ชะพลู หรือ ช้าพลู (ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper sarmentosum Roxb.) เป็นพืชในวงศ์ Piperaceae มักสับสนกับพลู แต่ใบรสไม่จัดเท่าพลูและมีขนาดเล็กกว่า ชะพลูเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบพื้นที่ลุ่ม มีความชื้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ โดยการเลือกกิ่งที่มีใบอ่อนและใบแก่ เด็ดใบแก่ออกและนำไปปักชำได้
ชะพลูมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกคือทางภาคเหนือเรียกว่า “ผักปูนา” “ผักพลูนก” “พลูลิง” “ปูลิง” “ปูลิงนก” ทางภาคกลาง เรียกว่า “ช้าพลู” ทางภาคอีสานเรียกว่า “ผักแค” “ผักปูลิง” “ผักนางเลิด” “ผักอีเลิด” และ ทางภาคใต้เรียกว่า “นมวา”
ชะพลู ผักใบเขียวเข้ม มีเบต้าแคโรทีนสูง ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเซลล์มะเร็ง บำรุงสายตา แก้โรคตาฟาง มีเบต้าแคโรทีนสูง มีวิตามินเอ ธาตุแคลเซียมปริมาณสูงมาก ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส คลอโรฟิลล์ กากใยอาหารสูง มีประโยชน์ต่อร่างกายแทบทั้งสิ้นบำรุงธาตุ ขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยในการขับเสมหะ
สรรพคุณ
ผล – เป็นส่วนผสมของยารักษาโรคหืด แก้บิด
ราก ต้น ดอก ใบ – ขับเสมหะ
ราก – แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อขับลม แก้บิด
ทั้งต้น – แก้เสมหะ ท้องอืด ท้องเฟ้อ
วิธีและปริมาณที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน
– ใช้ชะพลูสดทั้ง 5 (หมายถึงทั้งต้นรวมราก) จำนวน 7 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ใส่น้ำพอท่วม ต้มให้เดือดสักพัก นำมาดื่ม เหมือนดื่มน้ำชา
ข้อควรระวัง
– จะต้องตรวจน้ำตาลในปัสสาวะก่อนดื่มและหลังดื่มทุกครั้ง เพราะว่าน้ำยานี้ทำให้น้ำตาลลดลงเร็วมาก ต้องเปลี่ยนต้นชะพลูใหม่ทุกวันที่ต้ม ต้มดื่มต่อไปทุกๆ วัน จนกว่าจะหาย
แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
– ใช้ราก 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 1/2 ถ้วยแก้ว รับประประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว
แก้บิด
– ใช้รากครึ่งกำมือ ผล 2-3 หยิบมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว กินครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว
ข้อควรระวัง ไม่ควรกินมากหรือกินติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะแคลเซียมสูงมาก จะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลต (Oxalate) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ ถ้ากินใบชะพลูมากๆ ต้องดื่มน้ำตามมาก ๆ เพื่อให้สารออกซาเลตเจือจางและถูกขับออกทางปัสสาวะ หรือจะเลือกกินกับนอาหารที่มีโปรตีนสูง จะป้องกันโรคนิ่วได้ อาหารอะไรก็ตาม ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม คำว่า “เดินทางสายกลาง” ใช้ได้เสมอ
ขอบคุณข้อมูลจาก : http:// samunpraibann.com