☆ สาระ-น่ารู้

แพทย์แนะไม่ให้ใช้ ‘กัญชา’ ชะลอความเสื่อมของไต

บทความจากมุมมองแพทย์… กัญชาในปัจจุบันได้รับความสนใจจากประชาชนและนักวิจัยมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ประกาศพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฉบับใหม่ พ.ศ. 2562 ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ซึ่งอนุญาตให้กัญชาสามารถนำมาใช้ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ เช่นเดียวกับสมุนไพรอื่นๆ

กัญชามีทั้งส่วนที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และโทษหากใช้อย่างไม่เหมาะสม

โดยบทความนี้เขียนขึ้นจากการรวบรวมหลักฐานทางการวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับสารเคมีต่าง ๆ ซึ่งพบจากการสกัดกัญชา ผลต่อการเปลี่ยนแปลงของไต และ โรคไตที่พบเกี่ยวข้องกับการใช้กัญชา ซึ่งสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยได้ตระหนักและตั้งใจเผยแพร่ เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและผู้ป่วยโรคไตได้พึงระวังและทราบข้อมูลความรู้ได้อย่างถูกต้องและใช้อย่างถูกวิธี

ในร่างกายของมนุษย์ มีตัวรับสารเคมีซึ่งลักษณะโครงสร้างคล้ายสารออกฤธิ์จากกัญชา เรียกว่า ตัวรับสารคานาบินอยด์ ตัวรับสารเหล่านี้พบมากในสมอง เส้นประสาท ทำให้กัญชาเมื่อได้รับเข้าไป มีฤทธิ์เด่นในการกดประสาท แต่ในขณะเดียวกันก็พบในอวัยวะอื่น ๆ รวมถึง ไต ดังนั้นการได้รับสารเคมีจากกัญชา ย่อมอาจส่งผลถึงไตได้

สารเคมีจากกัญชาที่ถูกนำมาใช้ในการศึกษาและสร้างเป็นยา มี 2 สารหลักคือ 1) Delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) และ 2) Cannabidiol (CBD) โดย THC เป็นสารเคมีหลักในกัญชาที่ทำให้เกิดการเสพติด มีฤทธิ์ทั้งกดการทำงานและหลอนประสาท แก้ปวด อีกทั้งยังกระตุ้นการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ ความดันโลหิตสูง ชีพจรเต้นเร็ว

สาร THC สามารถก่อให้เกิดผังพืดในไตของหนูทดลอง นำมาซึ่งการทำงานของไตลดลงได้ อีกทั้งยังพบว่า ในโรคไตจากเบาหวาน หรือ โรคไตอักเสบต่าง ๆ ยังพบการสร้างตัวรับสารคานาบินอยด์สำหรับ THC เพิ่มขึ้น

ดังนั้นจากข้อมูลดังกล่าว การได้รับTHC มีแนวโน้มที่จะเป็นผลเสียต่อการทำงานของไตในระดับหนูทดลอง ในทางตรงกันข้าม CBD ซึ่งพบในกัญชาเช่นเดียวกันนั้น มีฤทธิ์กดประสาท ทำให้ง่วง และเชื่อว่าสามารถลดการอักเสบได้ เนื่องจากความจำเพาะในการจับตัวรับคานาบินอยด์ของ CBD แตกต่างจาก THC

อย่างไรก็ตาม การศึกษาในสัตว์ทดลองจนถึงปัจจุบัน ยังไม่พบประสิทธิภาพในการชะลอความเสื่อมของเนื้อไตจากสารเคมีนี้เช่นกัน

ข้อมูลระดับประชากรในประเทศสหรัฐอเมริกา ติดตามผู้ใช้กัญชา และยาที่ผลิตจากสารสกัดกัญชาเป็นระยะเวลา 5 ปี พบว่าการใช้กัญชา และ กัญชาทางการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพื่อผ่อนคลาย เพื่อเป็นยารักษาอาการปวด ไม่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันและไม่เพิ่มโอกาสการเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง

ถึงแม้ว่า การใช้กัญชา หรือ ยาที่สกัดจากกัญชานั้น จะไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของไต แต่ประโยชน์ที่ได้ไม่ชัดเจน แพทย์โรคไตไม่แนะนำให้ใช้กัญชา เพื่อหวังผลชะลอความเสื่อมของโรคไต

อีกทั้งหากผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องใช้ ควรมีการติดตามสุขภาพอย่างใกล้ชิด เพราะเช่นเดียวกับสารเคมีที่มีฤทธิ์แก้ปวด กดประสาทอื่น ๆ เช่น มอร์ฟีน ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องจะเพิ่มโอกาสเกิดพิษจากยา ได้รับยาเกินขนาด ง่วงซึมมากกว่าปกติ และเกิดอัตรกิริยากับยารักษาโรคประจำตัวอื่น ๆ ได้

สำหรับน้ำมันกัญชาซึ่งไม่มีการระบุส่วนผสมที่ชัดเจนแพทย์จะไม่แนะนำให้ใช้ ซึ่งพบว่ามีการรายงานว่า ภายหลังรับประทานแล้วพบภาวะตับวาย ไตวายเพิ่มขึ้น จากสาเหตที่ไม่แน่ชัด

บทสรุปเรื่องนี้

กัญชาและสารประกอบกัญชามีกลไกการออกฤทธิ์ทั้งต่อระบบประสาทและไต ปัจจุบันมีการศึกษาผลของสารเคมีจากกัญชาต่อการทำงานของไตพบว่ามีความเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดการอักเสบและพังผืดในไต โดยยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัด กัญชาทางการแพทย์ยังไม่มีที่ใช้ในการรักษาโรคไต ควรต้องศึกษาเพิ่มเติม

ถึงแม้ว่าปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานว่า การใช้กัญชาสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง แต่กลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ควรเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากการใช้กัญชา

โดยเฉพาะฤทธิ์ต่อระบบประสาทที่มากเกิน การใช้กัญชาทางการแพทย์ ควรมีระบบการติดตามความปลอดภัยของยา (Pharmacovigilance) ที่ดี เพื่อค้นหาประโยชน์และผลข้างเคียงจากการใช้ยาในอนาคต

ข้อมูลจาก พญ.ขนิษฐา เธียรกานนท์และรศ.นพ. ณัฐวุฒิ โตวนำชัย หน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

admin

Recent Posts

เชื่อหรือไม่? ในอดีตประเทศไทยเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’

เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ

🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ยืนยันแล้ว! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก

ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

เปิด 5 เคล็ดลับ “ดื่มน้ำอย่างไรให้เป็นยา” ตามหลักอายุรเวท

เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ประวัติ ความเป็นมา เทศกาลไหว้พระจันทร์ กับ ตำนาน “ฉางเอ๋อ” เทพธิดาแห่งดวงจันทร์

วันไหว้พระจันทร์ 🌙 ภาษาจีน คือ "中秋节" (จงชิวเจี๋ย) ส่วนวันไหว้พระจันทร์ภาษาอังกฤษ คือ Moon Festival หรือ Mid-Autumn Festival (เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง) เทศกาลไหว้พระจันทร์… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

This website uses cookies.