ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมีเด็กป่วยด้วยภาวะเมทฮีโมโกลบิน (Methemoglobin) ในหลายจังหวัด เนื่องมาจากมีประวัติกินไส้กรอกซึ่งไม่มียี่ห้อ ไม่มีเอกสารกำกับ
ทางศูนย์พิษวิทยา รามาธิบดี จึงออกมาเตือนให้ระมัดระวังไม่ควรกินไส้กรอกที่ไม่รู้ที่มาที่ไป จากแหล่งที่ไม่แน่ชัดหรือไม่น่าเชื่อถือโดยอาการของผู้ป่วยคือ คลื่นไว้ เวียนศีรษะ เหนื่อย หายใจเร็ว เขียว ระดับออกซิเจนที่วัดปลายนิ้วต่ำ ในขณะนี้ยังไม่มีรายใดที่รุนแรงถึงแก่ชีวิต
ภาวะ Methemoglobin เป็นภาวะที่ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงถูกออกซิไดช์โดยสารออกซิแดนท์ต่างๆ กลายเป็นmethemoglobin ทำให้สูญเสียความสามารถในการขนส่งออกซิเจน และสีของเม็ดเลือดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ
ผู้ป่วยจะมีอาการของการขาดออกซิเจนเช่น มึนศีรษะ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หายใจเร็ว เขียว หากรุนแรงจะมีอาการหอบเหนื่อยมาก เลือดเป็นกรด ความดันโลหิตต่ำและเสียชีวิตได้
โดยสารออกซิแดนท์ที่อาจมีการเติมในไส้กรอกหรืออาหารแปรรูปคือสารตระกูล ไนเตรท และไนไตรท ซึ่งเป็นวัตถุกันเสีย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2547) ได้กำหนดปริมาณที่อนุญาตให้ใช้โซเดียมไนไตรทและโซเดียมไนเตรทในอาหารได้ไม่เกิน 125 และ 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ กรณีที่ใช้ทั้งโซเดียมไนไตรต์และโซเดียมไนเตรตให้มีปริมาณรวมกันได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
ในการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานอาจมีการเติมสารไนเตรท-ไนไตรท เยอะกว่าปกติ หรืออาจผสมไม่ดีทำให้มีบางส่วนมีปริมาณสารสูงเกินกว่าที่ควรได้ โปรดเฝ้าระวังการบริโภคไส้กรอกจากแหล่งที่ไม่แน่ชัดหรือไม่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะในเด็กเนื่องจากเด็กจะไวต่อสารกลุ่มนี้มากกว่าผู้ใหญ่ หากมีอาการผิดปกติ ควรไปตรวจที่ รพ. หากทาง รพ. สงสัยภาวะ methemoglobinemia สามารถปรึกษา ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดีได้ที่ 1367 ตลอด 24 ชั่วโมง
ขณะนี้ทางศูนย์ฯ ประสานกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อดำเนินการสืบค้นแหล่งที่มาของการระบาดเพิ่มเติมแล้ว
ปกติร่างกายคนเราได้รับสารออกซิแดนต์ในขนาดน้อยๆจากแหล่งต่างๆอยู่แต่ไม่เกิดปัญหาเพราะร่างกายสามารถเปลี่ยน methemoglobin กลับเป็นฮีโมโกลบินปกติได้แต่หากมีปริมาณ methemoglobin สูงมากๆ (ได้รับสารออกซิแดนท์เยอะเกินไป) ร่างกายจะเปลี่ยน methemoglobin คืนเป็นฮีโมโกลบินปกติไม่ทัน นำไปสู่ภาวะขาดออกซิเจน
ในเด็กความสามารถในการเปลี่ยน methemoglobin กลับเป็นฮีโมโกลบินปกติจะน้อยกว่าในผู้ใหญ่ เด็กจึงเกิด methemoglobin ได้ง่ายกว่า
การตรวจเบื้องต้นจะพบว่าระดับออกซิเจนที่วัดปลายนิ้วจะต่ำอาจต่ำ 80-85% ได้ แต่เมื่อเจาะตรวจ arterial blood gas จะพบว่าระดับออกซิเจนอยู่ในระดับปกติ เรียกความแตกต่างของการพบระดับออกซิเจนที่ต่างกันจาก การตรวจทั้งสองวิธีว่า oxygen saturation gap ซึ่งอาจพบในภาวะอื่นได้ด้วย
ในที่ๆ ตรวจ arterial blood gas ไม่ได้ สามารถทำ bedside test โดยเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำของผู้ป่วยมาพ่นออกซิเจน 2 LPM นาน 2 นาที ในคนปกติเลือดจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อได้รับออกซิเจน แต่หากเป็นผู้มี methemoglobin เลือดจะยังคงเป็นสีดำ
