จากแต่เดิมเมื่อเข้าสู่หน้าฝนและหน้าหนาวจะมีเด็กๆ ป่วยด้วยลักษณะแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก แต่ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีวิวัฒนาการสมัยใหม่ทำให้เราแยกอาการอาร์เอสวี (RSV) ออกจากโรคหวัดทั่วไป โรคอาร์เอสวีมีสาเหตุจากไวรัสที่มีชื่อเต็มว่า Respiratory Syncytial Virus ส่งผลให้เด็กป่วยด้วยอาการหลอดลมอักเสบรุนแรง
อาการอาร์เอสวี (RSV) เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเป็นหนัก
ควรสวมหน้ากากอนามัยให้กับเด็กเมื่อเดินทางออกนอกบ้าน ป้องกันการรับละอองฝอยจากลมหายใจและสารคัดหลั่งของผู้อื่น
ควรสวมหน้ากาอนามัยให้กับเด็กเมื่อเดินทางออกนอกบ้าน ป้องกันการรับละอองฝอยจากลมหายใจและสารคัดหลั่งของผู้อื่น
อาการอาร์เอสวี (RSV) พบว่ารุนแรงในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี แม้ว่าผู้ใหญ่อย่างเราก็ติดได้ แต่อาการจะไม่หนักมาก
เด็กเล็กมักจะมาหาหมอด้วยอาการอาร์เอสวีอย่างน้อยคนละ 1 ครั้ง ซึ่งโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนรักษา แต่ต้องระวังตัวป้องกันการไอจามรดกัน
10 อาการอาร์เอสวี (RSV)
ไวรัสอาร์เอสวี (RSV) มีระยะฟักตัวประมาณ 5 วัน หลังจากรับเชื้อ เกิดจากการรับเชื้อที่แพร่กระจายผ่านสารคัดหลั่ง คือ น้ำมูก น้ำลาย ละอองฝอย ทั้งการสัมผัสกับผู้ป่วยมาโดยตรง หรือการเล่น จับสิ่งของเดียวกัน ผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคอาร์เอสวีนี้สามารถกลับมาติดเชื้อซ้ำได้หลายครั้ง ดังนั้นต้องรีบสังเกตอาการเพื่อไม่ให้เป็นหนัก
2-4 วันแรกอาการคล้ายไข้หวัด – ในช่วง 2-4 วันแรกๆ ที่รับเชื้ออาร์เอสวี (RSV) ผ่านเข้าร่างกาย ทางจมูก ปาก เยื่อบุดวงตา จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว คล้ายไข้หวัดธรรมดา
มีน้ำมูกใส – ในช่วงวันแรกๆ ผู้ป่วยมักมีน้ำมูกใส
มีไข้ – ในช่วงนี้เด็กจะตัวรุมๆ ควรสวมเสื้อผ้าให้ความอบอุ่น และเช็ดตัว พาไปพบแพทย์
แน่นหน้าอก หายใจลำบาก มีเสียงวี้ด – เมื่อผ่านไปหลายวันการหายใจเริ่มลำบากขึ้น หากสังเกตฟังจะได้ยินเสียงวี้ด และเด็กดูไม่สบายตัว คุณหมอจะแนะนำให้ล้างจมูก
หลอดลมอักเสบ – เมื่อผ่านไปหลายวันแล้ว อาการหายใจลำบากเป็นหนักขึ้น เกิดติดเชื้อในทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง คุณหมอจะแนะนำให้พ่นยา ควบคู่ไปกับการรับประทานยา
ไอ อาการไอของเด็กเป็นสิ่งที่พ่อแม่ฟังแล้วทรมานหัวใจ เสียงไอของเด็กจะเป็นไปในลักษณะเหมือนต้องการขับเสมหะ หากไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์
การรักษาหลอดลมอักเสบด้วยการพ่นยา
ปอดบวม – เมื่ออาการหลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบไม่ดีขึ้น มีโอกาสเกิดความผิดปกตินำไปสู่อาการปอดบวม อันตรายต่อเด็กที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังอย่างโรคปอด โรคหัวใจ และทารกคลอดก่อนกำหนด
หน้าอกบุ๋ม – เมื่อเด็กได้รับออกซิเจนได้น้อย หายใจลำบากมาก ช่วงอกจะดูบุ๋มไป ซึ่งคุณแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา
ดื่มนม หรือรับประทานอาหารได้น้อย – เด็กจะมีอาการกระสับกระส่าย ไม่อยากอาหาร ดูทรมาน หากช่วงวัยที่กำลังเติบโตรับประทานอาหารได้น้อยก็จะส่งผลต่อน้ำหนักต่อเกณฑ์ตามวัย หากป่วยเป็นระยะเวลานานอาจมีผลต่อพัฒนาการช้ากว่าวัยที่ควรจะเป็น
ทางเดินหายใจล้มเหลว – เกิดจากการนำส่งโรงพยาบาลช้า นำไปสู่การเสียชีวิต
พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด รพ.BNH เคยให้ข้อมูลเรื่องโรค RSV ในเด็ก แก่ไทยรัฐออนไลน์ไว้ว่า เชื้อไวรัส RSV นี้ มักระบาดในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว จากการไอจามรดกันเหมือนไข้หวัด โดยมีกลุ่มเสี่ยงคือ
- เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เพราะพวกเขามีระบบทางเดินหายใจส่วนบทตั้งแต่จมูกถึงปอดสั้นมาก จึงทำให้เชื้อไวรัส RSV เดินทางได้เร็ว นอกจากเด็กเล็ก
- ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- คนชรา
ในส่วนกลุ่มเด็กโตและผู้ใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง แต่ในกลุ่มเด็กที่เสียชีวิตจาก RSV เกิดขึ้นได้ไม่มาก หากเชื้อไวรัสทำลายเยื่อบุทางเดินหายใจจนถึงขั้นปอดอักเสบ จะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น น้องจะมีอาการหอบ ไอ รุนแรงจนต้องรักษาในห้องไอซียูด้วยเครื่องช่วยหายใจ
กรณีผู้ป่วยเป็นทารกอายุน้อยๆ ที่ถึงขั้นเสียชีวิต มาจากสาเหตุจากระบบทางเดินหายใจล้มเหลว หรือมาส่งโรงพยาบาลช้าไป หากอาการไม่รุนแรง มีไข้ ไอ น้ำมูก 3 วันกินยาแล้วไม่หาย ช่วงวันที่ 4 จะอันตรายต้องมีแพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด หากรักษาถูกวิธีอาการป่วยจะดีขึ้นในวันที่ 7-9
เพราะฉะนั้นแล้ว หากลูกหลานมีไข้ ไอ จาม คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกต และรีบพาน้องไปหาหมอ หลังจากได้รับคำแนะนำจากคุณหมอแล้วก็ต้องป้อนยาและแยกน้องจากคนอื่นๆ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดน้องต้องสวมหน้ากากอนามัย ดูแลเรื่องการสัมผัส
ที่มา : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, เว็บไซต์โรงพยาบาลวิภาวดี ต้นฉบับ