ระทึก! ทัพเรือ’ฝ่าคลื่นลมแรง ออกไปช่วยเหลือลูกเรือประมง 5 ชีวิต ที่ลอยลำอยู่กลางทะเล 2 วัน 2 คืน

ทัพเรือภาคที่ 2 ส่งเรือ ต. 115 ฝ่าคลื่นลมแรงออกไปช่วยเหลือเรือประมงเครื่องยนต์ขัดข้อง มีลูกเรือ 5 ชีวิต ที่ลอยลำอยู่กลางทะเล 2 วัน 2 คืนท่ามกลางฝนตกหนักและคลื่นลมแรงเดินทางกลับเข้าฝั่งได้อย่างปลอดภัย

ศูนย์ปฏิบัติการทัพเรือภาคที่ 2 ได้รับแจ้งขอความช่วยเหลือจากเรือประมงชื่อเรือ พรพันแสน 3 เป็นเรือไดหมึก เนื่องจากเครื่องยนต์ขัดข้องใช้การไม่ได้อยู่กลางทะเล ห่างจากปลายแหลมตาชี จังหวัดปัตตานี ประมาณ 36.7 ไมล์ หลังได้รับแจ้งขอความช่วยเหลือ พลเรือโท สุนทร คำคล้าย ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 จึงได้สั่งการให้เรือ ต. 115 ที่ออกลาดตระเวนตามแผนอยู่ในบริเวณจังหวัดปัตตานีให้ทำการตรวจสอบและออกค้นหาเรือประมงที่แจ้งขอความช่วยเหลือเป็นการด่วนและขอให้รีบทำการช่วยเหลือทันที

เรือเอก ณัฐเชษฐ์ เสงี่ยมพงษ์ ผู้บังคับการเรือ ต.115 ได้นำเรือออกค้นหาเรือประมง พรพันแสน 3 ทันที โดยใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมงก็สามารถติดต่อทางวิทยุสื่อสารได้ และสอบถามสาเหตุที่เครื่องยนต์ขัดข้อง เรือลอยลำอยู่ที่ แลต. 07 องศา 03.234 ลิปดา น. ลอง. 101 องศา 51.858 ลิปดา อ. ในทิศทาง แบริ่ง 078 ระยะ 36.7 ไมล์ จากปลายแหลมตาชี

เรือ ต.115 เดินทางถึงจุดที่ได้รับแจ้ง พบเรือประมงลำดังกล่าวกำลังลอยลำท่ามกลางคลื่นลมที่มีกำลังแรง คลื่นสูง ฝนตก โดยในเรือประมงลำดังกล่าวมีลูกเรือ 5 นาย รวมผู้ควบคุมเรือ สัญชาติไทย 3 นาย กัมพูชา 2 นาย เป็นเรือไดหมึก ขนาด 50 ตันกรอส ทราบว่าเกียร์ขัดข้องใช้เครื่องไม่ได้ตั้งแต่วันที่ 23 ก.พ.65 ขณะนั้นเรือห่างฝั่งประมาณ 70 ไมล์ ไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้ จึงควบคุมเรือโดยใช้ผ้าใบเพื่อให้เข้าฝั่งใกล้ขึ้น (ลอยลำ 2 วัน 2 คืน) จากนั้นสามารถติดต่อผ่านวิทยุได้ จึงได้ทำการเเจ้งขอความช่วยเหลือ

จากนั้น ทางเรือ ต.115 ได้ดำเนินการขึ้นเชือกเพื่อทำการช่วยจูงเรือเข้าฝั่ง ถึงที่หมายบริเวณ แหลมตาชี แลต. 06 องศา 54.68 ลิปดา น. ลอง. 101 องศา 10.09 ลิปดา อ. เวลา 21.45 น.เมื่อคืนวันที่ 25 ก.พ.65 ส่งเรือประสบเหตุจอดเรือทอดสมอโดยปลอดภัย

ขอบคุณภาพ/ข่าว : กองทัพเรือ

admin

Recent Posts

เชื่อหรือไม่? ในอดีตประเทศไทยเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’

เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ

🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ยืนยันแล้ว! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก

ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

เปิด 5 เคล็ดลับ “ดื่มน้ำอย่างไรให้เป็นยา” ตามหลักอายุรเวท

เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ประวัติ ความเป็นมา เทศกาลไหว้พระจันทร์ กับ ตำนาน “ฉางเอ๋อ” เทพธิดาแห่งดวงจันทร์

วันไหว้พระจันทร์ 🌙 ภาษาจีน คือ "中秋节" (จงชิวเจี๋ย) ส่วนวันไหว้พระจันทร์ภาษาอังกฤษ คือ Moon Festival หรือ Mid-Autumn Festival (เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง) เทศกาลไหว้พระจันทร์… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

This website uses cookies.