การตรวจยืนยันจำเพาะ สามารถระดับ methemoglobin ด้วย co-oximeter (ในเครื่อง arterial blood gas บางรุ่นจะพัฒนาการตรวจส่วนนี้เข้าไปด้วย)
การรักษาคือหยุดการได้รับสาร ให้ออกซิเจน และในรายที่รุนแรงอาจาพิจารณาใช้ยา methylene blue (มีในระบบยาต้านพิษ) ในผู้ป่วยบางรายอาจมีเม็ดเลือดแดงแตกรุนแรงจากการได้รับสารออกซิแดนท์ร่วมด้วยต้องมีการติดตามระดับเกลือแร่ ให้สารน้ำและเลือดทนแทน
ศูนย์พิษวิทยา เตือน อย่ากินไส้กรอกที่ไม่รู้ที่มา อาจคลื่นไส้ เวียนศีรษะ
ยอดผักหวานสีเขียวอ่อนเจือเหลืองเวลาถูกแสงแดดส่องผ่านจะมีสีทองสวย ผักหวานป่า หรือที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Melientha suavis Pierre เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น อายุยืน ขนาดกลางต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดรที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค… อ่านเพิ่มเติม..
ปี 68-69 เพิ่มวันหยุดราชการกรณีพิเศษอีก 3 วัน เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน ในช่วงวันฟันหลอ ให้เป็นวันหยุดยาว ในเดือนมิถุนายน 2568 และเดือนสิงหาคม… อ่านเพิ่มเติม..
ความคืบหน้าของการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครบัตรใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในต้นเดือนมีนาคม 2568 เพื่อพิจารณาข้อสรุปเกณฑ์บัตรสวัสดิการใหม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป ก่อนที่การเปิดลงทะเบียนในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2568 ตามที่ ครม.ได้เห็นชอบตามไทม์ไลน์ ทั้งนี้ ช่องทาง… อ่านเพิ่มเติม..
วันพระ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันธรรมสวนะ อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยปกติ ในเดือนหนึ่ง ๆ จะมีวันพระ 4 วัน ตรงกับวันขึ้น 8… อ่านเพิ่มเติม..
10-3-2-1-0 สูตรก่อนนอน ที่จะช่วยให้ตื่นมาสดชื่น โดยการเอาชนะใจของตนเองเป็นหลัก การนอนหลับผักผ่อนไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ แถมยังอาจส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนโหยอาหารและอ้วนง่ายขึ้น วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถเข้านอนได้ตรงเวลา นอนหลับสนิท และตื่นเช้าวันรุ่งขึ้นด้วยความแจ่มใสอย่างคนพักผ่อนเต็มที่และพร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวัน มาติดตามกันเลยว่าวิธี 10-3-2-1-0 จะมีอะไรบ้าง... 10… อ่านเพิ่มเติม..
พุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ผ่านการเผยแผ่ธรรมของพระสมณทูตจากอินเดีย ภายใต้การสนับสนุนของพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชีวิตประจำวันของคนไทยอีกด้วย นิกายที่นิยมนับถือในประเทศไทยคือ นิกายเถรวาท (Theravada) ซึ่งเป็นนิกายที่ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นหลักในการปฏิบัติและศึกษา นิกายนี้เน้นการบรรลุธรรมผ่านการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย วัดและการปฏิบัติศาสนกิจ:ในประเทศไทยมีจำนวนมาก… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.