นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ ในฐานะประธานเขตตรวจราชการ 6 จังหวัดอันดามัน เปิดเผยถึงผลสรุปการกลั่นกรองเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม ครม.สัญจร ว่า 6 จังหวัดฝั่งอันดามัน เสนอโครงการทั้งสิ้น 17 โครงการ รวมงบประมาณ 2,128 ล้านบาท ดังนี้
จังหวัดภูเก็ต 2 โครงการ
– โครงการ “ภูเก็ตเฮลท์ แซนด์บ็อกซ์” เพื่อบริหารจัดการสุขภาพของจังหวัดภูเก็ตทั้งระบบ งบประมาณ 280 ล้านบาท
– โครงการนำสายไฟฟ้าลงดินในเขตเทศบาลช่วงตลาดเก่า ระยะทาง 970 เมตร งบประมาณ 50 ล้านบาท
รวมงบประมาณ 330 ล้านบาท
จังหวัดกระบี่ 4 โครงการ
– ปรับปรุงท่าเทียบเรือท่าเลน งบประมาณ 84 ล้านบาท
– ปรับปรุงท่าเทียบเรือโดยสารเรือท่องเที่ยวคลองจิหลาด งบประมาณ 35 ล้านบาท
– เทศกาลท่องเที่ยวและกิจกรรมกีฬาเชิงการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ 31 ล้านบาท
– โครงการพัฒนาแหล่งสปา วารีบำบัดน้ำพุร้อน 165 ล้านบาท
รวมงบประมาณ 315 ล้านบาท
จังหวัดระนอง 2 โครงการ
– โครงการพัฒนาพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันจังหวัดระนอง พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 4 จุด รวมงบประมาณ 204 ล้านบาท
– โครงการปรับปรุงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระนอง งบประมาณ 100 ล้านบาท
รวมงบประมาณ 304 ล้านบาท
จังหวัดพังงา 3 โครงการ
– โครงการเร่งรัดการก่อสร้างสนามบินนานาชาติพังงา ไม่ใช้รับงบประมาณ เนื่องจากมีการตั้งงบประมาณศึกษาความเป็นไปอยู่ที่การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยอยู่แล้ว
– โครงการเพิ่มศักยภาพทางการแพทย์ฉุกเฉินของจังหวัดพังงาเพื่อก่อสร้างอาคารฉุกเฉิน 6 ชั้น 2 หลัง ที่โรงพยาบาลพังงาและตะกั่วป่า หลังละ 247 ล้านบาท รวม 2 หลัง 594 ล้านบาท
– โครงการที่ 3 โครงการพัฒนาพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวและนันทนาการเขาหลัก 164 ล้านบาท
รวมงบประมาณ 659 ล้านบาท
จังหวัดตรัง 3 โครงการ รวมงบประมาณ 316 ล้านบาท
– โครงการพัฒนาเรียนรู้และอนุรักษ์ฟื้นฟูพะยูนสัตว์ทะเลหายาก 247 ล้านบาท
– โครงการพัฒนาสนามกีฬาเทศบาลนครตรังสู่มาตรฐานสากล 43 ล้านบาท
– โครงการก่อสร้างปรับปรุง สนามกีฬาทุ่งแจ้ง 25 ล้านบาท
จังหวัดสตูล 3 โครงการ รวมงบประมาณ 203 ล้านบาท
– โครงการศึกษาออกแบบความเหมาะสม ด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม ในการก่อสร้างสะพานอันดามันกับปะลิศของมาเลเซีย งบประมาณ 60 ล้านบาท
– โครงการศูนย์บริการสุขภาพ “เกาะหลีเป๊ะ” รองรับนักท่องเที่ยวนานาชาติ 63 ล้านบาท
– โครงการก่อสร้างหอประชุมนานาชาติจังหวัดสตูล 80 ล้านบาท
รวมงบประมาณ 203 ล้านบาท
ทั้ง 17 โครงการ จะนำเสนอต่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการประชุม ครม.สัญจร กระบี่ วันที่ 15 – 16 พ.ย. นี้
ยอดผักหวานสีเขียวอ่อนเจือเหลืองเวลาถูกแสงแดดส่องผ่านจะมีสีทองสวย ผักหวานป่า หรือที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Melientha suavis Pierre เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น อายุยืน ขนาดกลางต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดรที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค… อ่านเพิ่มเติม..
ปี 68-69 เพิ่มวันหยุดราชการกรณีพิเศษอีก 3 วัน เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน ในช่วงวันฟันหลอ ให้เป็นวันหยุดยาว ในเดือนมิถุนายน 2568 และเดือนสิงหาคม… อ่านเพิ่มเติม..
ความคืบหน้าของการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครบัตรใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในต้นเดือนมีนาคม 2568 เพื่อพิจารณาข้อสรุปเกณฑ์บัตรสวัสดิการใหม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป ก่อนที่การเปิดลงทะเบียนในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2568 ตามที่ ครม.ได้เห็นชอบตามไทม์ไลน์ ทั้งนี้ ช่องทาง… อ่านเพิ่มเติม..
วันพระ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันธรรมสวนะ อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยปกติ ในเดือนหนึ่ง ๆ จะมีวันพระ 4 วัน ตรงกับวันขึ้น 8… อ่านเพิ่มเติม..
10-3-2-1-0 สูตรก่อนนอน ที่จะช่วยให้ตื่นมาสดชื่น โดยการเอาชนะใจของตนเองเป็นหลัก การนอนหลับผักผ่อนไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ แถมยังอาจส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนโหยอาหารและอ้วนง่ายขึ้น วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถเข้านอนได้ตรงเวลา นอนหลับสนิท และตื่นเช้าวันรุ่งขึ้นด้วยความแจ่มใสอย่างคนพักผ่อนเต็มที่และพร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวัน มาติดตามกันเลยว่าวิธี 10-3-2-1-0 จะมีอะไรบ้าง... 10… อ่านเพิ่มเติม..
พุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ผ่านการเผยแผ่ธรรมของพระสมณทูตจากอินเดีย ภายใต้การสนับสนุนของพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชีวิตประจำวันของคนไทยอีกด้วย นิกายที่นิยมนับถือในประเทศไทยคือ นิกายเถรวาท (Theravada) ซึ่งเป็นนิกายที่ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นหลักในการปฏิบัติและศึกษา นิกายนี้เน้นการบรรลุธรรมผ่านการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย วัดและการปฏิบัติศาสนกิจ:ในประเทศไทยมีจำนวนมาก… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.