“การสวดมนต์ที่ถูกต้อง” ที่จะทำให้ชีวิตท่านพลิกอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จะส่งผลในทันทีที่ท่านสวดเสร็จ อย่างแรก “ต้องสมาทานศีลห้าทุกวัน เวลาไหนก็ได้ วันละหลายรอบยิ่งดี สมาทานศีลห้าก่อนนอนเป็นอย่างน้อยเพราะศีลจะครอบคลุมเป็นเกราะให้เราตลอดทั้ง วันทั้งคืน ที่เราไม่ได้ไปเบียดเบียนใคร ถึงศีลขาดไปหนึ่งข้อแต่อีกสี่ข้อก็ยังค้ำจุนให้เรามีศีลอยู่
พุทธคุณของศีลนี้จะส่งผลให้เราเจอแต่สิ่งดีงามตลอดทั้งวัน ผลักสิ่งไม่ดีออกไปเพียงแต่ “เรารู้ตัวกันรึเปล่า” ว่าพุทธคุณสำแดงแล้ว หลักการสวดมนต์ เราต้องสมาทานศีลห้าก่อนสวดบทอื่นใดในโลกนี้เพราะ การสมาทานศีลห้าจะเป็นการกรองเสียงให้เป็นทิพย์ก่อนแล้วเราจึงสวดบทอื่นได้ หมดทุกบท เหมือนการจะออกไปติดต่อการงานกับใคร ถ้าเราอาบน้ำแต่งตัวให้สะอาดสวยงาม เราจะได้รับการต้อนรับที่ดีหลักการอีกอย่างคือการสวดด้วยเสียงที่ดังมีพลัง การสวดมนต์ไม่ใช่การภาวนา เราจึงต้อง เปล่งเสียงให้ดัง ฟังชัด ให้เทวดา นางไม้ เจ้าที่ ฯลฯ ได้ยินและมาร่วมโมทนาบุญกับเรา
เราต้องมั่นใจในพลังที่ออกจากน้ำเสียงของเรา เสียงที่เปล่งไปนั้นสามารถดังไปทั่วสวรรค์ครับ คำว่าดังมันเหลื่อมกันนิดนึง ความดังของเสียง เกิดจากความศรัทธา มิได้เกิดจากเสียงดังเป็นนกแก้วนกขุนทอง กราบไหว้พระก็ต้องเบญจางคประดิษฐ์ให้สวยงามนิ้วโป้งแตะหว่างคิ้ว พอก้มหน้าผากให้แตะถึงพื้นไม่ใช่ทิ่มหัวลงไปเป็นคนไม่มีศรัทธา อย่างนี้บุญที่ได้จะไม่ละเอียดเท่าคนที่เขาทำอย่างประณีต
บทสมาทานศีลห้า – คำบูชาพระ
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ (สวดคนเดียวลงด้วย “มิ” แต่สวดหลายคนเปลี่ยนเป็น “มะ”)
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ
คำนมัสการพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ…ต้องกราบให้ประณีตศรีษะติดพื้นนะครับไม่ใช่รีบก้มรีบเงย)
สะวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
คำอาราธนาศีล ๕
อะหัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ (ถ้าสวดหลายคนเปลี่ยนจาก อะหัง เป็น มะยัง) ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ทุติยัมปิ อะหังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ อะหังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
คำนมัสการพระพุทธเจ้า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
คำขอขมาพระรัตนตรัย
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตเยนะ กะตัง, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ
หาก ข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้า ทุกๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ด้วยเจตนาก็ดี ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย และผู้มีพระคุณทุกท่านได้โปรดงดเว้นโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ
คำแผ่เมตตาให้แก่ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุข, อะหัง นิททุกโข โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากทุกข์, อะหัง อเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากเวร
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากความลำบาก, อะหัง อะนีโฆ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากอุปสรรค, สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ จงรักษาตนให้มีความสุขตลอดกาลนานเทอญ
คำแผ่เมตตาให้แก่ผู้อื่น สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย, อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุขเถิดอย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย, สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (สวด ๓ จบ บทนี้ขอให้ปัญญาทางธรรมจงเกิดกับเรา ขาดไม่ได้เช่นกันครับ)
พอจบการสมาทานศีล ๕ ก็เข้านอนได้เลย หรือใครอยากสวดมนต์บทใด ๆ นอกเหนือจากนี้ ให้สวดแทรกไปก่อนจะ “แผ่เมตตาให้ตัวเอง” พอสวดเสร็จก็แผ่เมตตาให้ตัวเองและแผ่ให้ผู้อื่น จากนั้น หากใครประสงค์จะนั่งสมาธิ ก็ให้ขอพระกรรมฐานก่อนทุกครั้งแล้วนั่งสมาธิในระยะเวลาสั้น ๆ อย่านั่งนานเพราะระยะเวลาไม่ช่วยให้ท่านได้บุญมากเท่ากับการนั่งแล้วกำหนด รู้สติของเราได้ตลอดต่อเนื่อง (อยู่กับคำภาวนา) เพราะว่าในช่วงทำวิปัสสนาสมาธินั้น หากเราเผลอส่งจิตไหลออกนอกแล้วไม่ดึงกลับ ไปคิดถึงคนที่เราชิงชัง เผลอไปคิดถึงลูกถึงสามี คิดถึงงาน ฯลฯ มันไปสวนคำสอนที่พระพุทธเจ้า ท่านทรงสอนให้เรากำหนดอยู่กับคำภาวนาเท่านั้น พอเราไปคิดปุ๊บ เตรียมเลยครับเดี๋ยวพรุ่งนี้มีปัญหากับไอ้สิ่งที่เราคิดถึงครับ
สรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจก่อนว่า พระพุทธเจ้าไม่สอนให้เรานั่งแล้วคิดส่งจิตไปหาใคร เราต้องทำเพียงให้รู้กายใจในตัวเราเท่านั้น โดยการตามดูสภาวะธรรม ความจริงตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น เช่น ท้องมันพอง เราก็ตามรู้ว่าพอง ท้องมันยุบเราก็ตามรู้ว่ามันยุบ เมื่อปวดข้อ ปวดขาก็ให้ตามรู้ว่าปวดหนอ ๆ ๆ อย่าขยับตัวเด็ดขาด คนที่เริ่มต้นฝึกขอให้นั่งเพียงระยะสั้น (๕-๑๐ นาที) แต่ถ้าจิตมันไหลออก ให้กลั้นหายใจเลย จิตมันหายไม่ออกมันกลับมาเอง คำทุกคำที่ผมอธิบายตรงนี้ ถึงจะสั้น แต่ให้จับใจความให้เข้าใจ อย่าอ่านข้ามครับ ทุกคำมีความหมายและต้องเข้มงวด
ข้อมูลโดย thaijobsgov.com