ขี้เกียจสิดี! 4 เหตุผลที่บอกว่าทำไมเราถึงต้องเป็นคนขี้เกียจดูบ้าง

1775
views

คำว่า [ ขี้เกียจ ] มักจะมาพร้อมความหมายในแง่ลบและเป็นผู้ร้ายตัวฉกาจที่ขัดขวาง “ความสำเร็จ” แต่ลองอ่ายบทความนี้ จะขอนำเสนอ 4 เหตุผลพิสูจน์ได้ที่หักล้างความเชื่อที่ว่าและบอกกับเราว่าการเป็นคนขี้เกียจในบางครั้งดีจะตายไป!

1 | คนขี้เกียจมักจะฉลาดกว่าคนทั่ว ๆ ไป

จากคำพูดที่ดังมาก ๆ ของ บิล เกตส์ ที่ว่า “I choose a lazy person to do a hard job. Because a lazy person will find an easy way to do it” ผมเลือกคนขี้เกียจมาทำงานยาก ๆ เพราะผมเชื่อว่าพวกเขาจะหาทางที่ง่ายที่สุดเพื่อทำงานเหล่านั้นได้ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือพวกเขาชาญฉลาดนั่นเอง มีงานวิจัยจากปี 2015 ที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Journey of Health Psychology ที่สนับสนุนประโยคนี้

การทดลองขอให้คน 60 คนทำแบบทดสอบวัดความรู้และการคิดวิเคราะห์ และจากผลคะแนนจะแบ่งคนออกเป็น 2 กลุ่มคือ Thinkers (นักคิด) กับ Non-Thinkers (คนที่ไม่ชอบใช้ความคิด) จากนั้นขอให้ผู้เข้าร่วมทุกคนใส่สายรัดข้อมือที่บันทึกกิจกรรมต่าง ๆ ที่พวกเขาทำในชีวิตประจำวันเป็นเวลา 7 วัน

สิ่งที่นักวิจัยค้นพบก็คือกลุ่มที่มีคะแนน IQ สูงมักจะเป็นคนที่ไม่ชอบทำอะไรระหว่างวัน ส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่เอนจอยกับการนั่ง ๆ นอน ๆ เรื่อยเปื่อย ในขณะที่กลุ่มที่มีคะแนน IQ ต่ำกว่าจะเป็นคนที่มีไลฟ์สไตล์ที่แอคทีฟ ชอบเล่นกีฬาหรือออกไปพบปะผู้คน ซึ่งสรุปได้อย่างคร่าว ๆ ว่าคนที่ขี้เกียจขยับตัว ส่วนใหญ่แล้วจะชอบใช้เวลาจมอยู่กับความนึกคิดของตัวเอง ถ้าจำเป็นต้องทำอะไรสักอย่าง พวกเขามักจะหาวิธีที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อที่จะได้กำจัด task นั้นออกไปอย่างเร็ว ๆ และเพื่อที่จะสามารถกลับมานั่งขี้เกียจต่อได้ ซึ่งนั่นคือเหตุผลที่บอกว่าคนขี้เกียจมักจะเป็นฉลาดหลักแหลมกว่าคนทั่ว ๆ ไปโดยที่หลายคนไม่ทันได้รู้ตัว (แต่ บิล เกตส์ รู้นะ)

2 | ขี้เกียจเพื่อสร้างไอเดียสุดเจ๋ง

คริส เบลีย์ นักเขียนเจ้าของหนังสือ Hyperfocus: How to Be More Productive in a World of Distraction บอกเอาไว้ว่าช่วงเวลาที่เราเลือกที่จะขี้เกียจ นั่ง ๆ นอน ๆ แบบไม่ทำอะไรเลยคือช่วงเวลาที่สมองจะริเริ่มการสร้างสรรค์

“ในยุคที่เต็มไปด้วยสิ่งก่อกวนรอบตัว ความคิดเชิงลึกของเราจะไม่ค่อยถูกดึงมาใช้งาน ในทางกลับกัน สมองจะประมวลผลกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเช่นการเช็กอีเมล อ่านข่าว เลื่อนดูโพสต์ในเฟซบุค ซึ่งพอทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เสร็จ ความคิดก็จะล้าแล้ว…แต่ลองนึกถึงตอนที่คุณคิดไอเดียบรรเจิดได้ครั้งล่าสุดดูสิ ช่วงเวลานั้นไม่ใช่ตอนที่คุณโฟกัสอยู่กับการทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่แน่นอน แต่มันมักจะเป็นตอนที่คุณปล่อยให้ตัวเองทำอะไรอย่างช้า ๆ อย่างตอนเข้าไปอาบน้ำนาน ๆ หรือตอนกำลังนั่งจิบกาแฟแบบไม่เร่งรีบ หรือตอนที่นอนเปื่อยอยู่บนชายหาด ช่วงเวลาที่เราตั้งใจจะขี้เกียจนั่นแหละที่ทำให้เราได้ไอเดียสุดเจ๋งมา” คริสเขียนเอาไว้ในบทความที่ถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ TIME

3 | ช่วงเวลาที่ขี้เกียจซ้อมให้เราแก้ปัญหาได้ดีขึ้น

งานวิจัยที่ชื่อว่า Consciousness and Cognition จากปี 2011 พิสูจน์ให้เห็นว่าเวลาที่เราอยู่ในโหมดขี้เกียจนั้น ความคิดของเราจะเดินทางไปทุกหนแห่ง โดยแบ่งเป็นสัดส่วนได้ว่า 48% จะคำนึงถึงไปถึงเรื่องในอนาคต 28% อยู่กับห้วงเวลาปัจจุบัน และอีก 12% จะนึกถึงความหลังในอดีต ซึ่ง 48% ที่ใจและความคิดเรากำลังเดินทางไปยังโลกอนาคตนั้น คือการวางแผนและเตรียมการรับมือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยใกล้ ทำให้คนประเภทนี้สามารถจัดการกับปัญหาได้ดีกว่าคนทั่ว ๆ ไปถึง 14 เท่าเพราะมีแพลนล่วงหน้าเอาไว้แล้ว

4 | ขี้เกียจเพื่อสุขภาพที่ดี

ข้อสุดท้ายนี้สำหรับคนที่บ้างาน บางทีคุณอาจจะห้ำหั่นกับตัวเองเกินไปจนรู้สึก burn out หมดไฟในการที่จะทำอะไร ๆ ต่อไปได้ ความขี้เกียจควรจะแทรกเข้ามาตรงนี้เพื่อให้คุณได้ผ่อนคลายลงบ้าง

ด็อกเตอร์อิซาเบลล์ โมโรว์ คุณหมอหัวใจบอกกับเว็บไซต์ Independent ไว้ว่าในการทำงาน เราควรโฟกัสที่คุณภาพไม่ใช่ปริมาณ ควรมีเวลาเหลือให้ตัวเองได้อยู่กับความคิดบ้างไม่ใช่แค่ทำงานเพื่อผลิตเหมือนเครื่องจักร “ใช้ความเบื่อและความขี้เกียจมาช่วยรักษาสมดุล” คุณหมออิซาเบลล์บอก

ขี้เกียจเพื่อรักษาแพสชั่นของตัวเองให้สดใหม่เสมอและเพื่อสุขภาพกายกับใจที่ดี บางทีมันก็ไม่ใช่เรื่องแย่นะ!

ต้นฉบับโดย LINE TODAY

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร