พระแม่เศรษฐี วัดร่อนนา ร่อนพิบูลย์ นครศรีธรรมราช

16612
views

วัดร่อนนา หมู่ 2 ตำบลร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดร่อนนาเป็นวัดโบราณอีกวัดหนึ่งในยุคกรุงศรีอยุธยาเพราะยังคงเหลือสิ่งปลักหักพังปัจจุบัน ประมาณว่า วัดร่อนนาเคยเป็นวัดเจริญรุ่งเรืองมาแล้วในอดีตด้วยหลักฐานพอที่จะยืนยัน ได้ก็คือ พระพุทธรูปอุ้มบาตร เป็นพระที่จัดได้ว่าสวยงามมาก

ซึ่งพระพุทธรูปปางพระร่วงองค์เป็นที่สักการบูชากราบไหว้ของชาวร่อนพิบูลย์และชาวนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปปางพระร่วงอุ้มบาตรจากประวัติที่เล่าสืบต่อกันมาของพระแม่เศรษฐีวัดร่อนนาพระคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอร่อนพิบูลย์ นับย้อนรอยไป 700-800 ปีมาแล้วเป็นยุคการเผยแพร่ของพระพุทธศาสนาและมหาสงครามของประเทศเพื่อนบ้าน และยุคมหาสงครามไทยสยามใต้กับพวกชวากะ (สลัดชวา)

โจรแขกที่บุกเข้าโจมตีจับเอาทรัพย์สินและชาวเมืองไปเป็นเชลยต่างผลัดกับรบชนะและแพ้สลับกันไปราษฎรต้องพากันอพยพหลบหนีภัยสงครามที่ยกโจมตีบรรดาเมืองต่าง ๆ แตกพร้อมกับต้อนชาวเมืองเป็นเชลยศึก ส่วนที่พากันหลบหนีเข้าไปในป่าพากันส้องสุมรวมตัวต่อสู้ศัตรูในการดักซุ้มโจรตีทำลายข้าศึกบ้างก็พาลูกเมียข้าทาสบริวารหลบหนีภัยสงครามไปตั้งรากฐานแปลงบ้านสร้างเมืองอยู่บนภูเขาร่อนนา (หรือในพื้นที่กรุงมาศ)

ปัจจุบันเป็นที่กั้นน้ำทำนบสองของเมืองแร่หนองเป็ดซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ในปัจจุบัน เมื่อท่านเศรษฐีกรุงมาสได้สร้างบ้านเรือนขึ้นมาก็ได้มีชาวบ้านที่หนีภัยสงครามล้างเผ่าพันธุ์ในครั้งนั้นมาตั้งบ้านเรือนจนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น

ครั้นหลายปีต่อมาท่านเศรษฐีแห่งหมู่บ้านกรุงมาสก็ได้ทายาทบุตรีคนหนึ่งจากภรรยาคนหนึ่งและเมื่อกุมารีเจริญวัยเติบโตขึ้นก็มีผิวพรรณนั้นเหมือนทองคำท่านเศรษฐีกรุงมาสผู้เป็นบิดาและมารดาตลอดจนข้าทาสบริวารต่างรักใคร่

ท่านเศรษฐีกรุงมาสผู้เป็นพ่อและแม่ต่าง ทะนุถนอมเลี้ยงดูบุตรีดังแก้วตาดวงใจจนกุมารีเจริญวัยได้ 16 ปีวันหนึ่งได้ชวนพี่เลี้ยงไปเล่นน้ำที่โตน (คือฐานน้ำตกบนภูเขา) และในขณะที่บุตรีท่านเศรษฐีกรุงมาสกับพี่เลี้ยงเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนานก็ได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเมื่อบุตรีท่านเศรษฐีกรุงมาสกับพี่เลี่ยงได้ลื่นหลักตกลงจากหน้าผาน้ำตก

ปรากฏว่าสาวเจ้าทั้งสองหายสาบสูญไปกับกระแสน้ำอันเชี่ยวกราดและเมื่อถึงเวลาตะวันใกล้ค่ำท่านเศรษฐีกรุงมาสผู้เป็นพ่อพร้อมภรรยาไม่เห็นหน้าบุตรีและพี่เลี้ยงบังเกิดความเป็นห่วงและสังหรณ์ใจเลยนำบ่าวไพร่ออกติดตามค้นหาและพบเสื้อผ้าเครื่องประดับแต่งกายของบุตรและพี่เลี้ยงกองอยู่บริเวณนั้น

ท่านเศรษฐีกรุงมาสผู้เป็นพ่อและภรรยาต่างโศกเศร้าเสียใจและสลดไปในการจากไปของบุตรสาวเป็นอย่างมากและคิดว่าศพของบุตรสาวและพี่เลี้ยงคงถูกกระแสน้ำพัดจนอยู่ในโตน (วังน้ำตก) นี้เป็นแน่ท่านเศรษฐีกรุงมาสจึงตั้งรางวัลด้วยทองคำแท่งหลายร้อยชั่งใครก็ตามสามารถงมศพของบุตรสาวและศพพี่เลี้ยงเจอจะมอบทองคำแท่งให้เป็นรางวัล

ซึ่งมีชาวบ้านและข้าทาสบริวารต่างพากันงมศพค้นหาจนแทบพลิกแผ่นดินก็ไม่มีใครพบศพบุตรสาวของท่านเศรษฐีและพี่เลี้ยงเลยยังมีความโศกเศร้าเสียใจแก่ท่านเศรษฐีกรุงมาสผู้เป็นพ่อและผู้เป็นแม่ตลอดจนข้าทาสบริวารยิ่งนักท่านเศรษฐีกรุงมาศผู้เป็นพ่อจึงคิดปั้นรูปต่างตัวของบุตรสาวและพี่เลี้ยง จึงได้ประกาศให้บรรดาผู้ที่มีความสามารถปั้นรูปเหมือนของบุตรีและพี่เลี้ยง

แต่ปรากฏว่าบรรดาช่างจากสถานที่ต่าง ๆ ทราบข่าวต่างพากันเดินทางสมัครปั้นรูปเหมือนบุตรี จะปั้นให้เหมือนรูปบุตรีและพี่เลี้ยงได้ คือปั้นแล้วปรากฏไม่เหมือนกันเลยเพราะช่างเหล่านั้นขาดความชำนานทางศิลป์

เลยพากันปั้นไม่ได้เรื่องได้ราวเรื่องของเรื่องเลยถึงองค์อัมรินทร์จอมเทพสรวงสรรค์ (พระอินทร์) ทรงตรัสเรียกพระวิษณุกรรมและได้มอบหมายหน้าที่ในการสร้างพระรูปเหมือนในการปั้นรูปเหมือนบุตรีและพี่เลี้ยงตามเจตนารมณ์ของท่านเศรษฐีกรงมาสได้ทำการอธิษฐานมา

ซึ่งพระวิษณุกรรมเมื่อรับบัญชาจากพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่แห่งสรวงสวรรค์แล้วได้แปลงกายเป็นพราหมณ์เฒ่าเข้าไปรับอาสาท่านเศรษฐีกรงมาสสร้างรูปเหมือนบุตรสาวและพี่เลี้ยงให้โดยพราหมณ์เฒ่าได้ทำเบ้าหล่อรูปเหมือนแล้วเคี่ยวหลอมละลายทรัพย์สินเหล่านั้นเทลงในเบ้าและ

เมื่อแกะเบ้าออกมาปรากฏว่าเป็นพระพุทธรูปสวยงามมากเป็นที่สบอารมณ์ชื่นชนของท่านเศรษฐีกรงมาสผู้เป็นพ่อมาตลอดจนข้าทาสบริวารเป็นยิ่งนักที่รูปหล่อของบุตรีซึ่งดูเหมือนมีชีวิตจริง ๆ ฝ่ายพราหมณ์เฒ่าเมื่อหล่อรูปเหมือนบุตรีและพี่เลี้ยงเสร็จและก็หายตัวไปเฉย ๆ ฝ่ายท่านเศรษฐีกรงมาสกับภรรยา

เมื่อหล่อรูปเหมือนบุตรสาวกับพี่เลี้ยงคล้ายทองคำสวยไม่มีที่ติแล้วท่านเศรษฐีกรุงมาสผู้เป็นบิดากับภรรยาผู้เป็นมารดาได้นำพระพุทธองค์นั้นไปที่วังน้ำโตนที่บุตรีกับพี่เลี้ยงเสียชีวิตพร้อมกับพากันอธิษฐานว่าถ้าหากว่าบุตรสาวที่เสียชีวิตพร้อมกับพี่เลี้ยงได้ไปเกิด (จุติ) ที่แห่งหนตำบลใดก็ขอพระพุทธรูปองค์นี้ได้ไปอยู่ที่นั้นแล้วท่านเศรษฐีกรุงมาสกับภรรยาได้ทิ้งพระพุทธรูปทั้งองค์ลงในวังน้ำตกโตนแห่งนั้นและต่อมาปรากฏว่าพระพุทธรูปองค์นั้นได้มาผุดที่วัดคีรีวงศ์ (หนองตะเคียง)

วัดร่อนนาปัจจุบันจนกระทั่งได้มีเด็กเลี้ยงควายได้นำควายไปเลี้ยงและเอาเชือกไปล่ามไว้กับเกศของพระพุทธรูปซึ่งเข้าใจว่าเป็นตอไม้และตกกลางคืนเด็กคนนั้นเกิดเจ็บท้องและได้ฝันว่าที่ตนเอาเชือกไปล่ามควายนั้นไม่ใช่ตอไม้แต่เป็นเกศของพระจึงได้เล่าเหตุการณ์ที่ตนฝันพร้อมกับปวดท้องให้พ่อแม่ฟัง

รุ่งเช้าพ่อแม่พร้อมด้วยชาวบ้านในหมู่บ้านนั้นได้พาไปสู่ทุ่งร้างที่เด็กเลี้ยงควายนำเชือกควายไปผูกกับเกศพระ ซึ่งพ่อแม่เด็กและชาวบ้านพากันขุดพบเกศพระและลึกลงไปพบองค์พระแต่ไม่สามารถขุดเอาพระพุทธรูปขึ้นมาได้และจู่ ๆ

ที่ชาวบ้านที่กำลังขุดพระพุทธรูปอยู่นั้นเด็กเลี้ยงควายก็สั่นขึ้นพร้อมกับมีเสียงพูดเป็นเสียงผู้ใหญ่ว่าถ้าต้องการนิมนต์พระพุทธรูปขึ้นไปประดิษฐานไว้เป็นที่สักการบูชานั้น ให้จัดพิธีพราหมณ์ ทำพิธีกรรมอัญเชิญพระสงฆ์สวดเจริญพุทธมนต์โดยชาวบ้านได้ช่วยกันจับด้าย 7 สี ดึงเบา ๆ พระพุทธรูปองค์นั้นก็เคลื่อนขึ้นมาจากพื้นดินอย่างอัศจรรย์ท่านกลางพระสงฆ์สวดพุทธมนต์

กล่าวว่านับเป็นเหตุมหัศจรรย์ท้องฟ้าเดือน 5 เปลวแดดร้อนจ้า กลับปรากฏการณ์ที่พื้นดินแห้งแล้งมาช่อง 2 เดือน ท้องฟ้ามืดครึ้มลงแล้วฝนตกลงมา เมื่อองค์พระพ้นพื้นดินฝนได้ชำระล้างดินที่องค์พระพุทธรูปจนสะอาดแล้ว

จึงหยุดแสงแดดจ้าอันเป็นน่านมหัศจรรย์ยิ่งนัก ชาวบ้านได้พากันปิดทองกราบไหว้ และพราหมณ์ได้ทำพิธีอัญเชิญนิมนต์พระแม่เศรษฐีตามร่างทรงได้บอกเล่าความเป็นมาของพระพุทธรูปองค์นี้ในพิธีซึ่งพระแม่เศรษฐีท่านได้รับนิมนต์ชาวบ้านที่นิมนต์ท่านให้มาเป็นที่พึ่งของชาวบ้าน ณ วัดร่อนนา ตลอดจนกระทั่งทุกวันนี้

พระแม่เศรษฐีวัดร่อนนาจึงเป็นพระที่พึ่งของชาวอำเภอร่อนพิบูลย์และชาวนครศรีธรรมราชตลอดมา แต่ละวันจะมีประชากรทั้งใกล้และไกลเดินทางมากราบไหว้บนบานต่อพระแม่เศรษฐีซึ่งจะสำเร็จไป ทุกวันเมื่อประสบความสำเร็จที่บนบานเอาไว้

ชาวบ้านผู้ที่บนบานจะนำดอกไม้ธูปเทียนปิดทองคำเปลวและจุดลูกประทัดแก้บนจนเสียงดังกระนั่นจนเป็นกิจประจำวันไปเสียแล้วด้วย พระแม่เศรษฐีวัดร่อนนาท่านเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองเป็นพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์เมื่อมีงานประเพณีที่เล่ามาก็พอได้ประวัติย่อ ๆ ของท่านพอสังเขป ส่วนอภินิหารของท่านนั้นชาวร่อนพิบูลย์รู้ดีครับ

แจงเป็นธรรมทานโดย คุณแม่สวาท อภิวันท์งบกช (ยายตา)


ชักพระวัดร่อนนา


ชักพระวัดร่อนนา

ชักพระวัดร่อนนา (พระแม่เศรษฐี) อ.ร่อนพิบูลย์ เรือพระที่ไม่มีล้อ ลากไปด้วยความศรัทธา
ภาพ – อดิศักดิ์ เดชสถิตย์

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร