พ่อแม่ต้องใส่ใจ!! ปัญหาอันตรายของแสงสีน้ำเงิน เสี่ยงปัญหาทางสายตา เด็กยุคดิจิทัล

1035
views

ทุกวันนี้ เด็กๆ ต้องใช้เวลาอยู่หน้าจอดิจิทัลเป็นเวลานาน หลายชั่วโมงต่อวัน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางด้านสายตาและสุขภาพตา เพราะแสงสีน้ำเงิน (Blue light) จากอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน อาจเป็นอันตรายต่อดวงตาของเด็กๆ ทั้งสิ้น และการเล่นอุปกรณ์เหล่านี้เป็นเวลานานๆ จะนำมาซึ่งปัญหาและผลกระทบต่อเด็ก ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อาทิ “ภาวะตาล้า” ซึ่งจะทำให้มีการมองเห็นที่พร่ามัวชั่วคราว, โรคจอประสาทตาเสื่อม และโรคสายตาสั้นมาก ที่เกิดจากการเพ่งหน้าจอนานกว่า 2.5 ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะในระยะน้อยกว่า 20 เซนติเมตร นานกว่า 45 นาที

ผู้เชี่ยวชาญจากเอสซีลอร์ มีข้อแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในการดูแลลูกระหว่างใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ดังนี้

1.เลือกใช้แว่นตาที่มีเลนส์กรองแสงสีน้ำเงิน ด้วยช่วยป้องกันรังสียูวีทั้งด้านหน้าและหลังของเลนส์ ปกป้องดวงตาได้มากกว่าเลนส์ใสทั่วไปถึง 3 เท่า

2.ควรเลือกจอคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดมากกว่า 19 นิ้ว และเป็นจอที่กันแสงสะท้อน เพราะถ้ามีแสงสะท้อนจะทำให้รู้สึกไม่สบายตา ที่สำคัญควรปรับสภาพแวดล้อม แสงสว่างโดยรอบให้พอดี ไม่มืดหรือสว่างจนเกินไป และควรจัดแสงจากภายนอกให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่แยงตาโดยตรงเพราะจะทำให้ตาล้ามากขึ้น

3.กำหนดระยะห่างระหว่างสายตากับหน้าจอ ให้มีระยะห่างที่พอเหมาะ จะทำให้เด็กๆ ไม่ต้องใช้กำลังโฟกัสของตามากเกินไป หากใช้แทบเล็ต หรือหน้าจอมือถือควรห่างประมาณ 1 ฟุต ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะควรห่างประมาณ 2 ฟุต

4.ปรับขนาดตัวอักษรบนหน้าจอดิจิทัล ไม่เล็กจนเกินไป โดยขนาดตัวอักษรที่ทำให้อ่านได้สบายตาในเวลานานๆ ต้องมีขนาดอย่างน้อย 3 เท่าของขนาดที่เล็กที่สุดที่สามารถอ่านได้ในระยะนั้น

5.พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกพักสายตา ด้วยเทคนิค 20-20-20 คือทุก 20 นาที ในการจ้องหน้าจออุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ควรพักสายตา 20 วินาที โดยมองออกไปไกล 20 ฟุต เพื่อช่วยให้ดวงตามีการเปลี่ยนระยะโฟกัสและผ่อนคลาย ซึ่งในระหว่างนี้ผู้ปกครองอาจให้เด็กๆ ได้พักจากหน้าจอลุกยืดเส้นยืดสายด้วย เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ของร่างกายไปพร้อมกัน

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือควรพาลูกไปตรวจสุขภาพตาเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง เพราะโรคทางตาหลายโรคมักจะไม่แสดงอาการจนกว่าจะเข้าสู่ระยะรุนแรงแล้ว รู้เร็วก็สามารถรักษาได้เร็ว

เนื้อหาต้นฉบับ : Matichon

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร