“โควิด-19” เป็นแล้วเป็นซ้ำได้อีก เชื้อกลายพันธุ์อยู่ตลอด ช่วงที่ยังต้องรอวัคซีน ขอคนไทยคงการปฏิบัติตัวยุค New Normal สวมหน้ากากอนามัย-เว้นระยะห่าง-ล้างมือบ่อยๆ
โพสต์เฟซบุ๊ก “หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC” วันนี้ (4ก.ย.) ว่า ….โรคไวรัสโควิด-19 เป็นแล้วเป็นซ้ำได้อีก รายงาน 3 คนแรกเป็นครั้งที่ 2 อาการน้อยกว่าครั้งแรก เพราะร่างกายมีภูมิต้านทานจากการติดเชื้อครั้งแรก ทำให้มีอาการน้อย หรือไม่มีอาการเลย ยกเว้นรายงานล่าสุด
ผู้ป่วยชายชาวอเมริกันอายุ 25 ปี ปกติแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว วันที่ 25 มีนาคม มีอาการไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ท้องเสีย วันที่ 18 เมษายน ตรวจรหัสพันธุกรรมพบว่าติดเชื้อโรคไวรัสโควิด-19 วันที่ 27 เมษายน หายเป็นปกติ วันที่ 9 และ 26 พฤษภาคม ตรวจรหัสพันธุกรรมซ้ำให้ผลเป็นลบ ผู้ป่วยสบายดี หายเป็นปกติ
จนกระทั่งวันที่ 31 พฤษภาคม มีอาการไข้ ไอ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ท้องเสีย เอกซเรย์ปอดปกติ แพทย์ให้กลับบ้าน วันที่ 5 มิถุนายน กลับมารพ.อีก ด้วยอาการไอ เหนื่อย ปวดกล้ามเนื้อ เอกซเรย์ปอดครั้งนี้พบปอดอักเสบทั้งสองข้าง วัดระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ต้องให้ออกซิเจน ตรวจรหัสพันธุกรรมพบติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิดครั้งที่ 2 แตกต่างกับครั้งแรก แพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยรายนี้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ครั้งที่ 2 ห่างจากการติดเชื้อครั้งแรก 48 วัน
หลังการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 คนส่วนใหญ่จะสร้างภูมิต้านทาน แต่ภูมิอาจอยู่ได้ไม่นาน ทำให้มีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก แต่อาการจะน้อยกว่าครั้งแรก ที่น่าเป็นห่วงผู้ป่วยรายนี้เป็นซ้ำ แต่อาการหนักกว่าเดิม ทำให้สงสัยว่าภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อครั้งแรกอาจส่งเสริมทำให้อาการติดเชื้อครั้งที่ 2 รุนแรง
เหมือนกับไข้เลือดออกเป็นครั้งที่ 2 จะหนักกว่าครั้งแรก ทำให้มีความวิตกกังวลว่าการฉีดวัคซีนไวรัสโควิด-19 อาจทำให้คนที่ได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ครั้งแรก มีอาการหนักกว่าคนที่ไม่เคยได้วัคซีน เหมือนกับวัคซีนไข้เลือดออกที่ถูกถอนออกจากประเทศฟิลิปปินส์หลังเริ่มใช้ได้ไม่นาน แต่ประเทศไทยยังให้ใช้วัคซีนไข้เลือดออกนี้อยู่
เชื้อไวรัสโควืด-19 กลายพันธุ์อยู่ตลอด เราต้องรอการศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนโควิดระยะที่ 3 ในอาสาสมัครจำนวนหลายหมื่นคนซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือน
เพื่อพิสูจน์ว่าวัคซีนที่ผลิตขึ้น ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพป้องกันได้อย่างน้อยร้อยละ 50 ถึงจะอนุญาตนำมาใช้กับคนทั่วไปได้ ระหว่างรอวัคซีนคนไทยทุกคนต้องปฏิบัติตัวในยุคนิวนอร์มัล สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และล้างมือบ่อยๆเหมือนเดิม
บทสวดมนต์ประจำวันเกิด แบบเต็มและแบบย่อทั้ง 7 วัน ตามกำลังวัน สวดก่อนนอนชีวิตราบรื่น ร่มเย็น เสริมสิริมงคล ประโยชน์ของการสวดมนต์ก็คือทำให้จิตใจเราผ่องใส และจิตใจสงบมากขึ้น ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พระประจำวันเกิด คือ พระพุทธรูปปางถวายเนตร บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอาทิตย์… อ่านเพิ่มเติม..
อาการท้องผูก ท้องอืด ถึงแม้จะไม่ส่งผลอันตรายมากถึงชีวิตแต่ก็สร้างความอึดอัดไม่สบายท้อง หรืออาจลุกลามกลายเป็นโรคอันตรายในอนาคตได้ และที่สำคัญอาการเหล่านี้มักส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง! ผลไม้หลายชนิดอุดมไปด้วยใยอาหาร ทำให้การขับถ่ายง่ายขึ้น ผลไม้ 9 ชนิดช่วยขับถ่าย กากใยสูง แก้อาการท้องผูกชนิดไหนบ้างนั้น มาดูกันเลย 1.มะละกอสุก เป็นผลไม้ที่มีกากใยสูงและหาทานง่าย… อ่านเพิ่มเติม..
เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..
เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..
ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..
🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.