การทำกรรมฐานจริง ๆ ถ้าทำเป็นล่ำ เป็นสัน มันอาจจะเกินพอดีไปก็ได้ เอากันแบบคนขี้เกียจ แต่ตายแล้วไม่ลงนรกดีกว่า ง่ายดีนะ คนขี้เกียจเขาทำ แบบนี้ “นอนภาวนา”
บางรายบอกถ้านั่งกรรมฐานต้องนั่งห้ามนอน ห้ามยืน ห้ามเดิน มันก็ไม่ถูกต้อง นี่ค้านคำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านบอกให้ทำแค่ร่างกายสบาย ถ้านั่งไม่สบายก็นอน นอนไม่สบายก็ยืน ยืนไม่สบายก็เดิน เดินไม่สบายก็หลับไปเลย สบาย สบายไหม สบายแหงๆ
ก่อนนอนหลับ ใจนึกถึงพระพุทธเจ้า หรือนึกถึงพระพุทธรูป องค์ใดองค์หนึ่ง โดยเฉพาะที่เราชอบ จิตก็จับที่ลมหายใจเข้า-ออก ภาวนา ” พุทโธ ” ก็ได้อะไรก็ได้นะ เอาพุหโธเป็นเกณฑ์ ก็แล้วกัน หายใจเข้า นึกว่า “พุทธ” หายใจออก นึกว่า “โธ ” ก่อนจะหลับ ให้ภาวนาว่า “พุทโธ” ๒-๓ ครั้ง แล้วภาวนาว่า “นิพพานัง สุขัง” ไปจนกว่าจะหลับ
เมื่อเวลาตื่นขึ้นมาใหม่ ๆ ให้ภาวนาว่า “นิพพานนังสุขัง” สัก ๒-๓ ครั้ง อย่างนีทุกคืน ” จะไปนิพพานได้ในชาตินี้ ” ใครภาวนา ” นิพพานนัง สุขัง “ไม่ได้ ก็ให้ภาวนา “พุทโธ” อย่างน้อยที่สุด ตายจากชาตินี้แล้วไปสวรรค์
แต่เวลานอนภาวนา อย่าไปบังคับให้ถึง ๑๐ ถ้ามันจะหลับ ไม่ต้องบังคับให้ถึง ๑๐ ถ้ายังไม่ถึง ๑๐ มันจะหลับ ปล่อยให้มันหลับทันที อย่าดึงเอาไว้ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะถ้าภาวนาอยู่ ถ้าจิตไม่เป็นฌาน มันจะหลับไม่ได้ ให้ทราบตามนี้นะ
บางคนบอกเพลียมา จะเพลียหรือไม่เพลียก็ตาม ให้เพลียขนาดไหนก็ตาม ถ้าจิตไม่เป็นฌาน ภาวนาอยู่ มันจะไม่ยอมหลับ ถ้าร่างกายทรงตัวดี มันยังไม่ง่วง ภาวนาไปยังไม่ถึง ๑๐ มันจะหลับ อันนั้นจิตเป็นฌานแล้ว
มันจะต้องหลับทันที ถ้าเราหลับไปแล้วกี่ชั่วโมง ท่านถือว่าทรงฌานนั้นอยู่ ตลอดเวลาที่หลับ สมมุติว่าถ้าจิตเราเป็น สมถภาวนา เป็นฌานในสมถภาวนา ถ้าตายเวลาหลับ เป็นพรหม ตามกำลังของฌาน
***แต่ว่าขณะที่ก่อนจะหลับ เราภาวนาไปด้วย พิจารณาไปด้วย คิดว่าร่างกายมันไม่เป็นเรื่อง โลกนี้ไม่เป็นเรื่องไม่ดี เทวโลกหรือพรหมโลกก็ไม่เป็นเรื่อง คิดแล้วมันเบื่อไปหมด มันทุกข์ มันยาก มันลำบาก เทวโลกกับพรหมโลก สุขชั่วคราว
แล้วก็ลงมา ใจมันเกิดความเบื่อขึ้นมาด้วยความจริงใจ คิดว่านิพพานดีที่สุด เวลานั้นจิตไปรักพระนิพพาน หรือว่าผู้ที่ได้มโนมยิทธิ ส่งจิตไปนิพพาน ใจชอบไปนิพพาน หลังจากนั้นก็หลับ ถ้าตายในเวลาหลับ จะไปนิพพานทันที***
เรียบเรียง – ธรรมโอวาทพระราชพรหมยาน
ยอดผักหวานสีเขียวอ่อนเจือเหลืองเวลาถูกแสงแดดส่องผ่านจะมีสีทองสวย ผักหวานป่า หรือที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Melientha suavis Pierre เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น อายุยืน ขนาดกลางต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดรที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค… อ่านเพิ่มเติม..
ปี 68-69 เพิ่มวันหยุดราชการกรณีพิเศษอีก 3 วัน เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน ในช่วงวันฟันหลอ ให้เป็นวันหยุดยาว ในเดือนมิถุนายน 2568 และเดือนสิงหาคม… อ่านเพิ่มเติม..
ความคืบหน้าของการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครบัตรใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในต้นเดือนมีนาคม 2568 เพื่อพิจารณาข้อสรุปเกณฑ์บัตรสวัสดิการใหม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป ก่อนที่การเปิดลงทะเบียนในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2568 ตามที่ ครม.ได้เห็นชอบตามไทม์ไลน์ ทั้งนี้ ช่องทาง… อ่านเพิ่มเติม..
วันพระ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันธรรมสวนะ อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยปกติ ในเดือนหนึ่ง ๆ จะมีวันพระ 4 วัน ตรงกับวันขึ้น 8… อ่านเพิ่มเติม..
10-3-2-1-0 สูตรก่อนนอน ที่จะช่วยให้ตื่นมาสดชื่น โดยการเอาชนะใจของตนเองเป็นหลัก การนอนหลับผักผ่อนไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ แถมยังอาจส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนโหยอาหารและอ้วนง่ายขึ้น วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถเข้านอนได้ตรงเวลา นอนหลับสนิท และตื่นเช้าวันรุ่งขึ้นด้วยความแจ่มใสอย่างคนพักผ่อนเต็มที่และพร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวัน มาติดตามกันเลยว่าวิธี 10-3-2-1-0 จะมีอะไรบ้าง... 10… อ่านเพิ่มเติม..
พุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ผ่านการเผยแผ่ธรรมของพระสมณทูตจากอินเดีย ภายใต้การสนับสนุนของพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชีวิตประจำวันของคนไทยอีกด้วย นิกายที่นิยมนับถือในประเทศไทยคือ นิกายเถรวาท (Theravada) ซึ่งเป็นนิกายที่ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นหลักในการปฏิบัติและศึกษา นิกายนี้เน้นการบรรลุธรรมผ่านการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย วัดและการปฏิบัติศาสนกิจ:ในประเทศไทยมีจำนวนมาก… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.