เปิดผลสำรวจ “ดัชนีความสุข” 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย “แม่ฮ่องสอน” ครองแชมป์

1636
views
ดัชนีความสุข 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย

เปิดผลสำรวจ “ดัชนีความสุข” 77 จังหวัดทั่วประเทศ ไทย ไม่น่าเชื่อเมืองหลวงอย่าง“กรุงเทพฯ” รั้งท้าย “แม่ฮ่องสอน” ครองแชมป์

แม้จะมีคำกล่าวว่า “คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก” แต่คงยากได้ปฏิเสธว่า ถ้าหากเราได้อยู่ในสถานที่หนึ่ง ก็อาจจะทำให้เรามีความสุขได้มากกว่าสถานที่อื่นๆ ขณะเดียวกันตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่นิยมใช้อย่างผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ก็อาจจะไม่ได้สะท้อนค่าความสุขและคุณภาพชีวิตของสังคมได้อย่างครอบคลุม

สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก รัชกาลที่ 4 แห่งราชอาณาจักรภูฏาน

เมื่อ พ.ศ. 2515 สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก รัชกาลที่ 4 แห่งราชอาณาจักรภูฏาน จึงริเริ่มการนำแนวคิด ความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness: GNH) มาวัดความคุณภาพและการเจริญเติบโตของสังคมภายในประเทศ

ในขณะเดียวกันเมื่อปี 2562 ก็มีการเผยแพร่ รายงานความสุขในโลก จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติ ที่วัดระดับความสุขของ 156 ประเทศ แม้ดัชนีนี้จะไม่มีรายละเอียดปลีกย่อยเท่า GNH แต่ดัชนีข้างต้นก็ฉายภาพที่กว้างและลึกกว่าการเปรียบเทียบการเติบโตของ GDP เท่านั้น

สำหรับประเทศอันดับหนึ่งในรายงานความสุขในโลก คือ ประเทศฟินแลนด์ รองลงมาคือเดนมาร์ก นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์

ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 52 เหนือกว่า เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยมีความสุข คือการสนับสนุนทางสังคมและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 74% ระบุว่าได้บริจาคเงินในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา

สำหรับประเทศไทยเอง เคยมีการสำรวจ “ดัชนีความสุข” 77 จังหวัดครั้งหนึ่งที่ได้เปิดเผยให้เห็นว่า การอาศัยอยู่ในบางจังหวัดก็มีตัวเลขความสุขมากอย่างไม่น่าเชื่อ แต่จังหวัดที่มีความเจริญสูง กว่ามีตัวเลขความสุขน้อยนิด

“ผลการจัดอันดับจังหวัดแห่งความสุขของประเทศไทย” หรือ ดัชนีความสุข ดังกล่าว สำรวจโดยศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เมื่อปี 2556 โดยพบว่า จังหวัดที่ประชาชนอยู่แล้วมีความสุขมากที่สุดอันดับหนึ่งได้แก่ แม่ฮ่องสอน ส่วนกรุงเทพฯ ที่เป็นเมืองหลวงหลวงเป็นจังหวัดที่อยู่ในอันดับสุดท้าย

สำหรับผลสำรวจดังกล่าว ได้ใช้กลุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 77 จังหวัดทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 12,429 ตัวอย่าง ตั้งแต่วันที่ 1-19 มีนาคม 2556 ผลการจัดอันดับค่าร้อยละของประชาชนที่อยู่อาศัยในแต่ละจังหวัดพบว่า จังหวัดที่ประชาชนอยู่แล้วมีความสุขมากที่สุด

อันดับ 1 แม่ฮ่องสอน ได้ร้อยละ 60.9
อันดับ 2 พังงา ได้ร้อยละ 60.7
อันดับ 3 ได้แก่ ชัยภูมิ ได้ร้อยละ 60.0
อันดับ 4 ปราจีนบุรี ได้ร้อยละ 57.0
อันดับ 5 อุทัยธานี ได้ร้อยละ 56.6

