หยุดพฤติกรรม ที่ส่งผลร้ายต่อไต

3437
views

ข้อมูลการศึกษาจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ถึง 8 ล้านคน โดยคิดเป็นร้อยละ 17.6 ของประชากรประเทศไทย โดยมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายนับแสนราย และมีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึงร้อยละ 15-20 ต่อปี หากไม่ได้ทำการรักษาที่ถูกต้อง จะเกิดโรคแรกซ้อนถึงเสียชีวิตได้

โรคไต เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติที่บริเวณไตที่พบมาก คือ โรคไตวายเฉียบพลัน ไตวายเรื้อรังจากโรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง โรคไตอักเสบจากโรคแอลเอสอี โรคถุงน้ำดีที่ไต และโรคนิ่ว

พฤติกรรมที่ส่งผลร้ายต่อไต

1.ทานเค็มจัด
2.กลั้นปัสสาวะบ่อย
3.ทานหวานจัด
4.ทานยาแก้ปวดมาก
5.ดื่มน้ำน้อย
6.ทานโปรตีนมากไป

5 วิธีป้องกันและชะลอการเสื่อมของไต ดูแลตัวเองง่าย ๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต

1. ดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละ 6-8 แก้ว
การดื่มน้ำเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกายอย่างที่ทุกท่านทราบกันดี โดยทั่วไปควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วต่อวัน ขึ้นกับปริมาณน้ำที่สูญเสียไป เช่นวันที่อากาศร้อนเสียเหงื่อมากก็ควรจะดื่มน้ำมากกว่าปกติ วิธีสังเกตง่าย ๆ ว่าอาจดื่มน้ำไม่เพียงพอคือปัสสาวะจะมีสีเข้มกว่าปกติเนื่องจากไตพยายามเก็บน้ำอย่างเต็มที่ หากสังเกตเห็นแบบนี้แล้วควรรีบดื่มน้ำเพื่อให้ไตสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น

ดื่มน้ำ

2. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดอาหารเค็ม หลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุง อาหารที่มีไขมัน
ในการที่เราจะดูแลให้สุขภาพไตให้ดี การกินผักผลไม้สดเพื่อเสริมสร้าง วิตามินและ ธาตุต่าง ๆ เป็นตัวเลือกที่ดี ลดการรับประทานเนื้อแดง และอาหารที่มีไขมันสูง และที่สำคัญ กินเกลือโซเดียมไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน (นับรวมเกลือที่ละลายอยู่ในอาหารและน้ำจิ้มด้วย) และน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวันเพื่อลดการสาเหตุที่จะทำให้ไตทำงานหนัก

3. ตรวจเช็คความดันโลหิตให้อยู่ในค่าปกติ
ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อการเกิดโรคไต โดยส่วนมากจะไม่มีอาการจึงต้องอาศัยการตรวจวัดความดันโลหิต ซึ่งในปัจจุบันสามารถตรวจวัดได้ง่ายโดยไม่ต้องเจ็บตัว ค่าความดันโลหิตปกติโดยเฉลี่ยจะมีค่าประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท หากพบว่าความดันโลหิตสูงควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อการดูแลอย่างเหมาะสม

4. หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวดและแก้อักเสบ ยาชุดรับประทานเอง
ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบหลายชนิดจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า NSAIDs เช่น ไดโคลฟีแนค, นาโปรเซน , ไอบูโพรเฟน เป็นยาที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้อย่างดี แต่หากกินต่อเนื่องในปริมาณมากหรือกินโดยไม่จำเป็นอาจจะส่งผลเสียต่อการทำงานของไต ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตได้ลดลง นอกจากนี้ยังพบว่ามีการผสมยาเหล่านี้หลายขนานรวมกันในยาชุดซึ่งอาจทำให้ได้รับยาเกินขนาดโดยไม่รู้ตัว จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาชุดโดยที่ไม่ทราบส่วนประกอบชัดเจน

ออกกำลังกายแบบ

5. การออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที
อย่างที่ทุกท่านทราบกันอยู่ดีอยู่แล้วว่าการออกกำลังกายเป็นกิจกรรมสิ่งที่สำคัญต่อร่างกาย ช่วยให้ระบบการทำงานของหัวใจและปอดมีประสิทธิภาพดีขึ้น การออกกำลังกายเป็นประจำยังช่วยเผาผลาญพลังงานส่วนเกิน ลดความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ซึ่งนอกจากจะมีผลต่อโรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูงแล้ว ยังมีผลโดยตรงต่อความดันโลหิตและความดันภายในไตอีกด้วย ดังนั้นหากต้องการมีสุขภาพที่ดีจึงควรที่จะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร