ราธพราหมณ์ “ผู้ว่านอนสอนง่าย” ภิกษุผู้เข้ามาบวชในวัยชรา

5634
views
ราธพราหมณ์ ศิษย์พระสารีบุตร ผู้ว่านอนสอนง่าย

“บุคคลควรเห็นผู้มีปัญญา ที่คอยกล่าวคำขนาบชี้โทษของเราให้เป็นว่า เป็นดุจผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ให้ ควรคบกับบัญฑิตที่เป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อคบแล้ว ย่อมมีแต่ดีฝ่ายเดียว ไม่มีเลวเลย”

พระราธเถระ เดิมเป็นพราหมณ์ในพระนครราชคฤห์ เมื่อแก่ตัวลง ภรรยาและบุตรไม่เลี้ยงดู ท่านต้องออกจากบ้านมาอาศัยอยู่ในวัดพระเวฬุวันมหาวิหาร ต่อมาท่านประสงค์จะออกผนวช แต่ไม่มีใครผนวชให้เพราะเกรงว่าคนผนวชเมื่อแก่จะว่ายากสอนยาก ท่านจึงมีร่างกายซูบผอมผิวพรรณเศร้าหมองด้วยความเสียใจ

พระสารีบุตรเถระ

พระพุทธเจ้าทราบความจึงมีรับสั่งถามพระภิกษุทั้งหลายว่า “มีใครระลึกถึงอุปการคุณของพราหมณ์ผู้นี้ได้บ้าง” ในครั้งนั้นพระสารีบุตรระลึกได้ว่าเคยรับบิณฑบาตจากพรามหณ์ผู้นี้เป็นข้าวทัพพีหนึ่ง พระพุทธเจ้าสรรเสริญพระสารีบุตรว่ามีความกตัญญู ระลึกถึงคุณของพราหมณ์ได้ จึงทรงอนุญาตให้พระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์ผนวชให้แก่ พระราธะ ซึ่งถือว่าเป็นภิกษุรูปแรกที่ได้รับการอุปสมบทด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรม ที่ได้ถือปฏิบัติสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

วันหนึ่งท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ขอให้พระองค์แสดงธรรมย่อ ๆ ให้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสแสงว่า “ดูก่อนราธะ สิ่งใดเป็นมาร จงละสิ่งนั้นเสีย มารคือขันธ์ทั้ง 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ตั้งอยู่ได้ยาก ไม่มีตัวตนบังคับบัญชาไม่ได้ไม่มีใครเป็นเจ้าของ เหล่านี้ชื่อว่ามาร เธอจงละสิ่งเหล่านี้เสีย” พระราธะรับพระโอวาทและออกจาริกไปกับพระสารีบุตร ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัตผล

พระ

เมื่อพระสารีบุตรมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า มีรับสั่งถามว่า พระราธะเป็นเช่นไรบ้าง พระสารีบุตรทูลว่า พระราธะว่าง่ายสอนง่ายเหลือเกิน จะแนะนำสั่งสอนเช่นไรไม่เคยโกรธเลย พระพุทธองค์จึงทรงให้ภิกษุอื่นถือเป็นแบบอย่าง ต่อมาทรงยกย่องว่าท่านเป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้าน ผู้มีปฏิภาณ คือมีญาณแจ่มแจ้งในพระธรรมเทศนา จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสคาถาว่า

“ นิธีนํว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช ตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย.”

บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญาใด ซึ่งเป็นผู้กล่าวนิคคหะ ชี้โทษ ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้, พึงคบผู้มีปัญญาเช่นนั้นซึ่งเป็นบัณฑิต, เมื่อคบท่านผู้เช่นนั้น มีแต่คุณอย่างประเสริฐ ไม่มีโทษที่ลามก.

ราธพราหมณ์

พระศาสดาตรัสสอนให้ภิกษุทั้งหลายถือเอาเป็นตัวอย่างว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายอย่างราธะเถิด เมื่ออาจารย์ชี้โทษสั่งสอน อย่าถือโกรธ ควรคบแต่บัณฑิตที่ตนเห็นว่าเป็นคนแสดงโทษกล่าวชมให้เป็นดุจคนชี้ขุมทรัพย์ให้ เพราะคบบัณฑิตเช่นนั้นมีคุณประเสริฐ ไม่มีโทษเลย และทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีปฏิภาณ คือญาณแจ่มแจ้งในพระธรรมเทศนา

พระราธเถระ หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้วก็ยังสนใจในการเพ่งพินิจธรรม วันหนึ่งขณะนั่งพินิจธรรมอยู่ในกระท่อม เกิดฝนรั่วรดลงมาทางหลังคาที่มุงไม่ดี ท่านคิดเปรียบเทียบว่า เรื่อนที่มุงไม่ดีก็เหมือนกับจิตที่ไม่ได้ฝึกฝน จึงได้กล่าวว่า

เรือนที่มุงไม่ดี ฝนตกรั่วรดได้ จิตที่ไม่ได้ฝึกฝนก็เป็นเช่นนั้น เรือนที่มุงดี ฝนตกรั่วรดไม่ได้ จิตที่ฝึกฝนไว้ดีก็เป็นเช่นนั้น ราคะย่อมรั่วรดไม่ได้

พระราธเถระท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนา พอสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน..

 
ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร