การบริจาคเลือด เป็นยารักษาที่ดี เพราะการบริจาคเลือดนั้น ทำให้ผู้บริจาคได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ทำให้บอกถึงระดับของสุขภาพในเบื้องต้นได้ ทุกคนล้วนรู้จักการบริจาคเลือด เคยเห็นประกาศรับบริจาคเลือด แต่อาจไม่ได้ให้ความสำคัญ ไม่ได้ไปให้บริจาค จนกระทั่งเรานั้น เป็นผู้ต้องการเลือดบริจาคเสียเอง เป็นช่วงเวลาแห่งการรอคอย ได้รู้ซึ้งถึงการให้ที่ทรงคุณค่านี้ ว่าสำคัญเพียงใด
ถือโอกาสทบทวนข้อดีการบริจาคเลือด ได้มากกว่าที่คิด เพราะไม่เพียงช่วยต่อลมหายใจแก่ผู้ป่วย ยังได้กลับมาที่ตัวผู้ให้เอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ใครหลายคนไม่รู้ สรุปเป็น 4 ข้อหลักๆ ดังนี้
1.สุขภาพแข็งแรง เพราะการบริจาคโลหิตต่อครั้ง จะคิดเป็น 7% ของโลหิตทั้งหมดในร่างกาย การบริจาคโลหิตทำให้เกิดการกระตุ้นไขกระดูกผลิตโลหิตขึ้นมาใหม่ ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
2.หุ่นดี ผิวใส มีออร่า การบริจาคโลหิต จะช่วยให้ระบบการไหลเวียนดี สามารถลำเลียงเลือดและออกซิเจนเพื่อไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้ดีขึ้น ซึ่งรวมถึงเซลล์ผิวด้วย ก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงช่วยให้ให้ผิวพรรณสดใส เปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวล(ไม่ถึงกับอ้วน) และเปล่งประกายตามธรรมชาติ
3.ห่างไกลมะเร็ง ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริจาคโลหิตมีแนวโน้มจะมีอายุยืน ลดความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็งและโรคต่าง ๆ ได้มากกว่าผู้ที่ไม่บริจาค ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณธาตุเหล็กส่วนเกินในร่างกาย อันเป็นปัจจัยของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน รวมถึงโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
4.สิทธิพิเศษด้านสุขภาพ บริจาคโลหิต 7 ครั้งขึ้นไป เมื่อเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล สังกัดสภากาชาดไทย จะเสียค่าใช้จ่ายเพียงครึ่งเดียวของค่ารักษาพยาบาล และยังได้อยู่ห้องพิเศษ
ส่วนผู้บริจาคโลหิต 24 ครั้งขึ้นไป จะได้รับการยกเว้นค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยสามัญ และหากต้องอยู่ห้องพิเศษผ่าตัดคลอดบุตร จะเสียค่าใช้จ่ายเพียงครึ่งเดียวของค่ารักษาพยาบาล
สำหรับผู้บริจาคโลหิตถึง 100 ครั้ง จะได้เข็มเชิดชูเกียรติจากสภากาชาดไทย และ เมื่อเสียชีวิตญาติจะสามารถนำเอกสารการบริจาคเลือดไปขอพระราชทานเพลิงศพได้
สนใจบริจาคโลหิตสามารถอ่านคำแนะนำเพื่อเตรียมตัว ทางลิงค์นี้ https://blooddonationthai.com/?page_id=734
โดยศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย วันและเวลาเปิดทำการจันทร์ – ศุกร์ เวลา 07.30 – 19.30 น. เสาร์, อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 – 15.30 น. ที่อยู่ : 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0 2263 9600-99 , 0 2256 4300
ข้อมูลจากสภากาชาดไทย เนื้อหาต้นฉบับ
ยอดผักหวานสีเขียวอ่อนเจือเหลืองเวลาถูกแสงแดดส่องผ่านจะมีสีทองสวย ผักหวานป่า หรือที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Melientha suavis Pierre เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น อายุยืน ขนาดกลางต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดรที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค… อ่านเพิ่มเติม..
ปี 68-69 เพิ่มวันหยุดราชการกรณีพิเศษอีก 3 วัน เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน ในช่วงวันฟันหลอ ให้เป็นวันหยุดยาว ในเดือนมิถุนายน 2568 และเดือนสิงหาคม… อ่านเพิ่มเติม..
ความคืบหน้าของการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครบัตรใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในต้นเดือนมีนาคม 2568 เพื่อพิจารณาข้อสรุปเกณฑ์บัตรสวัสดิการใหม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป ก่อนที่การเปิดลงทะเบียนในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2568 ตามที่ ครม.ได้เห็นชอบตามไทม์ไลน์ ทั้งนี้ ช่องทาง… อ่านเพิ่มเติม..
วันพระ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันธรรมสวนะ อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยปกติ ในเดือนหนึ่ง ๆ จะมีวันพระ 4 วัน ตรงกับวันขึ้น 8… อ่านเพิ่มเติม..
10-3-2-1-0 สูตรก่อนนอน ที่จะช่วยให้ตื่นมาสดชื่น โดยการเอาชนะใจของตนเองเป็นหลัก การนอนหลับผักผ่อนไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ แถมยังอาจส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนโหยอาหารและอ้วนง่ายขึ้น วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถเข้านอนได้ตรงเวลา นอนหลับสนิท และตื่นเช้าวันรุ่งขึ้นด้วยความแจ่มใสอย่างคนพักผ่อนเต็มที่และพร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวัน มาติดตามกันเลยว่าวิธี 10-3-2-1-0 จะมีอะไรบ้าง... 10… อ่านเพิ่มเติม..
พุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ผ่านการเผยแผ่ธรรมของพระสมณทูตจากอินเดีย ภายใต้การสนับสนุนของพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชีวิตประจำวันของคนไทยอีกด้วย นิกายที่นิยมนับถือในประเทศไทยคือ นิกายเถรวาท (Theravada) ซึ่งเป็นนิกายที่ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นหลักในการปฏิบัติและศึกษา นิกายนี้เน้นการบรรลุธรรมผ่านการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย วัดและการปฏิบัติศาสนกิจ:ในประเทศไทยมีจำนวนมาก… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.