ยุงลายร้ายไม่แพ้โควิด-19 “ไข้เลือดออก” อาจกลับมาระบาดหากไม่ดูแลสภาพแวดล้อม กรมควบคุมโรค มีการพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ ระหว่างวันที่ 7-13 มิ.ย.63 คาดว่าช่วงนี้จะมีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายเพิ่มขึ้น จากการที่มีฝนตกในหลายพื้นที่ของประเทศไทย

เตือน! พื้นที่ภาคใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการระบาด ยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง และมีการแพร่กระจายของโรคไปยังจังหวัดอื่นจากผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการดังนี้

-อาการไข้สูง
-ปวดข้อ -ข้อบวมหรืออักเสบ
-ปวดศีรษะ -ปวดกระปอกตา
-ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
-มีผื่นหรืออ่อนเพลีย

มาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3โรค” เป็นการป้องกันการแพร่กระจายของโรคที่ดีที่สุด คือ เก็บบ้าน เก็บขยะ และเก็บน้ำ เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย และการป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด
หากพบผู้ที่มีอาการไข้ ปวดข้อ หรือมีผื่น ควรแจ้งหน่วยงานสาธารณสุขในพื่นที่เพื่อดำเนินการสอบสวนควบคุมโรคอย่างรวดเร็ว สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
ข้อมูลจาก : สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 กรมประชาสัมพันธ์
Ⓜ️ เรื่องที่น่าสนใจ |

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ ชิคุนกุนยา ทางห้องปฏิบัติการนั้น มีทั้งการตรวจเพื่อค้นหาเชื้อไวรัสด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ (RT-PCR) และวิธีการเพาะเชื้อจุลินทรีย์เพื่อแยกไวรัสออกจากเลือด (Immunochromatography) ซึ่งจะมีภูมิคุ้มกัน (Chikungunya IgM Antibody) สูงสุดในช่วง 3-5 สัปดาห์หลังจากเริ่มมีอาการ และคงอยู่ต่อเนื่องประมาณ 2 เดือน ทั้งนี้ การตรวจด้วยวิธี RT-PCR สามารถใช้เพื่อตรวจยีนชิคุนกุนยาในเลือดได้ ควรตรวจภายในสัปดาห์แรกของโรค และใช้เวลา 1-2 วันจึงจะทราบผล ส่วนการตรวจหา Chikungunya IgM Antibody นั้นโดยปกติร่างการจะเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันหลังจากมีอาการประมาณ 1 สัปดาห์ แนะนำให้ตรวจครั้งที่ 1 ในวันที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา และตรวจอีกครั้งหลังจากเริ่มมีไข้ 14-25 วัน คำแนะนำเพื่อป้องกันและรักษาตัวเพื่อไม่ให้มีการเกิดโรคชิคุนกุนยาคือ หลีกเลี่ยงการไม่ถูกยุงลายกัด ด้วยการทำความสะอาดบ้าน ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง ไม่ให้มีน้ำท่วมขังภายในบริเวณบ้าน หรือ ปลูกต้นไม้จัดสวน ให้โล่ง แสงแดดส่อง ใส่เสื้อผ้าแต่งกายให้เหมาะสม ไม่อยู่ในที่รก…

“ช่วงหน้าฝน” อากาศก็จะเริ่มเย็นลง และมีความชื้นสูงขึ้น ส่งผลให้การแพร่ระบาดของโรคติดต่อก็เพิ่มมากขึ้น เพราะเชื้อโรคหลายชนิดเติบโตอย่างรวดเร็วและเมื่ออากาศเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ก็อาจทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราลดลง ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้ดี ส่งผลให้เกิดโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ระบบภูมิต้านทานในร่างกายยังไม่แข็งแรงเท่าผู้ใหญ่ และหากเกิดการติดเชื้อก็อาจทำให้ป่วยได้ง่ายขึ้น โรคที่มักพบการระบาดในช่วงฤดูฝน ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ Influenza เป็นกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส“อินฟลูเอนซ่าไวรัส (Influenza virus)” ที่อยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือละอองเสมหะที่กระจายอยู่ในอากาศจากการไอ จาม ของผู้ป่วย เด็กเล็กและเด็กวัยเรียน เป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ง่าย เช่น ปอดอักเสบ สมองอักเสบ สาเหตุ : ติดเชื้อจากการสุดหายใจ สัมผัสสารค้ดหลั่งน้ำมูกหรือน้ำลาย อาการ : ไข้สูง ไอน้ำมูก เจ็บคอ ปวดเมื่อยคล้ามเนื้อและอ่อนเพลีย การป้องกัน : ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย และป้องกันการติดเชื้อด้วยการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ ในเด็กที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ควรให้หยุดพักรักษาตัว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อ โรคไข้ไวรัส RSV RSV…

ฤดูฝนเป็นช่วงเวลาที่พบว่ามีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย ซึ่งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์ปัจจุบันของโรคไข้เลือดออกคาดว่า ในปี 2563 จะมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกประมาณ 140,000 ราย สำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยโรคไข้เลือดออก คือ กลุ่มเด็กวัยเรียน (อายุ 5-14 ปี) แต่กลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตนั้น คือ วัยผู้ใหญ่ (อายุ 35 ปีขึ้นไป) โดยเฉพาะในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง สำหรับโรคไข้เลือดออกมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) อาการของโรคนี้มีความคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดในช่วงแรกถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องโดยเฉพาะในระยะ ที่มีเลือดออก (ระยะช็อก) ก็อาจส่งผลทำให้เสียชีวิตได้ และวิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก คือ การป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งภายในบ้าน ชุมชน รวมถึงสถานที่สำคัญต่างๆ ถึงฤดูฝนไข้เลือดออกเป็นต้องระบาด เพราะความชุ่มฉ่ำเอื้อต่อการเติบโตของยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของโรค ยุงลายที่กัดเราแล้วทำให้เป็นโรคไข้เลือดออก คือ ยุงลายตัวเมียที่ออกหากินตอนกลางวัน นอกจากต้องระมัดระวังปิดฝาภาชนะใส่น้ำให้มิดชิด ใช้ทรายอะเบทใส่ในภาชนะขังน้ำ เพื่อทำลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายแล้ว ยังสามารถป้องกันยุงได้อย่างมั่นใจด้วยสมุนไพรไทยที่ปลอดภัยสำหรับคน แต่รับรองว่าเกินทนสำหรับยุง ตะไคร้หอม…