⌘ พระเกจิอาจารย์

“นะโมตัสสะ” คาถาศักสิทธิ์ของ “พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์” เทวดาเมืองคอน

ชาวใต้มักเรียกขานคำว่า “พ่อท่าน” ให้กับพระภิกษุที่มีอริยคุณน่าเคารพศรัทธาสูงสุด ฉายา “พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ เทวดาเมืองคอน” ไม่ใช่ได้มาหรือเกิดขึ้นแบบส้มหล่น แต่เกิดมาจากการสั่งสมบำเพ็ญบุญบารมีมาล้วนๆตลอดชีวิตพรหมจรรย์ ๗๕ พรรษา

เรื่องนี้เกี่ยวกับลุงที่เป็นลูกพี่ลูกน้องกับแม่ผม แม่เล่าให้ผมฟังว่า สมัยที่ยายยังอยู่ได้พาลุง(ลูกพี่ชายยาย) ขณะนั้นยังเป็นวัยรุ่นไปวัดสวนขัน เพื่อกราบพ่อท่านคล้าย หลังจากกราบแล้ว พ่อท่านคล้ายเรียกลุงว่า “ไอ้ตัวนุย มานี อยู่ในเคราะห์หนัก”

และพ่อท่านคล้ายท่านเอาน้ำมนต์พรมให้แล้วสอนคาถาให้ลุงบทหนึ่ง หลังจากนั้นไม่นานตามประสาวัยรุ่นที่รวมกลุ่มก็คึกคะนอง จึงชวนกันไปลักวัวของชาวบ้าน เป็นเหตุให้ชาวบ้านเป็นกลุ่มใหญ่ออกตามมาไล่ยิง ลุงวิ่งหนีสุดชีวิต แต่ไม่มีที่หลบก็ได้นอนหยบที่ริมคันนา

ในใจก็ภาวนานึงถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วย กลุ่มชาวบ้านที่ตามล่าคนลักวัว เดินผ่านมาถึง..ก็เดินข้ามไปเหมือนไม่เห็นอะไรเลย.. ลุงยังแปลกใจ พอคนกลุ่มใหญ่ผ่านไปหมดก็กลับมาบ้าน

แม่เล่าว่า ทุกครั้งที่ลุงจะออกจากบ้าน จะเห็นแกเก็บใบไม้และขณะเดินออกจากบ้านจะโยนใบไม้ข้ามหัวไหล่ไปทางด้านหลัง แม่เคยถามลุงว่า พ่อท่านสอนอะไร ลุงบอกว่า พ่อท่านสอนให้ภาวนา ๑ บท ก่อนออกจากบ้าน คือ “นะโมตัสสะ” ซึ่งเป็นคาถาที่ง่ายมากเลยครับ

ผมสอบถามผู้แก่ จึงรู้ว่าคำว่า “นะโมตัสสะ” ใช่ได้หลายอย่าง ใช้ในกรณีแคล้วคลาดก็ได้ ตามตำนาน (เขาว่า) มีบึ่งใหญอยู่และใต้บึงมีเหล็กแหลม เด็กที่เล่นน้ำ ขณะกระโดดน้ำก็จะพูดว่า “นะโมตัสสะ ” และกระโดดน้ำ ไม่โดนเหล็กแทง แต่มีคนหนึ่งมาได้ยินเด็กพูด ก็บอกว่า ตนรู้มากกว่า จึงท่องคาถา “นะโมตัสะภะคะวะโตอะระหะโตสัมมาสัมพุทธัสสะ” และกระโดดน้ำถูกเหล็กที่อยู่ในน้ำแทง ดังนั้น คนโบราณจึงเชื่อว่า คำว่า “นะโมตัสสะ” เป็นคาถาแคล้วคลาดได้

เป็นความเชื่อครับ….พิจารณา…

บทความโดย – ธี(UID: 1327)

admin

Recent Posts

จากความเชื่อ “เปรต” ผีที่หิวโหย 12 ตระกูล 21 จำพวก

เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..

1 week ago

เชื่อหรือไม่? ในอดีตประเทศไทยเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’

เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ

🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ยืนยันแล้ว! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก

ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

เปิด 5 เคล็ดลับ “ดื่มน้ำอย่างไรให้เป็นยา” ตามหลักอายุรเวท

เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

This website uses cookies.