ขั้นตอนกู้ชีพมือถือตกน้ำง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก แต่ที่ต้องมีและขาดไม่ได้คือ “สติ” เพราะโทรศัพท์ตกน้ำเป็นเรื่องธรรมชาติ
ปัจจุบันในโทรศัพท์รุ่นใหม่จะกำหนดให้มีมาตรฐาน IP (International Protection Standard) โดยเป็นค่าที่บ่งบอกถึงการกันน้ำและกันฝุ่น
สำหรับ iPhone 7 ที่ผมใช้อยู่มีค่า IP67 ที่ Apple ยืนยันว่ากันน้ำได้ลึกสูงสุด 1 เมตร นานสูงสุด 30 นาที แต่ iPhone 11 มีมาตรฐาน IP68 ที่สามารถกันน้ำได้สูงสุด 2 เมตร นาน 4 ชั่วโมง ฉะนั้นแล้ว หากจะซื้อโทรศัพท์สักเครื่อง ลองดูที่มาตรฐาน IP ให้เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการเลือกซื้อโทรศัพท์แล้วกันนะ
การแก้ไขหากโทรศัพท์ตกน้ำ
- รีบปิดเครื่องให้ไวที่สุด
หลังจากปิดเครื่อง พยายามแกะซิมออกโดยใช้เข็มจิ้มซิมเอาทั้งถาดซิมออกมา ค่อย ๆ ทำนะ เพราะอาจมีละอองน้ำเล็ก ๆ ซ่อนอยู่ในถาดซิม โดยหลักจากปิดเครื่องก็แกะออกมาซะ
- ทำโทรศัพท์ให้แห้งไวที่สุด
นี่เป็นสิ่งพื้นฐานที่ควรทำ แต่หลายคนอาจยึดความเชื่อเก่า ๆ และอาจทำให้โทรศัพท์เกิดความเสียหายมากขึ้น
อย่าเขย่าโทรศัพท์ อาจจะทำให้น้ำในเครื่องแพร่กระจายเป็นวงกว้างขึ้น
แช่ถังข้าวสาร สามารถทำได้ แต่ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด ในกรณีที่มีน้ำเข้าโทรศัพท์มาก หรือเศษแป้งของข้าวสารอาจเข้าไปอุตตันในเครื่องได้
อย่าใช้ไดรเป่าผมเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้น้ำไหลเข้าลึกไปอีกได้ อาจทำให้แบตเตอรี่หรือส่วนต่าง ๆ เสียหายได้ เพราะอาจทำให้เกิดการกัดกร่อนในส่วนที่มีน้ำ
อย่าเอาไปเข้า Microwave (มันเคยมีคนทะลึ่งทำจริง ๆ นะเออ)
วางในที่แดดส่องถึง
วางในกล่องที่มีสารดูดความชื้น ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าข้าวแน่นอน
- เปิดเครื่องเช็คชีพจร
หลังจากแน่ใจว่าโทรศัพท์แห้งดีแล้ว ลองเปิดเครื่องดู หากเปิดได้ก็เช็คอาการพื้นฐานต่าง ๆ เช่น หน้าจอติดปกติไหม โทรเข้า-ออกได้หรือเปล่า ลำโพงดังหรือไม่ ปุ่มกดใช้งานได้ปกติทุกปุ่มไหม ใช้งานกล้องได้หรือเปล่า ตรวจเจอการ์ดหน่วยความจำหรือไม่ รวมถึงลองใช้เมนูฟังก์ชั่นและแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ว่ายังใช้งานได้ปกติดีใช่ไหม หากไม่พบปัญหาอะไรก็อย่าเพิ่งนอนใจ หาเวลาไปเข้าศูนย์ฯ ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเช็คอาการภายในเครื่องด้วยก็ดี
หากเปิดเครื่องแล้วใช้ไม่ได้
หากโทรศัพท์เราจมน้ำเป็นเวลานาน และเปิดไม่ติด หากอยู่ในประกัน ให้เราทำให้โทรศัพท์เราแห้งที่สุด ก่อนจะนำมันไปเคลม วิธีนี้จะทำให้เรามีโอกาศเคลมได้มากขึ้น แต่หากหมดประกันก็ต้องลองนำไปซ่อม หรือขายทิ้งอย่างเดียวเลยจ้า