๑๕ นาที ยังนานนัก “ท่านพุทธทาส” เผยเทคนิคสุดล้ำค่า เรียนธรรมะจบได้ในพริบตา !!!

พุทธทาสภิกขุ” ใครที่เคยอ่านหนังสือของท่านเกี่ยวกับประสบการณ์การใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติในสวนโมกข์ย่อมจะเข้าใจถึงที่มาของปรัชญาและแนวคิดต่าง ๆ ของท่านได้ดี ในบรรดาความคิดริเริ่มอันหลากหลายของท่านพุทธทาสนั้น มีอยู่แนวคิดหนึ่งที่เคยเป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็นไปได้จริงมากน้อยแค่ไหน นั่นคือแนวคิดเรื่อง “เรียนพุทธศาสนาใน ๑๕ นาที”

ท่านพุทธทาสกล่าวถึงแนวคิดนี้ว่า

“ก่อนนี้เราเคยบอกว่า ‘คนสามารถเรียนพุทธศาสนาได้ใน ๑๕ นาที’ แต่เราจะกล่าวให้ยิ่งกว่านั้นว่า ‘พุทธศาสนาเรียนได้ในพริบตาเดียวถ้าผู้นั้นมีอุปนิสัยถึงขนาดและเหตุปัจจัยทั้งหลายสมบูรณ์ทุกประการ … ๑๕ นาที ยังนานนัก

พุทธศาสนานั้นถ้าจะให้เรียนกันภายใน ๑๕ นาที ก็เรียนได้ ถ้าจะให้เรียนกันในพริบตาเดียวก็ได้ โดยเรียนกันอย่างนี้ คือให้เรียนรู้ ‘เช่นนั้นเอง’ เรียนรู้ ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ พูดได้ด้วยคำเพียงสามพยางค์ว่า ‘เช่นนั้นเอง’ รู้ ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ ถึง ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ นี่คือรู้พุทธศาสนาหมดสิ้น

หลักปฏิบัติทั้งหมดในพุทธศาสนากี่ระบบก็ไปรวมอยู่ที่จุดปลายว่า ‘รู้ความเป็นเช่นนั้นเอง‘ คือรู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริงว่า ‘มันเป็นเช่นนั้นเอง’

หลัก ‘ปฏิจจสมุปบาท’ หรือ ‘อิทัปปัจจยตา’ ซึ่งครอบโลกนั้น มันสรุปเหลืออยู่เพียงว่า ‘ตถตา’ (เป็นอย่างนั้น) ‘อวิตถตา’ (ไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น) ‘อนัญญถตา’ (ไม่เป็นไปอื่นจากความเป็นอย่างนั้น) ‘ธัมมฐิติ’ (ตั้งอยู่โดยความเป็นธรรมดาของธรรมชาติ) ‘ธัมมนิยาม’ (เป็นกฎตายตัวของธรรมชาติ) แต่อย่างนี้มันยุ่งยากลำบากมากเรื่อง ไม่ต้องจำก็ได้ จำคำว่า ‘ตถตา’ ไว้คำเดียวก็พอ ซึ่งแปลว่า ‘เช่นนั้นเอง’

การเห็นอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา นั่นแหละคือเห็น ‘เช่นนั้นเอง‘ ที่ต้องทุกข์ก็เพราะว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง ที่ไม่ต้องทุกข์ก็เพราะว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง ฉะนั้น เรามี ‘เช่นนั้นเอง’ ไว้เป็นเครื่องดับทุกข์เถอะ อะไรเกิดขึ้นมาก็เห็นเป็นเช่นนั้นเองไว้ก่อน แล้วก็จะไม่รัก จะไม่เกลียด จะไม่โกรธ จะไม่กลัว จะไม่วิตกกังวลอะไรทั้งหมด เพราะมันเป็นเช่นนั้นเอง

ถ้ามันเกิดทุกข์ขึ้นมา เราก็เห็นเช่นนั้นเองของความทุกข์ แล้วก็หาเช่นนั้นเองของความดับทุกข์ที่มันเป็นคู่ปรปักษ์กันเข้ามาซี ‘เช่นนั้นเอง’ กับ ‘เช่นนั้นเอง’ มันก็ฟัดกัน ฆ่ากันเอง ในที่สุดความทุกข์มันก็ดับไปเพราะเรามี ‘เช่นนั้นเอง’ ฝ่ายดับทุกข์หรือฝ่ายนิพพาน … นี่พุทธศาสนาเรียนได้ในพริบตาเดียวก็ด้วยคำว่า ‘เช่นนั้นเอง’

ถ้าจะไปแจกเป็นเรื่องอริยสัจสี่ เป็นเรื่องอนัตตา เป็นเรื่องกรรม เป็นเรื่องอะไร มันก็กินเวลาตั้ง ๑๕ นาที หรือมากกว่านั้น ถ้าเราอยากจะเรียนพุทธศาสนาใน ๑๕ นาที ก็เรียนเรื่องอย่างนี้ ถ้าเราจะเรียนในพริบตาเดียว ในชั่วอึดใจเดียวนี้ ก็เรียนเรื่อง ‘เช่นนั้นเอง’ ถึง ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ รู้ ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ มันก็จบพุทธศาสนาทั้งหมด

