ประวัติหลวงพ่อองค์ใหญ่ พระประธานในอุโบสถมหาอุตต์ (หลังเก่า) วัดท้าวโคตร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช อุโบสถ (หลังเก่า) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเจดีย์
เข้าใจว่าแต่เดิมบริเวณนี้คงเป็นโบราณสถานเก่าที่ยังปรากฎ เป็นเนินดินปูนอิฐอยู่ด้านล่างและต่อมาได้สร้างอุโบสถ ขนาด ๗ ห้องตั้งทับอยู่ด้านบน
อุโบสถนี้เป็นอาคารทรงไทย มีเสาเรียงรายภายใน ๕ คู่ ด้านหน้า ๒ ห้องทำเป็นพระไลยื่น ผนังก่ออิฐปูน สูงประมาณ ๒ เมตร ช่องบนเป็นเสารับเชิงชาย หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ด้านหน้ามีประตู ๒ บาน
ส่วนทางด้านข้าง (ทิศเหนือ) มีประตูขนาดเล็ก ๑ บาน อยู่ข้างองค์พระประธาน ทางด้านนอกอุโบสถมีใบเสมาหินแกะสลักลวดลาย ที่ละเอียดสวยงามตั้งอยู่ทั้ง ๘ ทิศ
“แต่สิ่งก่อสร้างที่เหลืออยู่ในปัจจุบันเป็นการบูรณะขึ้นในสมัยหลังทั้งสิ้น ทั้งกำแพง ผนังและโครงสร้างหลังคา คงมีแต่พระพุทธรูปปางมารวิชัยและใบเสมาเก่ารอบอุโบสถเท่านั้น ที่พอจะยืนยันถึงอายุสมัยได้ว่าคงสร้างขึ้นราวสมัยอยุธยาตอนปลาย”
“วัดท้าวโคตร เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าแต่เดิมเป็นศาสนสถานของพราหมณ์ แล้วร้างไป จนกระทั่งยุคสร้างเมืองนครศรีธรรมราชจึงได้สร้างเป็นวัดขึ้น มีอายุประมาณ ๗๐๐ ปี
ภายในวัดมีโบสถ์โบราณ มีพระประธานขนาดใหญ่ประดิษฐานมาแต่ดั้งเดิม เล่ากันว่าสร้างขึ้นในยุคเดียวกับการสร้าง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งตั้งอยู่กลางเมืองนครศรีธรรมราช”
พระประธานในอุโบสถ (หลังเก่า) วัดท้าวโคตร สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๖๑ มีขนาดหน้าตักกว้าง ๔๗๙ เซนติเมตร สูง ๖ เมตร สร้างจากหินภูเขาโกรนให้เป็นส่วนต่างๆ ขององค์พระ
ใช้ไม้เจาะหินทำเป็นแกนพระพุทธรูปเพื่อความมั่นคง และฉาบทาด้วยหินภูเขาที่บดเป็นผงผสมกับน้ำอ้อยเช่น เดียวกับการใช้ปูนซีเมนต์ในปัจจุบัน พุทธลักษณะเป็นปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ มีพระพักตร์เคร่งขรึม
เป็นลักษณะของชาวปักษ์ใต้ ชาวบ้านนิยมเรียก “หลวงพ่อองค์ใหญ่” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่ชาวบ้านเคารพนับถือมาช้านาน.
เรียบเรียงข้อมูล – ตลาดทานพอ – มรดกไทย
ยอดผักหวานสีเขียวอ่อนเจือเหลืองเวลาถูกแสงแดดส่องผ่านจะมีสีทองสวย ผักหวานป่า หรือที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Melientha suavis Pierre เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น อายุยืน ขนาดกลางต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดรที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค… อ่านเพิ่มเติม..
ปี 68-69 เพิ่มวันหยุดราชการกรณีพิเศษอีก 3 วัน เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่อง 4 และ 5 วัน ในช่วงวันฟันหลอ ให้เป็นวันหยุดยาว ในเดือนมิถุนายน 2568 และเดือนสิงหาคม… อ่านเพิ่มเติม..
ความคืบหน้าของการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สมัครบัตรใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในต้นเดือนมีนาคม 2568 เพื่อพิจารณาข้อสรุปเกณฑ์บัตรสวัสดิการใหม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อขออนุมัติต่อไป ก่อนที่การเปิดลงทะเบียนในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2568 ตามที่ ครม.ได้เห็นชอบตามไทม์ไลน์ ทั้งนี้ ช่องทาง… อ่านเพิ่มเติม..
วันพระ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันธรรมสวนะ อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยปกติ ในเดือนหนึ่ง ๆ จะมีวันพระ 4 วัน ตรงกับวันขึ้น 8… อ่านเพิ่มเติม..
10-3-2-1-0 สูตรก่อนนอน ที่จะช่วยให้ตื่นมาสดชื่น โดยการเอาชนะใจของตนเองเป็นหลัก การนอนหลับผักผ่อนไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ แถมยังอาจส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนโหยอาหารและอ้วนง่ายขึ้น วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถเข้านอนได้ตรงเวลา นอนหลับสนิท และตื่นเช้าวันรุ่งขึ้นด้วยความแจ่มใสอย่างคนพักผ่อนเต็มที่และพร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวัน มาติดตามกันเลยว่าวิธี 10-3-2-1-0 จะมีอะไรบ้าง... 10… อ่านเพิ่มเติม..
พุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ผ่านการเผยแผ่ธรรมของพระสมณทูตจากอินเดีย ภายใต้การสนับสนุนของพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชีวิตประจำวันของคนไทยอีกด้วย นิกายที่นิยมนับถือในประเทศไทยคือ นิกายเถรวาท (Theravada) ซึ่งเป็นนิกายที่ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นหลักในการปฏิบัติและศึกษา นิกายนี้เน้นการบรรลุธรรมผ่านการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย วัดและการปฏิบัติศาสนกิจ:ในประเทศไทยมีจำนวนมาก… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.