ธรรมของพระสมณทูตจากอินเดีย ภายใต้การสนับสนุนของพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชีวิตประจำวันของคนไทยอีกด้วย นิกายที่นิยมนับถือในประเทศไทยคือ นิกายเถรวาท (Theravada) ซึ่งเป็นนิกายที่ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นหลักในการปฏิบัติและศึกษา นิกายนี้เน้นการบรรลุธรรมผ่านการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย วัดและการปฏิบัติศาสนกิจ:ในประเทศไทยมีจำนวนมาก… อ่านเพิ่มเติม..

3 weeks ago

สุ่มตรวจผักและผลไม้ 15 ชนิด พบ ‘กะเพรา-พุทราช๊อกโกเลต’ มีสารพิษตกค้างมากสุด

เปิดผลสำรวจผักและผลไม้ทั้งหมด 15 ชนิด ที่มีสารตกค้างเกินค่ามาตรฐาน จากห้างสรรพสินค้า 5 แห่ง ตลาดสด 12 จังหวัด ในช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาพบ "กะเพรา" มีสารพิษตกค้างมากสุด 94% รองลงมา… อ่านเพิ่มเติม..

4 weeks ago

อาหาร 10 ชนิดที่จะล้างพิษ(Detox)ในร่างกายของคุณ

การล้างพิษ (Detox) เป็นกระบวนการที่ช่วยกำจัดสารพิษหรือสิ่งสกปรกที่สะสมในร่างกายออกไป อาหารจัดได้ว่าเป็นยาที่ดีที่สุด อาหารบางประเภทสามารถช่วยในกระบวนการนี้ได้ดี โดยมีคุณสมบัติในการขับสารพิษออกจากร่างกาย และช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต่อไปนี้คือ 10 อาหารที่ช่วยในการล้างพิษ: 1. มะนาว มะนาวมีสารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินซีที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของตับ ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญในการขับสารพิษออกจากร่างกาย… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

This website uses cookies.