ใกล้หมดสัญญา เล็งย้าย ‘สถานีขนส่งสายใต้’ กลับที่เดิม

1856
views

บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ถนนบรมฯ นับถอยหลังหมดสัญญาใน 5 ปี “บขส.” เตรียมแผนย้ายกลับ “ปิ่นเกล้า” พื้นที่เดิม พัฒนาโปรเจ็คมิกซ์ยูส 4.6 พันล้านรองรับ

รายละเอียดเบื้องต้น ทาง บขส. ได้มีการว่าจ้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อจัดทำรายงานวิเคราะห์การพัฒนาพื้นที่ภายในสถานีขนส่งฯ ซึ่งล่าสุดได้มีการจัดส่งแผนวิจัย พัฒนา ดังกล่าวให้ทาง บขส. แล้วโดยมีชื่อโครงการว่า “Green Net ปิ่นเกล้า” ซึ่งจะมีการพัฒนาเป็นสถานีขนส่งสุดทันสมัย พร้อมมิกซ์ยูส และศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพสีเขียวเพื่อชีวิตคนเมือง บนพื้นที่กว่า 15 ไร่ดั้งเดิมของสถานีขนส่งนั่นเอง

ทั้งนี้มีการเสนอให้ทาง บขส. ได้ทำการนำพื้นที่ดังกล่าวให้ประมูลเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบพีพีพี โดย บขส. เองจะลงทุนในรูปแบบของที่ดิน และฝ่ายเอกชนจะร่วมลงทุนในลักษณะของสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ โดยโครงการดังกล่าววางแผนการใช้เงินไว้ราว 4,659 ล้านบาท ใช้เวลาออกแบบและก่อสร้างทั้งสิ้น 4 ปี คาดว่า บขส. จะได้รับค่าตอบแทนจากการพัฒนาโครงการดังกล่าว 1,938 ล้านบาทตลอดสิ้นสุดอายุสัมปทาน 50 ปี โดยแบ่งเป็น ค่าธรรมเนียมปีแรก 177 ล้านบาท ,ค่าเช่า 50 ปี 1,159 ล้านบาท ,ค่าก่อสร้าง รวมถึงค่าใช้จ่ายในการสร้างสถานี 281 ล้านบาท และส่วนแบ่งกำไร 320 ล้านบาท

นอกจากนี้ในส่วนของการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวนั้น ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่าจะแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน หรือ3 อาคาร ได้แก่

1. อาคารสถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้อัจฉริยะ (Smart Station) ที่มีการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยเข้ามาให้บริการร่วมด้วยเพื่อความสะดวกสบายของประชาชน โดยชั้นที่ 1 ของอาคารจะเป็นสถานี ส่วนชั้นที่ 2 และ3 จะถูกออกแบบให้เป็นห้างสรรพสินค้า กับร้านอาหาร

2. อาคารพักอาศัย (คอนโดมิเนียม) โดยวางแผนให้เช่าระยะยาวจำนวน 35 ชั้น

3. อาคารศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายในส่วนนี้คือ ผู้พักฟื้นสุขภาพจากโรงพยาบาลในพื้นที่ใกล้เคียง บุคลากรโรงพยาบาล รวมไปถึงผู้สูงวัย พนักงานบริษัท และนักท่องเที่ยวอีกด้วย

“สัญญาสัมปทานสร้างสถานีสายใต้ใหม่จะหมดในปี 2568 ดังนั้น บขส. จึงต้องย้ายกลับมาที่สถานีสายใต้เก่าเดิมซึ่งเป็นพื้นที่ของ บขส. เองจึงต้องเร่งพัฒนาและปรับปรุงสายใต้เก่าให้ทันกับอายุสัมปทาน เบื้องต้นจะนำเสนอโครงการ Green Net ปื่นเกล้าให้อนุกรรมการพัฒนาทรัพย์สินพิจารณาอนุมัติภายในเดือนกันยายนนี้ และตั้งเป่าที่จะต้องเปิดขายซองประมูลในปี 2564 เพื่อให้สามารถก่อสร้างสถานี และพัฒนามิกซ์ยูสให้เสร็จ และเปิดบริการได้ทันปี 2568”

ต้นฉบับ

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร