⌘ พระเกจิอาจารย์

พ่อท่านดำ ปณฺณกณฺโห แห่งวัดศรีมาประสิทธิ์ อำเภอชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

“พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา ขอให้แคล้วคลาดปลอดภัย” ประวัติ พระครูสุภัทรสังวรญาณ พ่อท่านดำ ปณฺณกณฺโห วัดศรีมาประสิทธิ์ อำเภอชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

พ่อท่านดำ ปณฺณกณฺโห แห่งวัดศรีมาประสิทธิ์ อำเภอชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ท่านบวชตั้งแต่อายุ ๒๔ ปี พ่อท่านดำ นามเดิมว่า ดำ สิริรัตน์ โยมบิดาชื่อนายจันทร์ สิริรัตน์ โยมมารดาชื่อนางเอียด สิริรัตน์ ท่านเกิดเมื่อ วันที่ ๑๔ พ.ย. ๒๔๖๑ ณ บ้านระโนดสาม ต.สามตำบล อ.ระโนด จ.สงขลา เด็กชาย ดำ สิริรัตน์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๓ คน คือ

๑.นางล่อง สิริรัตน์

๒.นายดำ สิริรัตน์

๓.นายแดง สิริรัตน์ ท่านเป็นคนกลาง

โยมบิดาได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่ เด็กชาย ดำ สิริรัตน์ มีอายุเพียง ๕ ขวบ เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษา มารดาได้ย้ายถิ่นถานมาอยู่ที่เขาลำปะ หรือบ้านหน้าเขา ต.เขาพระทอง เขตอำเภอชะอวด โยมมารดาประกอบอาชีพทำนา จนกระทั่งเมื่อ นาย ดำ สิริรัตน์ อายุ ๒๔ ปี พ.ศ.๒๔๘๕ ได้ไปอุปสมบท ที่วัดเขาน้อย

โดยมีพระครูไพศาลศีลวัตรหรือเจ้าคุณพระราชไพศาลมุณี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า ปณฺณกณฺโห และได้ศึกษาสายวิปัสนากรรมฐานกับพระรัตนธัชมุนี (ม่วง) เจ้าคณะมณฑลภาคใต้ ที่วัดท่าโพธิ์สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุตนิกาย ที่มีชื่อเสียงทางด้านพุทธาคมและวิปัสสนากรรมฐานจนเป็นที่กล่าวขานกันมาจน ถึงทุกวันนี้

หลังจากอุปสมบท ได้อยู่จำพรรษาที่วัดเขาน้อย ๒ ปี ในปีพ.ศ ๒๔๘๘ ได้รับนิมนต์ให้มาอยู่จำพรรษาที่ วัดศรีมาประสิทธิ์ เพื่อร่วมทำอุโบสถในคลองจนถึง พ.ศ. ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๙๔ ได้ไปจำพรรษาที่วัดจังหูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ปีพ.ศ.๒๔๙๗ ไปอยู่ที่วัดปากด่าน เสาเภา และวัดปากน้ำ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ปีพ.ศ.๒๕๐๓

กลับมาจำพรรษาที่วัดศรีมาประสิทธิ์ หลังจากพ่อท่านดำได้เล่าเรียนสายวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมซึ่งเป็นสายเอก จากพระอาจารย์คือพระรัตนธัชมุนี (ม่วง)จนเจนจบจึงได้ปลีกวิเวกออกธุดงค์ตามเทือกเขาต่างๆ แถบจังหวัดภาคใต้หลายปี และได้ไปจำพรรษาตามวัดต่างๆหลายวัดด้วยกันเช่น วัดเขาน้อย (อ.ร่อนพิบูลย์ ) วัดชุมพรรังสรรค์ อ.เมือง จ.ชุมพร วัดศรีมาประสิทธิ์ (อ.ชะอวด ) จนกระทั่งที่วัดสระแก้วได้นิมนต์ไปจำพรรษา เมื่อพ.ศ.๒๕๐๗

ต่อมาในปีพ.ศ.๒๕๒๕ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้รับแต่งตั้งสมณะศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรพัดยศ ในราชทินนามที่พระครูสุภัทรสังวรญาณ จนถึง พ.ศ. ๒๕๓๓ ในที่สุดของการแสวงหาวิชาเพื่อให้ได้บรรลุธรรมและวิปัสสนาญาณอันสูงสุดยัง ไม่สิ้นสุดลง

พ่อท่านดำจึงตัดสินใจละตำแหน่ง จึงละจากการดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และได้กลับมาอยู่ประจำพรรษาที่วัดเขาน้อย (อ.ร่อนพิบูลย์ ) และวัดศรีมาประสิทธิ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช โดยขอเป็นพระลูกวัด ไม่รับตำแหน่งใดๆ

หลังจากพ่อท่านดำกลับจากจาริกธุดงค์ในยุคแรกๆได้อยู่จำพรรษาที่วัดศรีมา ประสิทธิ์ มีคณะสงฆ์และญาติโยมได้ขอให้พ่อท่านดำรับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส แต่พ่อท่านดำได้ปฏิเสธทุกๆครั้งจนถึงทุกวันนี้ ณ ที่ภายในวัดศรีมาประสิทธิ์มีกุฏิหลังเล็กๆ ประตูปิดตลอดเวลาโดยไม่ได้ล็อคกุญแจ มีชานระเบียงด้านหน้ากุฏิโล่งๆ

นั่นคือสถานที่ใช้ในการบำเพ็ญภาวนารวมถึงเป็นที่จำวัด มีกรด ๑ หลัง มีเสื่อมีหมอน จะมีเฉพาะเครื่องอัฐบริขารที่จำเป็นของสงฆ์เท่านั้น จะไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกใดๆ ทั้งสิ้น นั่นหมายถึงการเป็นอยู่แบบสมณพุทธบุตร สมถะ สันโดด เรียบง่าย พูดน้อย ไม่ยึดติดตำแหน่ง ไม่ต้องการลาภสการะ ไม่ยึดติดกับสถานที่ ไม่ชอบความวุ่นวาย ระคนด้วยหมู่คณะ

เป็นพระที่มีความยึดมั่นในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด มีศีล สมาธิ ปัญญา สะอาดหมดจดทั้งกาย วาจา ใจ มีปฎิปทาอันน่าเคารพศรัทธาเลื่อมใส ชอบปลีกวิเวก แสวงหาสถานที่สงบปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเช่นตามป่าช้า เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฎิบัติชอบ ถือทำวัตรปฏิบัติอย่างงดงามไม่เคยขาด

พ่อท่านดำท่านเป็นพระที่มีศีลาจารวัตรที่งดงาม สมเป็นพระแท้ พระบริสุทธิ์สุปฏิปันโน เป็นอริยะสงฆ์ที่คู่ควรแก่การกราบสักการะบูชาได้อย่างสนิทใจ พ่อท่านดำมีเมตตาในการทำคุณประโยชน์ในการพัฒนาทุกๆที่อย่างกว้างไกลท่านมี จิตเมตตาต่อศิษยานุศิษย์โดยไม่แบ่งชั้นวรรณะ

รวมถึงศิษยานุศิษย์ที่ไปกราบขอบารมีเพื่อทำคุณประโยชน์บำรุงศาสนาและสาธารณะอื่นๆ มีอยู่เนืองๆจนถึงเวลามรภาพด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘

พรของหลวงพ่อท่านดำคือ พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา ขอให้แคล้วคลาดปลอดภัย

ขอบคุณ – พระเครื่อง&เครื่องรางของขลัง

admin

Recent Posts

จากความเชื่อ “เปรต” ผีที่หิวโหย 12 ตระกูล 21 จำพวก

เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..

1 week ago

เชื่อหรือไม่? ในอดีตประเทศไทยเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’

เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ

🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ยืนยันแล้ว! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก

ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

เปิด 5 เคล็ดลับ “ดื่มน้ำอย่างไรให้เป็นยา” ตามหลักอายุรเวท

เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

This website uses cookies.