“พระครูภาวนาภิรมย์” พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง นับว่าเป็นอริยะสงฆ์แดนทักษิณ อีกองค์หนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราช ตลอดชีวิตร้อยกว่าปีของท่านมีแต่เมตตาธรรมต่อผู้ที่ได้ไปกราบท่าน
พ่อท่านคลิ้ง เดิมชื่อ คลิ้ง นามสกุล ฉิมแป้น เป็นบุตร นายแก้ว และ นางทุ่ม ฉิมแป้น เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๙ ขึ้น ๑๐ ค่ำปีจอ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๒๙
ที่บ้านหมู่ที่ ๑ ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช หมู่บ้านที่พ่อท่านเกิดชื่อหมู่บ้านถลุงทอง เป็นบุตรโทน คนเดียวของพ่อ-แม่ ซึ่งมีอาชีพทำนาทำสวน
ครั้นเจริญวัยอายุได้พอสมควร บิดาได้สอนหนังสือไทยให้ ปรากฏว่า เรื่องราวใดๆ ก็ตามที่บิดาสอนให้ก็สามารถจดจำได้ ครบถ้วน การเขียน การอ่านเป็นไปอย่างรวดเร็ว เฉลียวฉลาดผิดปกติเด็กธรรมดาบิดาถ่ายทอดความรู้ภาษาไทยให้เพียงปีเดียวก็หมดสิ้นความรู้ที่มีอยู่
ปรากฏว่าพ่อท่านอ่านออกเขียนได้สิ้น บิดาเห็นเช่นนั้นจึงอยากจะให้บุตรคนเดียวของตนมีความรู้มากขึ้น ครั้นจะเอาไปเรียนที่ใดก็ไม่เห็นลู่ทาง จึงได้นำไปปรึกษากับ พระอาจารย์ขำวัดถลุงทอง
พระอาจารย์ขำ เห็นหน่วยก้านดีมีลักษณะเป็นคนมีบุญ จึงได้รับไว้ให้ศึกษาเล่าเรียนด้วย ขณะศึกษาอยู่กับพระอาจารย์ขำ ก็ขยันขันแข็งในการเล่าเรียน ครั้นกลับบ้านก็ช่วยบิดามารดาทำงานทางบ้านทุกสิ่งสรรพเป็นที่รักใคร่ของพ่อแม่ และผู้พบเห็นทั่วไป ไม่ผิดหวังกับพ่อแม่ที่มีลูกโทนเพียงคนเดียว
อายุได้ ๑๗ ปี พ่อท่านเป็นกำลังแข็งขันช่วยกิจการงานทางบ้านได้คล่องแคล่วพอจะแทนบิดามารดาได้ ก็พอดีมารดาถึงแก่กรรมยังเศร้าโศกเสียใจให้กับบิดาและตัวท่านเองมาก ด้วยความกตเวทิตาคุณมารดาและด้วยการส่งเสริมจากบิดา
พ่อท่านจึงบวชเป็นสามเณร ตั้งแต่บัดนั้น คือ ปี พ.ศ.๒๔๔๖ โดยพระอาจารย์ขำนำไปบวชเป็นสามเณรให้ที่วัดป่าตอ (ขณะนั้น วัดถลุงทอง ยังไม่มีวิสุงสีมา) โดยนิมนต์เอา เจ้าคุณศรีธรรมราชมุณี วัดหน้าพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช มาบวชให้
นับเป็นนิมิตอันดีเมื่อท่านเจ้าคุณเห็นสามเณรคลิ้งขณะนั้นเข้า ก็ถึงกับกล่าวชมว่ามี ลักษณะบุคลิกดี เป็นผู้มีบุญวาสนา จะสืบอายุพระศาสนาต่อไป และจะสำเร็จกิจ
ในทางธรรมสูงสุดในภายภาคหน้า เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วก็กลับมาอยู่ยังวัดถลุงทอง ศึกษาอัขระขอมสูตรเลขยันต์ เวทมนต์คาถา วิชาแพทย์แผนโบราณ และโหราศาสตร์ กับ พระอุปัชฌาย์ขำ (ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ขณะที่บวชสามเณรคลิ้ง)
ขณะเป็นสามเณรก็รับใช้พระอาจารย์ทุกสิ่งทุกอย่างจนเป็นที่รักใคร่ของพระอุปัชฌาย์ขำเป็นอย่างยิ่ง มีวิชาอันใดก็สั่งสอนให้ไม่ปิดบังหวงแหน
เมื่อวัยครบจะอุปสมบทเป็นภิกษุได้ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ บิดาจึงได้ขอร้องให้พ่อท่านอุปสมบทต่อไป ด้วยความเต็มใจของพ่อท่านอยู่แล้วพระอุปัชฌาย์ขำ จึงได้พาสามเณรคลิ้งเดินทางไปอุปสมบทให้ ณ พัทธสีมา วัดป่าตอโดยมีพระอุปัชฌาย์ขำ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเอียด
เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า “จันทสิริ” เมื่ออุปสมบทแล้วก็กลับมาจำพรรษายังวัดถลุงทอง ขยันหมั่นเพียรท่องบ่นมนต์คาถาเป็นประจำเพียงพรรษาได้ไม่มากก็ท่องสวดปาฎิโมกข์และบทสวดมนต์ได้เจนจบสิ้น
ไม่ว่าจะเป็นบทใดในคัมภีร์ พ่อท่านค้นเอามาท่องจำได้หมด เป็นที่ชื่นชอบของพระอุปัชฌาย์ขำมาก ต่อมาพระอุปัชฌาย์ขำได้ถ่ายทอดวิชาที่มีอยู่ทั้งหมดให้ก็สามารถศึกษา ได้เจนจบ ต้องถึงกับมอบตำราของ