อันดับ 6 มี 2 จังหวัดได้แก่ จันทบุรีและสุโขทัย ได้ร้อยละ 56.3
อันดับ 7 มี 2 จังหวัดได้แก่ พะเยาและแพร่ ได้ร้อยละ 55.6
อันดับ 8 ได้แก่ น่าน ได้ร้อยละ 54.8
อันดับ 9 ได้แก่ หนองคาย ได้ร้อยละ 54.3
อันดับ 10 ได้แก่ ลำปาง ได้ร้อยละ 53.9

โดยปัจจัยที่ทำให้ อยู่แล้วเป็นสุขมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นหลัก วิถีชีวิตชาวบ้านเป็นเมืองที่สงบ เป็นสังคมขนาดเล็ก มีความสัมพันธ์ที่ดีของคนในครอบครัวและชุมชน ผู้คนมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูง คดีอาชญากรรมต่ำ มีความภูมิใจในประวัติศาสตร์ของคนท้องถิ่น มีความเป็นเมืองและลักษณะวัตถุนิยมระดับน้อยถึงปานกลาง และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ คนในพื้นที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ เพื่อเสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันในหมู่ประชาชน

ส่วน 10 จังหวัดที่อยู่ในอันดับสุดท้ายของประเทศ คือ

อันดับที่ 77 ของประเทศคือ กรุงเทพฯ ได้เพียงร้อยละ 20.8
อันดับที่ 76 ได้แก่ สมุทรปราการ ได้ร้อยละ 22.0
อันดับที่ 75 ได้แก่ ภูเก็ต ได้ร้อยละ 24.2
อันดับที่ 74 ได้แก่ ลพบุรี ได้ร้อยละ 26.4
อันดับที่ 73 ได้แก่ นราธิวาส ได้ร้อยละ 26.8

อันดับที่ 72 ได้แก่ นครศรีธรรมราช ได้ร้อยละ 31.1
อันดับที่ 71 ได้แก่ สิงห์บุรี ได้ร้อยละ 32.1
อันดับที่ 70 ได้แก่ ระยอง ได้ร้อยละ 32.3
อันดับที่ 69 ได้แก่ ยะลา ได้ร้อยละ 32.7
อันดับที่ 68 ได้แก่ สงขลา ได้ร้ อยละ 32.8

สำหรับตัวเลข ดัชนีความสุข ของทั้ง 77 จังหวัดเป็นดังนี้
สำหรับตัวเลข ดัชนีความสุข ของทั้ง 77 จังหวัดเป็นดังนี้

สําหรับปัจจัยสําคัญที่ทําให้จังหวัดเหล่านี้รั้งท้ายในเรื่องความสุขของคนในพื้นที่ได้แก่ ความเป็นเมืองและมีลักษณะวัตถุ นิยมระดับมากถึงมากที่สุด มีคดีอาชญากรรมสูง ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและชุมชนอยู่ในขั้นวิกฤต มีปัญหายาเสพติด มีพฤติกรรมดื่มสุรามาก เป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งรุนแรง แตกแยก มีอคติต่อกันสูง มีอารมณ์ ร้อนหงุดหงิดง่าย

ผู้คนไม่สามัคคีไม่เป็น นึ่งเดียวกัน ไม่มีความโปร่งใสในการพัฒนาท้องถิ่นมากเพียงพอ ไม่มีความวางใจของสาธารณชนต่อรัฐบาลและการเมืองท้องถิ่นที่มาก เพียงพอเพราะประชาชนไม่สามารถแกะรอยการใช้จ่ายงบประมาณได้ มีปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม เช่น โรงงานปล่อยมลพิษทางอากาศทาง น้ำสารพิษปนเปื้อนสุขภาพกายและสุขภาพใจของประชาชนอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง

บทความต้นฉบับ
เปิดผลสำรวจ ‘ดัชนีความสุข’ 77 จังหวัดทั่วประเทศ ไม่น่าเชื่อ ‘กรุงเทพฯ’ รั้งท้าย

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร