ปัญหาที่มักพบเสมอเวลาจะรับประทานยา คือ ต้องรับประทานก่อนหรือหลังอาหาร และก่อนอาหารนานเท่าไหร่ หลังอาหารกี่นาที ก่อนนอนนานแค่ไหน ถ้าลืมแล้วจะทำอย่างไร จึงขอสรุปหลักการและหลักปฏิบัติที่ถูกต้องทั่วไปของวิธีการรับประทานยาเหล่านี้
1. ยาก่อนอาหาร ควรรับประทานก่อนอาหารในช่วงที่ท้องยังว่าง อย่างน้อย 30 นาที
การลืมรับประทานยาก่อนอาหาร ถ้าลืมหรือนึกได้ว่าต้องรับประทานยาก่อนที่จะทานอาหารไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ควรข้ามยามื้อที่ลืมไป ไม่ต้องทานยาซ้ำ
2. ยาหลังอาหาร ควรรับประทานหลังอาหารทันทีและไม่ควรนานเกิน 15 นาทีหลังอาหาร อาจทานพร้อมอาหารหรือก่อนรับประทาน อาหารคำแรกก็ได้ การลืมรับประทานยาหลังอาหาร ถ้าลืมรับประทานยาหลังอาหาร สามารถรับประทานยาได้ทันทีที่นึกได้และไม่เกิน 15 นาที
แต่ถ้านึกได้หลังจากรับประทานอาหารมากกว่า 15 นาทีแล้ว ควรรอรับประทานหลังอาหารในมื้อถัดไปแทน หรืออาจรับประทานอาหารมื้อย่อยแทนมื้อหลักก่อนรับประทานยาก็ได้ ในกรณีที่ยานั้นมีความสำคัญมาก
3. ยาก่อนนอน ควรรับประทานยาก่อนเข้านอน 15 – 30 นาที เนื่องจากยามีผลข้างเคียงสำคัญทำให้ง่วงนอนหรือวิงเวียนศีรษะมาก
การลืมรับประทานยาก่อนนอน ถ้าลืมรับประทานยาก่อนนอน มักนึกได้เมื่อถึงเช้าของวันรุ่งขึ้นแล้ว ไม่ควรรับประทานยานั้นอีก ควรรอให้ถึงเวลาก่อนเข้านอนในคืนถัดไปค่อยรับประทานยานั้น
4. ยารับประทานเวลามีอาการ ควรรับประทานเมื่อมีอาการจริง ๆ มักระบุในฉลากว่ารับประทานทุก 4 – 6 ชั่วโมง ทุก 8 ชั่วโมง หรือ ทุก 12 ชั่วโมง เมื่อมีอาการสามารถรับประทานยาได้เลย ไม่ต้องคำนึงถึงมื้ออาหาร
ทั้งนี้ยาบางประเภท อาจมีวิธีรับประทานยานอกเหนือไปจากยาโดยทั่ว ๆ ไปข้างต้น รวมทั้งยาบางประเภทอาจรับประทานก่อนหรือ หลังอาหารก็ได้ แล้วแต่สะดวก เนื่องจากยาอาจมีการออกฤทธิ์ที่พิเศษหรือมีผลข้างเคียงอื่น ๆ ซึ่งผู้ทำหน้าที่ส่งมอบยาเหล่านี้จะอธิบายวิธีการรับประทานเป็นกรณีๆ ไป
เครดิตข้อมูล : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ความคืบหน้าของการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครบัตรใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในต้นเดือนมีนาคม 2568 เพื่อพิจารณาข้อสรุปเกณฑ์บัตรสวัสดิการใหม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป ก่อนที่การเปิดลงทะเบียนในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2568 ตามที่ ครม.ได้เห็นชอบตามไทม์ไลน์ ทั้งนี้ ช่องทาง… อ่านเพิ่มเติม..
วันพระ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันธรรมสวนะ อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยปกติ ในเดือนหนึ่ง ๆ จะมีวันพระ 4 วัน ตรงกับวันขึ้น 8… อ่านเพิ่มเติม..
10-3-2-1-0 สูตรก่อนนอน ที่จะช่วยให้ตื่นมาสดชื่น โดยการเอาชนะใจของตนเองเป็นหลัก การนอนหลับผักผ่อนไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ แถมยังอาจส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนโหยอาหารและอ้วนง่ายขึ้น วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถเข้านอนได้ตรงเวลา นอนหลับสนิท และตื่นเช้าวันรุ่งขึ้นด้วยความแจ่มใสอย่างคนพักผ่อนเต็มที่และพร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวัน มาติดตามกันเลยว่าวิธี 10-3-2-1-0 จะมีอะไรบ้าง... 10… อ่านเพิ่มเติม..
พุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ผ่านการเผยแผ่ธรรมของพระสมณทูตจากอินเดีย ภายใต้การสนับสนุนของพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชีวิตประจำวันของคนไทยอีกด้วย นิกายที่นิยมนับถือในประเทศไทยคือ นิกายเถรวาท (Theravada) ซึ่งเป็นนิกายที่ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นหลักในการปฏิบัติและศึกษา นิกายนี้เน้นการบรรลุธรรมผ่านการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย วัดและการปฏิบัติศาสนกิจ:ในประเทศไทยมีจำนวนมาก… อ่านเพิ่มเติม..
เปิดผลสำรวจผักและผลไม้ทั้งหมด 15 ชนิด ที่มีสารตกค้างเกินค่ามาตรฐาน จากห้างสรรพสินค้า 5 แห่ง ตลาดสด 12 จังหวัด ในช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาพบ "กะเพรา" มีสารพิษตกค้างมากสุด 94% รองลงมา… อ่านเพิ่มเติม..
การล้างพิษ (Detox) เป็นกระบวนการที่ช่วยกำจัดสารพิษหรือสิ่งสกปรกที่สะสมในร่างกายออกไป อาหารจัดได้ว่าเป็นยาที่ดีที่สุด อาหารบางประเภทสามารถช่วยในกระบวนการนี้ได้ดี โดยมีคุณสมบัติในการขับสารพิษออกจากร่างกาย และช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต่อไปนี้คือ 10 อาหารที่ช่วยในการล้างพิษ: 1. มะนาว มะนาวมีสารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินซีที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของตับ ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญในการขับสารพิษออกจากร่างกาย… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.