– เกิดเป็นแฮชแท็กติดเทรนด์ทวิตเตอร์ไทย #จนทิพย์ หลังข่าวคราวของนักเรียนหญิง อายุ 18 ปี ใน จ.กาฬสินธุ์ คนหนึ่ง ปรากฏบนโลกออนไลน์ ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2564
– กระแสในช่วงแรก “ชื่นชม” ที่เด็กหญิงคนนี้มุมานะ เรียนหนังสือเก่ง สอบติด หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต ประจำปี 2564 รุ่นที่ 16 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แม้ครอบครัวมีฐานะ “ยากจน” พ่อแม่มีอาชีพปลูกผัก ทั้งบ้านมีเงินเหลืออยู่เพียง 1,500 บาท
– วันต่อมา… ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้นายอำเภอเมืองมาเยี่ยมถึงบ้าน ซึ่งมีสภาพเป็นเพิงเก่า ในวันที่ 10 พฤษภาคม จึงเริ่มเปิดบัญชีรับบริจาคเงิน เพื่อเป็นค่าเล่าเรียนแพทย์ให้กับเด็กหญิง เพราะค่าใช้จ่ายในการเรียนแพทย์นั้นค่อนข้างสูง ใช้เวลาศึกษา 6 ปี ปีการศึกษาละ 80,000 บาท
– ปรากฏว่า มีผู้โอนเงินบริจาคเข้ามามากมาย ยอดเงินตอนปิดบัญชีนี้ไปถึงกว่า 2,700,000 บาท อีกทั้งทางด้านมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก็ยินดีรับช่วยดูแลเด็กหญิงคนนี้ตลอดการเล่าเรียน เพื่อสานฝันสู่อาชีพแพทย์
– แต่ทว่า… ในกระแสโซเชียลอีกด้านตีกลับ! ในกลุ่มเพจเฟซบุ๊ก “น้องใหม่ มมส 63” คอมมูนิตี้พูดคุยของรุ่นพี่รุ่นน้องในมหาวิทยาลัย มีการพูดคุยตั้งข้อสังเกต ข้อสงสัย เรื่อง “ข้าวของเครื่องใช้” ของเด็กหญิง
– ที่มีของใช้ราคาแพงอย่าง iPad Pro , apple pencil 2 รวมทั้ง ขวดน้ำหอมยี่ห้อหรู Dior ที่วางอยู่บนโต๊ะที่กำลังท่องหนังสือ ใช้สกินแคร์ยี่ห้อแพงๆ ไหนจะเรื่องที่เจ้าตัว “ดัดฟัน” ซึ่งปกติแล้วคนที่จะดัดฟันต้องมีค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง
– ท้ายสุดที่คำให้ต้องอึ้ง! คือมีขุดกันว่า แท้จริงน้องเป็นเจ้ามือหวยออนไลน์ด้วย แถมบ้านก็มีบ้านอีกหลัง ติดแอร์ มีไวไฟใช้ ไม่ใช่ บ้านเพิงเก่าๆ ที่ออกสื่อ!!
– นอกจากนี้ยังมีเรื่องรถยนต์ป้ายแดงอีกคัน ที่ว่าบ้านนี้จนยังไงมีรถใหม่ป้ายแดงใช้ ซึ่งต่อมามีหญิงรายหนึ่งออกมาระบุว่า เป็นคนซื้อรถให้เด็กหญิงเองเพราะเห็นว่าไม่มีรถใช้
– อย่างไรก็ตาม ได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กอีกราย ซึ่งระบุว่าเป็นเพื่อนเรียนมหาวิทยาลัยเดียวกับพี่ชายของเด็กหญิง โพสต์ว่า ทางครอบครัวนี้มีฐานะการเงินไม่ค่อยดีจริงๆ อาจจะพอมีพอกิน แต่คงส่งให้เรียนแพทย์ไม่ไหว ส่วนเรื่องหวยออนไลน์นั้นเพราะน้องต้องดิ้นรนหารายได้
– เรื่องไหนจริง? เรื่องเท็จ? ระอุในโซเชียลไทย มีเสียงวิพากษ์… กว้างขวาง… ไปจนถึงค่านิยมของคนในสังคมไทย ซึ่งพบเห็นได้บ่อย มักเห็นคนตกทุกข์ได้ยากแล้ว “โอนไว” ยื่นน้ำใจให้ความช่วยเหลือก่อน แม้ยังไม่ทันตรวจสอบข้อเท็จจริง
– ยิ่งไปกว่านั้น เสียงวิจารณ์ได้แตะไปถึง “ค่านิยม” ที่มักเชิดชูคนที่เรียนคณะหนึ่ง สมควรได้รับช่วยเหลือมากกว่าเรียนคณะอื่นๆ พูดถึงประโยชน์ของอาชีพ
– แต่ในยุคสมัยนี้แล้ว ควรหมดยุค “เปรียบเทียบ ถูกกด ได้อภิสิทธิ์” ได้แล้วหรือยัง…??
เครดิตแหล่งข้อมูล : @SpringNews_TV