กล้าบอกและกล้ายืนยันว่า หัวใจของพุทธศาสนาคือคำว่า ‘เช่นนั้นเอง’ สามพยางค์ ไม่มีอะไรที่จะไม่เป็นเช่นนั้นเอง ทางวัตถุก็เช่นนั้นเอง ทางจิตหรือทางนามธรรมก็เช่นนั้นเอง กิริยาอาการของมันก็เช่นนั้นเอง การปรุงแต่งของมันก็เช่นนั้นเอง เกิดสุขเกิดทุกข์ขึ้นมามันก็เช่นนั้นเอง

จงพยายามศึกษาคำว่า ‘เช่นนั้นเอง’ ให้เป็นที่เข้าใจและแจ่มแจ้งอยู่เสมอ อะไรเกิดขึ้นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ก็เห็นให้ชัดเหลือชัดเลยว่ามันเป็น ‘เช่นนั้นเอง‘ แล้วก็จะไม่หลงรัก ไม่หลงเกลียด ไม่หลงยินดี ไม่หลงยินร้าย กิเลสเกิดไม่ได้เพราะอำนาจของ ‘เช่นนั้นเอง’

ถ้าอยากจะเรียนพุทธศาสนาด้วยวิธีลัดสั้นที่สุดก็เรียนเรื่อง ‘เช่นนั้นเอง’ มันไม่เป็นการทำลายพุทธศาสนาหรือดูหมิ่นคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าสามารถเรียนรู้ได้ในเวลาอันสั้น ยิ่งสั้นยิ่งดี ไม่อย่างนั้นมันก็จะตายเสียก่อน เราไม่ยอมรับว่านิพพานต่อเมื่ออีกหลายหมื่น หลายแสน หลายล้านชาติ เราไม่ยอมรับ แล้วก็ไม่อยากให้ท่านทั้งหลายยอมรับ นิพพานนั้นต้องที่นี่และเดี๋ยวนี้”

ทั้งหมดนี้คือเหตุผลและคำอธิบายของท่านพุทธทาสเกี่ยวกับการเรียนพุทธศาสนาใน ๑๕ นาที ใครจะเห็นด้วยหรือเห็นต่างอย่างไร ท้ายที่สุดแล้วก็คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการพิสูจน์ความจริงโดยการลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง แล้วเราก็จะรู้เองเห็นเองว่าแนวคิด “จบพุทธศาสนาด้วยคำสามพยางค์” ของท่านพุทธทาสนั้นเป็นไปได้จริงเพียงใด

อ้างอิงข้อมูลจาก – หนังสือ “ธรรมะน้ำล้างธรรมะโคลน” โดย พุทธทาสภิกขุ

admin

Recent Posts

ผักหวานป่า อาหารสุขภาพ คุณค่าทางโภชนาการสูง

ยอดผักหวานสีเขียวอ่อนเจือเหลืองเวลาถูกแสงแดดส่องผ่านจะมีสีทองสวย ผักหวานป่า หรือที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Melientha suavis Pierre เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น อายุยืน ขนาดกลางต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดรที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

เพิ่มวันหยุดอีก 3 วัน ปี 68-69 เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน

ปี 68-69 เพิ่มวันหยุดราชการกรณีพิเศษอีก 3 วัน เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน ในช่วงวันฟันหลอ ให้เป็นวันหยุดยาว ในเดือนมิถุนายน 2568 และเดือนสิงหาคม… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

คืบหน้า การเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2568

ความคืบหน้าของการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครบัตรใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในต้นเดือนมีนาคม 2568 เพื่อพิจารณาข้อสรุปเกณฑ์บัตรสวัสดิการใหม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป ก่อนที่การเปิดลงทะเบียนในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2568 ตามที่ ครม.ได้เห็นชอบตามไทม์ไลน์ ทั้งนี้ ช่องทาง… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ปฏิทินวันพระ พ.ศ. 2568/2025 (ปีมะโรง – ปีมะเส็ง)

วันพระ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันธรรมสวนะ อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยปกติ ในเดือนหนึ่ง ๆ จะมีวันพระ 4 วัน ตรงกับวันขึ้น 8… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

สูตรก่อนนอน ช่วยให้หลับสนิท ตื่นมาสดชื่น

10-3-2-1-0 สูตรก่อนนอน ที่จะช่วยให้ตื่นมาสดชื่น โดยการเอาชนะใจของตนเองเป็นหลัก การนอนหลับผักผ่อนไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ แถมยังอาจส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนโหยอาหารและอ้วนง่ายขึ้น วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถเข้านอนได้ตรงเวลา นอนหลับสนิท และตื่นเช้าวันรุ่งขึ้นด้วยความแจ่มใสอย่างคนพักผ่อนเต็มที่และพร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวัน มาติดตามกันเลยว่าวิธี 10-3-2-1-0 จะมีอะไรบ้าง... 10… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

10 จังหวัดที่มี วัด เยอะที่สุดในประเทศไทย

พุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ผ่านการเผยแผ่ธรรมของพระสมณทูตจากอินเดีย ภายใต้การสนับสนุนของพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชีวิตประจำวันของคนไทยอีกด้วย นิกายที่นิยมนับถือในประเทศไทยคือ นิกายเถรวาท (Theravada) ซึ่งเป็นนิกายที่ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นหลักในการปฏิบัติและศึกษา นิกายนี้เน้นการบรรลุธรรมผ่านการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย วัดและการปฏิบัติศาสนกิจ:ในประเทศไทยมีจำนวนมาก… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

This website uses cookies.