◎ สาระธรรม

คนกลัวตายไปปล่อยปลา ให้ชีวิตสัตว์เป็น ‘อภัยทาน’ ต่ออายุไปในตัว : หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ เป็นพระภิกษุนิกายเถรวาทฝ่ายมหานิกาย เจ้าอาวาสวัดจันทาราม (ท่าซุง) จังหวัดอุทัยธานี มีชื่อเสียงในด้านการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานจนได้วิชามโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ)

มรณภาพ เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๕ หลังการมรณภาพ สังขารร่างกายของท่านมิได้เน่าเปื่อยอย่างศพของคนทั่วไป และได้มีการเก็บรักษาไว้ที่วัดท่าซุงจนถึงปัจจุบันนี้ แต่วันนี้เสียงเทศนาของท่านมีแพร่หลายในยูทูปและเป็นคลิปสั้นๆ ภาษาธรรมของท่านเข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา จะขอนำเรื่อง “คนกลัวตายไปปล่อยปลา” มาเพื่อเผยแพร่เป็นธรรมทาน

…คนกลัวตายไปปล่อยปลาเสียนะ เอาอย่างนี้ดีกว่า “เป็นการสะเดาะเคราะห์” ปล่อยสักปีละครั้ง ครั้งละกี่ตัวไม่สำคัญ ตัวเดียว ๒ ตัว ๓ ตัว ตัวเล็กตัวใหญ่ก็ได้ ให้ชีวิตสัตว์เป็น “อภัยทาน” อย่างนี้จะอยู่ครบอายุขัย บางคนเกินอายุขัย

ผู้ถาม : ปล่อยชีวิตสัตว์นี่หรือครับ ?

หลวงพ่อ : ใช่ ! ไม่ใช่เรื่องเล็ก เรื่องใหญ่มาก

ผู้ถาม : ทีนี้พูดถึงเรื่องปล่อยปลาอย่างเดียว ปล่อยอย่างอื่นงูเงอ..อะไรนี่ไม่ได้หรือครับ ?

หลวงพ่อ : เหมือนกัน งูได้ เงอไม่ได้ (หัวเราะ) เงอรูปร่างเป็นไง ?

ผู้ถาม : เอาละ ต่อไปใครไปดูหมอดูว่า เคราะห์ยังงั้น เคราะห์ยังงี้ กลัวตายน่ะ ปล่อยสัตว์เถอะ ! แล้วก็จะต่ออายุไปในตัวเสร็จ

หลวงพ่อ : เอาอย่างนี้ดีกว่า ไม่ต้องไปดูหมอดูหรอก ปล่อยซะทุกปี ตั้งใจเลยถึงปีเราจะปล่อย หรือว่าถึงเดือนเราจะปล่อย ถ้าทางที่ดีนะ ปล่อยเดือนละตัวให้จิตมันตั้งไว้ ถึงปลายเดือนต้นเดือนเราจะปล่อยปลา ๑ ตัว ๒ ตัว ตามใจ ตั้งใจไว้

ทีนี้ขณะที่ปล่อยก็เป็นบุญใช่ไหม ขณะที่จิตตั้งอยู่มันเป็น “อนุสสติ” ถ้าตายแล้วจะมีอานิสงส์สมบูรณ์แบบ อย่างนี้ตกนรกไม่ได้ เป็น “เมตตาบารมี” ใน “พรหมวิหาร ๔”

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

จาก “ธัมมวิโมกข์” ฉบับที่ ๔๒๑ เดือนเมษายน ๒๕๕๙ หน้า ๙๔ คัดลอกโดย คณะบุญสุประวีณ์ FB : กุลปราการ นันทิกานต์ / คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

admin

Recent Posts

จากความเชื่อ “เปรต” ผีที่หิวโหย 12 ตระกูล 21 จำพวก

เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..

2 weeks ago

เชื่อหรือไม่? ในอดีตประเทศไทยเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’

เชื่อหรือไม่? ว่าประเทศไทยในอดีตนั้นเคยมี ‘กระทรวงเวทมนตร์’ แต่ใช้ในชื่อว่า ‘กระทรวงแพทยาคม’ หรือบางบันทึกเรียกว่า ‘ศาลกระทรวงแพทยา’ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษของผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทาง ’ไสยศาสตร์’ โดยเฉพาะ เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่ว่าชนชั้นใดก็ต่างเชื่อในเรื่องของ ไสยศาสตร์ กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง… อ่านเพิ่มเติม..

1 month ago

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕

ทำไมเด็กถึงติดหมอนเน่า ผ้าห่มเน่า หรือตุ๊กตาเก่าๆ 🧸💕 เคยสังเกตไหมว่าเด็กน้อยมักมีของชิ้นพิเศษที่พวกเขาพกติดตัวไม่ห่าง เช่น ตุ๊กตาหมี หมอน หรือผ้าห่มเก่าๆ ซึ่งเราอาจเรียกมันว่า "หมอนเน่า" "หมีเน่า" แต่สำหรับเด็กแล้ว สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา! 😌💫… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ

🚨ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 5 แอปฯเช็คน้ำท่วมและสภาพอากาศ 🌂 ช่วงนี้ประเทศไทยบางพื้นที่ฝนตกหนักมาก เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันภัยให้ทันท่วงที ตำรวจไซเบอร์ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการเดินทางและจัดการความเสี่ยงได้ทันเวลา ⚠️เอาตัวรอดจากน้ำท่วม… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

ยืนยันแล้ว! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก

ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก! กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว!! ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร ลดการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก จริง เพราะฉะนั้นควรระวัง หากจะดื่มกาแฟดำแต่กินอาหารเสริมแคลเซียมและธาตุเหล็กควรเว้นระยะห่าง อย่าดื่มต่อกันทันที ตามที่มีข่าวสารในสื่อต่าง ๆ เรื่อง ดื่มกาแฟดำหลังอาหาร… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

เปิด 5 เคล็ดลับ “ดื่มน้ำอย่างไรให้เป็นยา” ตามหลักอายุรเวท

เปิด 5 เคล็ดลับ วิธีการดื่มน้ำอย่างไร ให้เป็นยาดีต่อร่างกาย ตามหลักอายุรเวท อายุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต แนวคิดหลักของอายุรเวทเชื่อว่า… อ่านเพิ่มเติม..

2 months ago

This website uses cookies.