หลวงพ่อพรหม ธัมมธิโร วัดพลานุภาพ จ.ปัตตานี มีชื่อเดิมว่า พรหม ราชบุตร เกิดเมื่อ เดือน สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๑ ตรงกับ วันเสาร์ เดือน ๙ ปีมะเมีย เป็นบุตรชายของนาย นายสีแก้ว ราชบุตร และนางคำแก้ว ราชบุตร
พ่อท่านพรหมมีความสนใจศึกษาความรู้ทางธรรมตั้งแต่วัยเยาว์ อีกทั้งยังขวนขวายเพื่อศึกษาวิชาอาคม และวิชาด้านสมุนไพร ที่ท่านได้รับการถ่ายทอดจากบิดา เพื่อนำไปรักษาให้คนในหมู่บ้าน
หลวงพ่อพรหม ได้อุปสมบทครั้งแรก ซึ่งเป็นการบวชตามประเพณี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑ ที่วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี จากนั้นจึงได้ลาสิกขาออกมา และด้วยเหตุที่ท่านได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน เช่นการใช้ยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคให้กับชาวบ้านที่เจ็บป่วย ทำให้ท่านได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน “ลาแล เมาะยี” ต.กาบัง อ.ยะหา จ.ยะลา ทำหน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้านนานกว่า ๑๘ ปี
แต่ในระหว่างนั้นเอง ท่านได้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงของทุกชีวิต เกิดความเบื่อหน่ายทางโลก จึงสละเพศฆราวาสเข้าสู่เพศบรรพชิตอีกครั้ง โดยทำการอุปสมบทครั้งที่สอง เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐ ที่วัดพลานุภาพ มีฉายาในทางธรรมว่า “ธมฺมธิโร ภิกขุ” แปลว่า ภิกษุผู้มีความกล้าหาญในธรรม
โดยการบวชครั้งที่สองนี้ พ่อท่านพรหม ได้เคร่งครัดในการปฏิบัติอย่างมาก คือ การถือธุดงควัตร ในข้อ “อยู่ป่าช้าเป็นนิจ” เป็นระยะเวลาราว ๕ ปีเศษ ที่ป่าช้า วัดห้วยเงาะ เพื่อเป็นการขัดเกลาจิตใจ เพราะการอยู่ป่าช้านั้นจะได้พิจารณาสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน ตลอดจนการอยู่ในป่าช้าทำให้สามารถบำเพ็ญภาวนาได้อย่างสะดวกมากขึ้น
ด้วยเหตุที่ท่านได้เคร่งครัดในการปฏิบัติตน ทำให้ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสศรัทธา และนิมนต์ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดพลานุภาพ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ หลังจากนั้นเป็นต้นมา วัดพลานุภาพก็ถูกพัฒนาอยู่เรื่อยๆ จนเกิดความเจริญรุ่งเรือง มีผู้คนเดินทางมาทำบุญที่วัดอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังได้เข้ามากราบนมัสการพระภิกษุสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนั่นก็คือ พ่อท่านพรหม ประกอบกับความเมตตาของพ่อท่านพรหมที่มีต่อญาติโยม การอุทิศตนเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทำให้ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธา พ่อท่านพรหมจึงเป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวบ้านในละแวกนี้
วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๒ เวลา ๐๑.๐๐ น. พ่อท่านพรหม ธมฺมธิโร พระอริยะสงฆ์ผู้มากเมตตา ผู้ยึดหลักพรหมวิหาร ๔ อดีตเจ้าอาวาสวัดพลานุภาพ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ได้ละสังขารแล้วด้วยอาการสงบ ณ วัดห้วยเงาะ รวมสิริอายุ ๑๐๑ ปี แต่หากนับอายุตามที่ศิษยานุศิษย์นับ ๑๐๔ ปี
ข้อเข่า โดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายบานพับ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเดิน วิ่ง หรือออกกำลังกาย การดูแลข้อเข่าอย่างเหมาะสมจะช่วยป้องกันการเสื่อมก่อนวัย และลดปัญหาอาการปวดหรือข้ออักเสบที่อาจเกิดขึ้นได้ อาหารบำรุงข้อเข่าให้เสื่อมช้าลง ปลา ที่มีโอเมก้า 3 เช่น โดยเฉพาะอาหารทะเล เช่น… อ่านเพิ่มเติม..
• ท่านพระมหาโมคคัลลานะ พระเถระอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระโคตมพุทธเจ้า เป็นพระอสีติมหาสาวกผู้เป็นเอตทัคคะในด้านผู้มีฤทธิ์มาก คู่กับพระสารีบุตร ผู้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา พระมหาโมคคัลลานะ มีชื่อเดิมว่า "โกลิตะ" เป็นบุตรพราหมณ์ท้ายบ้านผู้หนึ่ง ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากกรุงราชคฤห์ โกลิตมาณพ เป็นเพื่อนสนิทกับอุปติสสมาณพ หรือ พระสารีบุตร… อ่านเพิ่มเติม..
พระพุทธเจ้าทรงแสดงอุบายแก้ง่วงแก่พระโมคคัลลานะ พระมหาโมคคัลลานะ เป็นบุตรพราหมณ์ในหมู่บ้านโกลิตคาม ได้ชื่อว่า “โกลิตะ” ตามชื่อของหมู่บ้าน มารดาชื่อโมคคัลลี คนทั่วไปจึงเรียกท่านว่า “โมคคัลลานะ” ตามชื่อของมารดา ท่านเป็นสหายที่รักกันมากับอุปติสสมาณพ (พระสารีบุตร) เที่ยวแสวงหาความสุขความสำราญ ตามประสาวัยรุ่น และพ่อแม่มีฐานะร่ำรวย… อ่านเพิ่มเติม..
บทสวดมนต์ประจำวันเกิด แบบเต็มและแบบย่อทั้ง 7 วัน ตามกำลังวัน สวดก่อนนอนชีวิตราบรื่น ร่มเย็น เสริมสิริมงคล ประโยชน์ของการสวดมนต์ก็คือทำให้จิตใจเราผ่องใส และจิตใจสงบมากขึ้น ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พระประจำวันเกิด คือ พระพุทธรูปปางถวายเนตร บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอาทิตย์… อ่านเพิ่มเติม..
อาการท้องผูก ท้องอืด ถึงแม้จะไม่ส่งผลอันตรายมากถึงชีวิตแต่ก็สร้างความอึดอัดไม่สบายท้อง หรืออาจลุกลามกลายเป็นโรคอันตรายในอนาคตได้ และที่สำคัญอาการเหล่านี้มักส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง! ผลไม้หลายชนิดอุดมไปด้วยใยอาหาร ทำให้การขับถ่ายง่ายขึ้น ผลไม้ 9 ชนิดช่วยขับถ่าย กากใยสูง แก้อาการท้องผูกชนิดไหนบ้างนั้น มาดูกันเลย 1.มะละกอสุก เป็นผลไม้ที่มีกากใยสูงและหาทานง่าย… อ่านเพิ่มเติม..
เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.