☆ สาระ-น่ารู้

กรมวิทย์แจงผลศึกษา “วัคซีนไขว้สลับชนิด” ภูมิขึ้นเร็วเพียง 5 สัปดาห์

สำนักข่าวไทย 19 ส.ค.- กรมวิทย์แจงผลศึกษาทดลองประสิทธิภาพสูตรฉีดวัคซีนกับสายพันธุ์เดลตา ในห้องปฏิบัติการระดับ 3 พบวัคซีนไขว้สลับชนิดให้ผลดีสุด และภูมิขึ้นเร็ว เพียง 5 สัปดาห์ รองลงมาแอสตราฯ 2 เข็ม ส่วนการฉีดแบบบูสเตอร์ แอสตราฯ เป็นเข็ม 3 หลังรับซิโนแวค พบให้ผลดีเช่นกัน แต่ไม่สนับสนุนฉีดแอสตราฯ เข็ม 1 และซิโนแวค เข็ม 2

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงผลการศึกษาการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไขว้สลับชนิด ว่า จากการศึกษาทดลอง ตรวจระดับภูมิคุ้มกันของประชาชนอาสาสมัคร จำนวน 125 คน อายุเฉลี่ย 18-60 ปี แบ่งเป็น ชาย 61 คน, หญิง 64 คน ในพื้นที่กทม. และปริมณฑล ในผู้รับวัคซีนแบบซิโนแวค 2 เข็ม, แอสตราเซเนกา 2 เข็ม, ฉีดแบบไขว้ สลับชนิด ซิโนแวค กับแอสตราเวเนกา

เมื่อตรวจแบบวัดภูมิคุ้มกัน แอนตี้สไปร์ท (ภูมิคุ้มกันแบบภาพรวม) ไม่ได้มีการจำกัดว่า ไวรัสสายพันธุ์ไหน เพื่อดูสูตรการรับวัคซีน พบว่าผู้ที่รับซิโนแวค 2 เข็ม 117 ไตเตอร์ แอสตราเซเนกา 207 ไตเตอร์ และซิโนแวค เข็ม 1 จากนั้นห่าง 3 สัปดาห์ รับวัคซีนแอสตราเซเนกา เข็ม 2 จากนั้นห่าง 2 สัปดาห์ วัดภูมิคุ้มกันขึ้นถึง 716 ไตเตอร์

ทั้งนี้ภูมิคุ้มกันของแต่ละคนไม่เท่ากัน จึงกำหนดเป็นค่าเฉลี่ยกลางที่เกิดขึ้น พบว่า ค่าภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น พบว่า การฉีดวัคซีนแบบสูตรไขว้สลับชนิดกัน (ซิโนแวค + แอสตราฯ) ให้ภูมิสูงกว่า ซิโนแวค 2 เข็ม ถึง 6 เท่า และสูงกว่า การรับวัคซีนแอสตาฯ 2 เข็ม ถึง 3 เท่า ส่วนการฉีดวัคซีนแบบบูสเตอร์โดส เป็นซิโนแวค 2 เข็ม แอสตราเซเนกา เป็นเข็ม 3 พบว่า ภูมิคุ้มกันสูงถึง 1127 ไตเตอร์

ทั้งนี้ภูมิที่ขึ้นมีมากกว่าในการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ ที่ต้องการภูมิคุ้มกันที่สูงมากกว่าซิโนแวคถึง 10 เท่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการศึกษาในกลุ่มคนบูสเตอร์โดสในเข็ม 3 ที่เป็นไฟเซอร์ คาดว่าในอนาคตจะสามารถดำเนินการได้ การฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา ในที่รับเป็นบูสเตอร์โดส ก็เหมือนกับการรับวัคซีนแอสตราเซเนกาทั่วไป มีไข้ ปวดเมื่อตามร่างกาย

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า นอกจากนี้ มีการศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงในเชื้อไวรัสที่กลายพันธุ์ สายพันธุ์เดลตา ทางกรมวิทย์ฯ ได้ทดลองในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัย ระดับ 3 ที่มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากนำซีรัม (เลือด) ของอาสาสมัคร ที่รับวัคซีนกับไวรัสเดลตาจริงมาทดลองในหลอดทดลอง ลักษณะของการเจือจาง 10-1000 เท่า และย้อมสีไวรัส เพื่อดูประสิทธิภาพของการยับยั้งเชื้อไวรัส โดยยิ่งเจือจางซีรัมมากเท่าไหร่ และเหลือจำนวนไวรัสลดลงครึ่งหนึ่ง ถือว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพ

โดยพบว่าสูตรวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม มีค่าเฉลี่ยมีการเจือจางอยู่ที่ 24.28 เท่า, แอสตราเซเนกา+ซิโนแวค อยู่ที่ 25.84 เท่า, แอสตราเซเนกา 2 เข็ม 76.52 เท่า, ซิโนแวค เข็ม 1 และแอสตราเซเนกา เข็ม 2 อยู่ที่ 78.64 เท่า จะเห็นว่ามีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการรับวัคซีนแอสตราเซเนกา 2 เข็ม ส่วนการการบูสเตอร์โดส ซิโนแวค 2 เข็ม และฉีดแอสตราฯ เป็นเข็ม 3 อยู่ที่ 271.2 เท่า

ทั้งนี้จะเห็นว่า วัคซีนสูตรสลับไขว้ชนิดที่เป็นสูตรมาตราไทย การฉีดของไทยในขณะนี้ให้ผลดี มีประสิทธิภาพมากกว่า และใกล้เคียงการรับแอสตราฯ 2 เข็ม แต่ข้อดีคือการฉีดวัคซีนสูตรสลับชนิดนี้ ทำให้ลดระยะเวลาการรับวัคซีนให้สั้นลงได้ภูมิคุ้มกันเร็วขึ้น เพียง 5 สัปดาห์ โดยวัคซีนซิโนแวค เข็ม 1 จากนั้นห่าง 3 สัปดาห์ รับแอสตราฯ เป็นเข็ม 2 จากนั้นห่างอีก 2 สัปดาห์ ภูมิคุ้มกันก็ขึ้นได้ทันที

เพราะขณะนี้การระบาดของไทย 95% ในกทม. เป็นไวรัสเดลตา ส่วนในต่างจังหวัด 90% ก็เป็นเดลตา และไม่แนะนำให้รับวัคซีนแอสตราฯ เป็นเข็ม 1 และซิโนแวค เป็นเข็ม 2 เพราะภูมิเท่าซิโนแวค 2 เข็ม

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ในการศึกษาวิจัยทั้งหมดนี้ ยังไม่สามารถบอกได้ว่าภูมิคุ้มกันจะอยู่นานแค่ไหน เพราะต้องใช้เวลาในการศึกษาพิสูจน์ ส่วนการศึกษาในกลุ่มรับวัคซีนไฟเซอร์ ยังต้องรอให้ครบ 2 สัปดาห์ก่อนจึงจะศึกษาได้ ทั้งนี้ยังย้ำว่าการศึกษาเรื่องภูมิคุ้มกันไม่มีอะไรยืนยันได้ว่าภูมิจะอยู่ต่อไป เพราะมีปัจจัยธรรมชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง กลไกการป้องกันโรค วัคซีนเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

เพราะวัคซีนจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ร่างกายจดจำเชื้อ และป้องกันโรค ในอนาคตจะมีการศึกษาวิจัย เรื่องการฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อและชั้นผิวหนัง เพื่อดูปริมาณวัคซีนที่เข้าไปในร่างกาย เพื่อดูการตอบสนองว่าแตกต่างกันหรือไม่ .-สำนักข่าวไทย

admin

Recent Posts

แจก “บทสวดมนต์ไหว้พระประจำวันเกิด” ทั้ง 7 วัน เสริมสิริมงคล

บทสวดมนต์ประจำวันเกิด แบบเต็มและแบบย่อทั้ง 7 วัน ตามกำลังวัน สวดก่อนนอนชีวิตราบรื่น ร่มเย็น เสริมสิริมงคล ประโยชน์ของการสวดมนต์ก็คือทำให้จิตใจเราผ่องใส และจิตใจสงบมากขึ้น ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พระประจำวันเกิด คือ พระพุทธรูปปางถวายเนตร บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอาทิตย์… อ่านเพิ่มเติม..

1 day ago

คนท้องผูกบ่อย! ต้องลองผลไม้ 9 ชนิดนี้กากใยสูง รับรองถ่ายคล่องแน่

อาการท้องผูก ท้องอืด ถึงแม้จะไม่ส่งผลอันตรายมากถึงชีวิตแต่ก็สร้างความอึดอัดไม่สบายท้อง หรืออาจลุกลามกลายเป็นโรคอันตรายในอนาคตได้ และที่สำคัญอาการเหล่านี้มักส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง! ผลไม้หลายชนิดอุดมไปด้วยใยอาหาร ทำให้การขับถ่ายง่ายขึ้น ผลไม้ 9 ชนิดช่วยขับถ่าย กากใยสูง แก้อาการท้องผูกชนิดไหนบ้างนั้น มาดูกันเลย 1.มะละกอสุก เป็นผลไม้ที่มีกากใยสูงและหาทานง่าย… อ่านเพิ่มเติม..

5 days ago

จากความเชื่อ “เปรต” ผีที่หิวโหย 12 ตระกูล 21 จำพวก

เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..

2 weeks ago

เชื่อหรือไม่? ในอดีตประเทศไทยเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’

เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ

🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

This website uses cookies.