Travel Bubble คือ การเปิดประเทศด้วยการ ท่องเที่ยวแบบจับคู่เดินทาง กับประเทศที่ควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจจุบันมีตัวอย่างจาก ออสเตรเลีย ที่ได้มีการทำข้อตกลง ผ่านการจับคู่เดินทางกับประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งประชากร ระหว่าง 2 ประเทศ สามารถเดินทางไปมาได้ จะไม่มีการกักตัว 14 วัน
…. รัฐเดินหน้าแผน “travel bubble” รับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศวันละ Travel Bubble จุดเริ่มต้นรองรับต่างชาติเข้าไทย 4 กระทรวงผนึกกำลังเดินหน้า พร้อมเสนอ “ศบค.” พิจารณาอีกรอบ 17 มิ.ย.นี้ เชื่อการท่องเที่ยวช่วยดันเศรษฐกิจไทยฟื้น
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา มั่นใจในศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ของไทย จึงได้ผลักดัน Travel Bubble หรือ การจับคู่ประเทศ เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างประเทศที่สามารถจัดการโรคโควิด-19 ได้ดีเท่า ๆ กัน ซึ่งเป็นความร่วมมือในลักษณะทวิภาคีด้านการท่องเที่ยวแบบใหม่ที่ทั่วโลกกำลังหันมาสนใจ ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ในหลาย ๆ ประเทศเริ่มดีขึ้น
โดยล่าสุด ที่ประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้เห็นชอบในหลักการแล้ว ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นของการหารือระหว่าง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหาข้อสรุปในแนวทางการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็น แนวทางการเจรจากับประเทศกลุ่มเป้าหมาย ข้อปฏิบัติต่างๆ รวมถึงการเฝ้าระวังโรคระบาด ก่อนเสนอ ศบค. พิจารณาอีกครั้งในวันที่ 17 มิถุนายนนี้
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า อย่างที่ทราบว่าเศรษฐกิจไทย และทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กระทวงการท่องเที่ยวและกีฬา จึงหวังให้ การจับคู่ประเทศ เป็นจุดเริ่มต้นในการรองรับชาวต่างชาติที่จะเข้ามาในประเทศไทย โดยไทยมีจุดแข็งในการรับมือกับโรคโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ระยะแรกจะเปิดรับกลุ่มนักธุรกิจและกลุ่มที่ต้องการเข้ามารักษาพยาบาลในไทย คาดว่าจะชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาประมาณวันละ 1,000 คน ซึ่งเมื่อดำเนินการไปสักระยะหนึ่ง แล้วพบว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดี ก็จะพิจารณาให้นักท่องเที่ยวกลุ่มอื่น ๆ เข้ามาตามลำดับ
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า การเปิดรับนักท่องเที่ยวตามแนวทางนี้ จะไม่มีการกักตัว 14 วัน แต่มีมาตรการอื่นรองรับ เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัย โดยเริ่มจากการเลือกประเทศกลุ่มเป้าหมายที่มีความปลอดภัย สามารถควบคุมโรคได้ดี ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ก่อนเดินทางออกจากประเทศต้นทางและตรวจอีกครั้งเมื่อเดินทางถึงไทย อาจกำหนดพื้นที่ซึ่งนักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางไปได้ มีการติดตามตัวผ่านแอพพลิเคชันตลอดเวลาที่อยู่ในเมืองไทย ฯลฯ ที่สำคัญชาวต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามาในไทยนั้น ล้วนมาจากประเทศที่มีความสามารถรับมือกับโควิด-19 ได้ดีเท่า ๆ กัน
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวค่อนข้างสูง แม้เจอสถานการณ์โควิด-19 แต่ก็สามารถรับมือได้เป็นอย่างดี จึงเชื่อว่าด้วยศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและความสามารถด้านสาธารณสุขของไทย จะกระตุ้นให้ชาวต่างชาติมองเป็นจุดแข็งของประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น และการท่องเที่ยวจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้เร็ว เมื่อสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกเริ่มดีขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแนวทางข้อตกลง Travel Bubble ที่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา วางไว้ มีแนวคิด คือ การเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสองประเทศที่สามารถจัดการเรื่องโรค COVID-19 ได้ดี เท่าๆกัน โดยพิจารณาจากสถานการณ์การระบาดในประเทศนั้น มีการผ่อนคลาย และการควบคุมโรคแล้วหรือไม่ มีการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศอยู่หรือไม่ และคำนึงถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่มีต่อกัน
ทั้งนี้ ผู้เดินทางภายใต้ แนวทางข้อตกลง Travel Bubble สามารถเดินทางภายใน Bubble ดังกล่าว โดยไม่ต้องถูกกักตัว เหมือนบุคคลสัญชาติอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือความตกลงนี้ โดยทำเป็นข้อตกลงร่วมกันใน ลักษณะทวิภาคี (Bilateral Agreement) เพื่อกำหนดจำนวนคน ที่จะอนญุาตให้เดินทางแลกเปลี่ยนกัน ภายใต้ การจัดการพิเศษ (Special Protocols) ได้แก่ การขอวีซ่า การโดยสารเครื่องบิน (Flights) ที่พัก (Accommodations) การเยี่ยมเยือน (Visits) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบคุคล (Interaction) และผู้รับประกัน (Guarantor)
Travel Bubble จะทำได้หากประเทศคู่ตกลงไม่มีผู้ติดเชื้อแล้ว หรือมีจำนวนผู้ติดเชื้อในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน และมีการจัดการที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพเท่าๆกัน ดังนั้นทั้ง 2 ประเทศต้องมีความเชื่อมั่นในการจัดการเรื่อง COVID-19 ซึ่งกันและกัน ต้องมีมาตรการตรวจหาเชื้อ และป้องกันอย่างเข้มงวด โดยต้องมีการตรวจเชื้อโควิดก่อนเดินทางออกนอกประเทศต้นทาง และ ตรวจอีกครั้งเมื่อเดินทางเข้าไทย
ตัวอย่างประเทศที่ทำ Travel Bubble
สิงคโปร์ กับ จีน (บางเมือง) , อิสราเอล กับ กรีซ และ ไซปรัส , กลุ่มประเทศบอลติก กับ เอสโตเนีย, ลัตเวีย และ ลิธัวเนีย , ออสเตรเลีย กับ นิวซีแลนด์ , จอร์เจีย กับ บางประเทศ