ศบค.ปรับเปลี่ยน พื้นที่ สีแดง เหลือง เขียว ใหม่ จังหวัดของคุณเป็นพื้นที่สีอะไร ? ตรวจสอบได้ที่นี่

2479
views

มติที่ประชุม ศบค. เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 เห็นชอบการปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ ตามที่ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เสนอ ดังนี้

พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด (สีแดงเข้ม)

ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปัตตานี นราธิวาส ยะลา สงขลา

พื้นที่ควบคุมสูงสุด 24 จังหวัด (สีแดง)

ได้แก่ กระบี่ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตาก นครนายก นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง และอุทัยธานี

พื้นที่ควบคุม 25 จังหวัด (สีส้ม)

ได้แก่ กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ชัยภูมิ ชุมพร ตรัง ตราด บุรีรัมย์ พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สตูล สระแก้ว สุโขทัย สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุดรธานี และอุบลราชธานี

พื้นที่เฝ้าระวังสูง 18 จังหวัด (สีเหลือง)

ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ นครพนม น่าน บึงกาฬ พะเยา พังงา แพร่ ภูเก็ต มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ลำปาง ลำพูน สกลนคร หนองคาย อำนาจเจริญ และอุตรดิตถ์

การปฏิบัติในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด (สีแดงเข้ม) ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสงขลา

1.จำกัดการเคลื่อนย้ายและการดำเนินกิจกรรมของบุคคลให้มากที่สุด (เฉพาะกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล)

    • กำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ใช้การปฏิบัติงานในลักษณะ Work From Home ให้มากที่สุด โดยไม่กระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญ และการบริการชุมชน
    • ระบบขนส่งสาธารณะ เปิดให้บริการได้ในห้วงเวลา 21.00 น. ถึง 03.00 น. ของวันรุ่งขึ้น
    • ร้านสะดวกซื้อ ตลาดโต้รุ่ง ปิดเวลา 20.00 ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น
    • ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้เฉพาะ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ธนาคารและสถาบันการเงิน ร้านขายยาและเวชภัณฑ์
    • ร้านอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร รวมถึงสถานที่ฉีดวัคซีน ทั้งนี้เปิดได้ถึงเวลา 20.00 น.
    • ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ห้ามบริโภคอาหารหรือสุราหรือเครื่องดื่มในร้าน โดยเปิดได้ถึงเวลา 20.00 น.
    • ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรค ได้แก่ นวดเพื่อสุขภาพ สปา สถานเสริมความงาม
    • สวนสาธารณะ สามารถเปิดให้บริการสำหรับการออกกำลังกายได้ถึงเวลา 20.00 น.
    • ห้ามการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทางสังคม ที่ไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ การประกอบอาชีพ กิจกรรมทางศาสนาหรือกิจกรรมตามประเพณี ที่มีการรวมตัวกันของบุคคลตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
    • สถานศึกษาใช้การเรียนการสอนหรือกิจกรรมเพื่อการสื่อสารแบบทางไกลหรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

    2. ให้บุคคลงดการเดินทางที่ไม่จำเป็น และห้ามออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 21.00 ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่มีความจำเป็นยิ่ง หรือได้รับอนุญาตเป็นรายกรณี
    3. การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้างยังคงเป็นไปตามข้อกำหนดของ ศบค. ที่ได้มีประกาศไปแล้วก่อนหน้านี้
    4. กำกับดูแลให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันส่วนบุคคล (DMHTTA) อย่างสูงสุด
    5. ให้เริ่มดำเนินการตามข้อ 1-4 ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค.64 เป็นต้นไป และให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ระดับสถานการณ์ต่าง ๆ ข้อห้าม และข้อปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 21,25, 26) มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้
    6. ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงจัดตั้งจุดตรวจจุดสกัด และชุดลาดตระเวน เพื่อกำกับดูแลการปฏิบัติอย่างเข้มงวด โดยให้พร้อมดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค.64 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป ทั้งนี้กรณีตรวจพบผู้ฝ่าฝืนให้บังใช้บทลงโทษตามแห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558

    มาตรการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่กรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑล

    1. สธ., รง., กรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑล เร่งรัดให้มีการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงระบบการตรวจหาเชื้ออย่างเพียงพอ

    2. สธ. ร่วมกับ กรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดนำระบบการแยกกักแบบการแยกกันที่บ้าน (HI: Home Isolation) และการแยกกักในชุมชน (CI : Community Isolation) รวมทั้งการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลัก ได้แก่ ยาฟ้าทะลายโจร เป็นต้น มาเสริมเพิ่มมาตรการรักษาพยาบาลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อทดแทนการขาดแคลนเตียงพยาบาลตามโรงพยาบาลต่าง ๆ

    3. สธ.ร่วมกับกรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งการจัดตั้ง ICU สนาม และ รพ.สนาม รวมถึง รพ.สนามชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาพยาบาล ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และมีจำนวนมากพอ
    มาตรการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่กรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑล

    4. สธ.ปรับแผนการกระจายวัคซีน และเร่งการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวและโรคเรื้อรัง ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล รวมทั้งเร่งรัดการฉีดวัคซีนในพื้นที่การแพร่ระบาดเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด

    5. ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ในการป้องกันส่วนบุคคล การตรวจหาเชื้อ และการรักษาพยาบาล ให้มีประสิทธิภาพ

    6. ให้ ศบศ. เร่งรัดกำหนดมาตรการเยียวยาสถานประกอบการหรือพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการกำหนดมาตรการในครั้งนี้ ตามความจำเป็นของแต่ละพื้นที่

    การปฏิบัติในจังหวัดอื่น ๆ

    1. ร่วมกับ สธ.เน้นย้ำให้ ผวจ.และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ร่วมกันรับผิดชอบในการกำหนดมาตรการคัดกรองและมาตรการติดตามสำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าไปในพื้นที่ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (10 จังหวัด : กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) ทั้งนี้ “ให้พร้อมดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค.64 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป” โดยอาศัยอำนาจตามข้อกำหนด ฉบับที่ 25

    2. ให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ระดับสถานการณ์ต่าง ๆ ข้อห้าม และข้อปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 24, 25, 26) มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้

    บทความต้นฉบับ

      ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร