น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงคิดค้นเทคโนโลยีการทำฝนหลวง เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาภัยแล้งแก่พสกนิกรชาวไทย ตลอดมา…
พระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อประชาชนและประเทศชาติในโครงการพระราชดำริฝนหลวงมีมากมายนานัปการ ทรงเป็นผู้ให้กำเนิด “ฝนหลวง” จากพระราชดำริเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ พระองค์เสด็จฯ เยี่ยมประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงพบเห็นความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนในถิ่นทุรกันดารอันเนื่องมากจาก ความเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนของฝนตามธรรมชาติ ดังข้อความในพระราชบันทึกพระราชทานว่า
“….เมื่อมีฝนก็มีมากเกินพอ จนเกิดปัญหาน้ำท่วม เมื่อหมดฝนก็เกิดปัญหาภัยแล้งตามมา นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของความยากจนของประชาชน เมื่อแหงนมองท้องฟ้ามีเมฆมาก แต่ลดพัดพาผ่านไปไม่ตกเป็นฝนน่าจะมีวิธีบังคับให้ฝนตกสู่พื้นที่แห้งแล้ง ได้….”
พระองค์จึงทรงทุ่มแทและเสียสละเวลา และพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อ ใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวงด้วยพระวิริยะอุตสาหะและพระเมตตาที่มีต่อ ประชาชนที่ได้รับความทุกข์ยากจากภัยแล้ง ทรงทำการศึกษาทบทวน และวิเคราะห์วิจัยจนทรงสามารถค้นพบและสรุปเป็นข้อ สมมติฐาน ทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าได้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ ทรงทำการวิจัยและพัฒนากรรมวิธีควบคู่กับการพระราชทานข้อแนะนำทางเทคนิคต่าง ๆ ในการทำฝนกู้ภัยแล้ง ทรงสนพระทัยและติดตามผลการปฏิบัติการฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง
หากเกิดวิกฤตการณ์ภัยแล้งอย่างกว้างขวางและรุนแรงของประเทศ พระองค์จะทรงพระราชทานข้อแนะนำทางเนคนิคในการวางแผน และปรับแผนการทำฝนเทียม ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น บางครั้งได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เข้าช่วยเหลืออีกด้วย “โครงการฝนหลวง” สามารถแก้ไขวิกฤตภัยแล้งได้สำเร็จเป็นอย่างดี
ในปัจจุบันโครงการหลวงมีภารกิจทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขภัยแล้ง ป้องกันฝนทิ้งช่วงและเพิ่มปริมาณน้ำให้กับเขื่อนต่าง ๆ และทำฝนหลวงเพื่อทำการชุ่มชื้นให้พื้นที่เกษตรกรรม และป่าไม้ในช่วงฤดูฝน ตามแนวพระราชทานนโยบายเพื่อลดการใช้น้ำจากเขื่อน ลดโอกาสเกิดไฟป่าและทำฝนดับไฟป่า เพื่อช่วยลดความเสียหายจากไฟป่าได้อย่างมาก ด้วย โครงการฝนหลวงได้ปฏิบัติงาน ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติมาโดยตลอด
ดังนั้นคณะรัฐมนตรีในการประชุมวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงมีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งฝนหลวง” และกำหนดให้วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันพระราชบิดาแห่งฝนหลวง
เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..
เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..
ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..
🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..
ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..
เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.