จีน ประกาศพร้อมกระชับความสัมพันธ์อัฟกานิสถานภายใต้ตอลิบาน ส่วนรัสเซียระบุ ตาลีบันเริ่มฟื้นฟูความเป็นระเบียบเรียบร้อย
หัว ชุนอิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน ที่กรุงปักกิ่ง ระบุว่า จีนยินดีน้อมรับโอกาสที่จะกระชับความสัมพันธ์กับอัฟกานิสถาน โดยเขากล่าว่า “กลุ่มตอลิบานได้แสดงให้เห็นหลายครั้งถึงความหวังของพวกเขาที่จะพัฒนาความสัมพันธ์อันดีกับจีน และพวกเขาตั้งตารอการมีส่วนร่วมของจีนในการบูรณะฟื้นฟู และพัฒนาอัฟกานิสถาน”
รัฐบาลจีนพยายามรักษาความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ กับตอลิบานไว้ตลอดช่วงเวลาที่สหรัฐฯ ถอนทัพออกจากอัฟกานิสถาน ที่ผ่านมาจีนซึ่งมีพรมแดนติดกับอัฟกานิสถานเป็นระยะทาง 76 กิโลเมตร มีความหวั่นเกรงว่า ประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้จะกลายเป็นจุดรวมพลของกบฏแบ่งแยกดินแดนอุยกูร์ในเขตปกครองตนเองซินเจียงของจีน
เมื่อเดือนที่แล้ว ผู้แทนระดับสูงของตอลิบานเข้าพบหวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน ที่เมืองเทียนจิน และให้คำมั่นสัญญาว่า อัฟกานิสถานจะไม่ถูกใช้เป็นฐานสำหรับพวกกองกำลังติดอาวุธ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน จีนเสนอให้การสนับสนุนทางเศรษฐกิจ และการลงทุนเพื่อการฟื้นฟูบูรณะประเทศนี้
โฆษกของจีนเรียกร้องตาลีบันให้ความมั่นใจว่า การถ่ายโอนอำนาจจะเป็นไปอย่างราบรื่น และรักษาสัญญาที่จะเจรจาจัดตั้ง “รัฐบาลอิสลามที่เปิดกว้าง และครอบคลุม” และรับประกันความปลอดภัยพลเมืองอัฟกัน และต่างชาติ
ทั้งนี้ สถานทูตจีนในกรุงคาบูลยังคงเปิดทำการ ถึงแม้ว่าจีนจะเริ่มอพยพพลเมืองของจีนออกจากอัฟกานิสถานเมื่อหลายเดือนก่อน ช่วงที่สถานการณ์ด้านความมั่นคงแย่ลง ในคำแถลงของสถานทูตเมื่อวันจันทร์ มีคำเตือนให้พลเมืองจีนในประเทศนี้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และให้อยู่ภายในเคหสถาน
ขณะที่ทางด้านรัสเซีย กระทรวงการต่างประเทศแถลงที่กรุงมอสโกวันเดียวกันว่า สถานการณ์ในกรุงคาบูลกำลังมีเสถียรภาพ ภายหลังตอลิบานเข้าควบคุมเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และอ้างด้วยว่า พวกนักรบตอลิบานเริ่มฟื้นฟูความเป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว
รัสเซียกล่าวอีกว่า พวกนักรบตอลิบานให้คำมั่นสัญญาว่า จะรับประกันความปลอดภัยของชาวอัฟกัน และสถานทูตของรัสเซียในกรุงคาบูลจะเปิดทำการต่อไป ซึ่งตรงกันข้ามกับรัฐบาลตะวันตกที่พากันเร่งรุดอพยพนักการทูตออกจากคาบูล เอกอัครราชทูตดมิตรี เซียร์นอฟ คุยกับสื่อรัสเซียด้วยว่า ตอลิบานมาคุ้มกันสถานทูตให้เขาด้วย
จีนประกาศพร้อมกระชับสัมพันธ์ ‘ตอลิบาน’ ตั้งตาบูรณะฟื้นฟู พัฒนาอัฟกานิสถาน
ยอดผักหวานสีเขียวอ่อนเจือเหลืองเวลาถูกแสงแดดส่องผ่านจะมีสีทองสวย ผักหวานป่า หรือที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Melientha suavis Pierre เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น อายุยืน ขนาดกลางต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดรที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค… อ่านเพิ่มเติม..
ปี 68-69 เพิ่มวันหยุดราชการกรณีพิเศษอีก 3 วัน เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน ในช่วงวันฟันหลอ ให้เป็นวันหยุดยาว ในเดือนมิถุนายน 2568 และเดือนสิงหาคม… อ่านเพิ่มเติม..
ความคืบหน้าของการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครบัตรใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในต้นเดือนมีนาคม 2568 เพื่อพิจารณาข้อสรุปเกณฑ์บัตรสวัสดิการใหม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป ก่อนที่การเปิดลงทะเบียนในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2568 ตามที่ ครม.ได้เห็นชอบตามไทม์ไลน์ ทั้งนี้ ช่องทาง… อ่านเพิ่มเติม..
วันพระ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันธรรมสวนะ อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยปกติ ในเดือนหนึ่ง ๆ จะมีวันพระ 4 วัน ตรงกับวันขึ้น 8… อ่านเพิ่มเติม..
10-3-2-1-0 สูตรก่อนนอน ที่จะช่วยให้ตื่นมาสดชื่น โดยการเอาชนะใจของตนเองเป็นหลัก การนอนหลับผักผ่อนไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ แถมยังอาจส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนโหยอาหารและอ้วนง่ายขึ้น วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถเข้านอนได้ตรงเวลา นอนหลับสนิท และตื่นเช้าวันรุ่งขึ้นด้วยความแจ่มใสอย่างคนพักผ่อนเต็มที่และพร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวัน มาติดตามกันเลยว่าวิธี 10-3-2-1-0 จะมีอะไรบ้าง... 10… อ่านเพิ่มเติม..
พุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ผ่านการเผยแผ่ธรรมของพระสมณทูตจากอินเดีย ภายใต้การสนับสนุนของพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชีวิตประจำวันของคนไทยอีกด้วย นิกายที่นิยมนับถือในประเทศไทยคือ นิกายเถรวาท (Theravada) ซึ่งเป็นนิกายที่ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นหลักในการปฏิบัติและศึกษา นิกายนี้เน้นการบรรลุธรรมผ่านการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย วัดและการปฏิบัติศาสนกิจ:ในประเทศไทยมีจำนวนมาก… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.