หลวงพ่ออยู่ ซึ่งนำมาจากกรุงศรีอยุธยาจำนวนหลายสิบเล่มให้พ่อท่าน พ่อท่านก็ศึกษาจนทะลุปรุโปร่ง พระอุปัชฌาย์เห็นคล่องแคล่วในวิชาการดีแล้วจึงสอนปฎิบัติปัสสนาธุระให้ พ่อท่านก็ปฎิบัติได้สมปรารถนาของอาจารย์อย่างรวดเร็ว เป็นเหตุอัศจรรย์ใจยิ่ง
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ พระอุปัชฌาย์ขำได้มรณภาพลง ก่อนมรณภาพก็ได้สั่งเสีย พ่อท่านคลิ้งขอให้สืบตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดถลุงทองต่อ และฝึกฝนญาณสมาธิให้แก่กล้าเพื่อความหลุดพ้นในขั้นต่อไป อย่าได้ทิ้งเสีย พ่อท่านก็รับคำพระอาจารย์ทั้งสิ้น
ความกตเวทิตาคุณในอาจารย์อันยิ่งใหญ่ พ่อท่านจึงได้ตั้งใจว่าจะสร้างศาลาโรงธรรมขนาดใหญ่เพื่อตั้งศพอาจารย์ให้สมเกียรติ จึงได้ประชุมชาวบ้านญาติโยมให้ช่วยกันสร้างกุศล เพียงเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือนด้วยความตั้งใจอย่างแรงกล้าของพ่อท่าน
โรงธรรมขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๓๕ เมตร ก็สำเร็จลุล่วงลง ชาวบ้านเห็นความดีของท่านที่มีความตั้งใจแสดงกตเวทิตาอาจารย์แรงกล้าเช่นนั้นจึงพร้อมใจกันนิมนต์ พ่อท่านให้เป็นเจ้าอาวาสสืบมาเป็นที่รักใคร่นับถือของชาวบ้าน เป็นที่พักพิงอาศัยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บขจัดทุกข์โศก และอบรมสั่งสอนให้ลูกศิษย์และชาวบ้านตั้งอยู่ในคุณงามความดี
พ่อท่านคลิ้ง นับว่าเป็นพระเถระที่น่ากราบไหว้ ท่านบริสุทธิ์ผุดผ่องอยู่ในศีลาจารวัตร ปฏิบัติแต่วิปัสสนาธุระ บำเพ็ญเพียรทางใจทรงไว้ด้วยญาณสมาธิอย่างแก่กล้า ท่านมักจะพูดน้อย และดำรงตนอยู่อย่างสมถะมักน้อย ยิ้มแย้มแจ่มใสอย่างมีเมตตาธรรม
เป็นที่รักใคร่แก่ทุกคนที่พบเห็น ท่านมีเมตตาอยู่ในตนเองอย่างประหลาด ท่านจะสวดมนต์อยู่เสมอในเวลาว่าง และปฏิบัติวิปัสสนาเป็นประจำในยามราตรีอันวิเวก ฉันอาหารเพียงครั้งเดียวในหนึ่งวัน แต่ร่างกายท่านสมบูรณ์ ใบหน้าแดงผ่องผุดเต็มไปด้วยบุญญาราศี
กล่าวกันว่าท่านปกครองพระในวัดด้วยสายตา เพียงแต่มองเท่านั้น ก็ทราบว่าท่านตำหนิหรือชมเชย และสิ่งสำคัญคือ วาจาของท่าน “ศักดิ์สิทธิ์” และเป็นไปได้ทุกประการตามคำทุกคำของท่านที่ได้กล่าวออกไป
พ่อท่านคลิ้งมีความสนิทและชอบพอกันดีกับ พ่อท่านคล้าย และพ่อท่านคล้ายมักจะกล่าวยกย่องท่านอยู่เสมอในบรรดาลูกศิษย์เป็นที่ทราบกันดีในระหว่างลูกศิษย์ใกล้ชิดระหว่าง พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน กับ พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง
เมื่อพ่อท่านคลิ้งกับพ่อท่านคล้ายพบปะกันท่านมักจะดีใจยิ้มแย้มเข้าหากัน และสนทนากันเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ถึงการปฏิบัติธรรมของกันและกันอย่างสนิทสนม
เถราจารย์อันแก่กล้าสององค์นี้มีความเหมือนกันเป็นที่ประจักษ์ใน ความศักดิ์สิทธิ์ของวาจา พ่อท่านคล้ายมีความเชื่อมั่นในตัวพ่อท่านคลิ้งมาก ถึงกับเคยพากฐินไปทอดที่วัดถลุงทองถึงสองครั้งด้วยกัน
เมื่อครั้งที่อาจารย์นำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง ยังมีชีวิตอยู่ท่านเคยพูดถึงพ่อท่านคลิ้งเสมอ และให้นิมนต์ไปร่วมปลุกเสกมงคลวัตถุชิ้นสุดท้าย คือรูปเหมือนและกริ่งทักษิณชินวโรด้วย อาจารย์นำเคยกล่าวกับ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคคลว่า
“หากสิ้นบุญฉันแล้ว มีกิจอันใดที่สำคัญก็จงไปหาพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง ร่อนพิบูลย์นครศรีฯเถิด ท่านเก่งและแก่กล้าทางญาณสมาธิมาก”
ครั้นเมื่อพระอาจารย์นำสิ้นบุญลงแล้ว เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ได้เป็นประธานในการจัดงานพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์นำ
และในงานนี้ได้จัดสร้างเหรียญพระอาจารย์นำ หลัง ภ.ป.ร. ขึ้นเป็นที่ระลึกในงานอีกทั้งได้นึกถึงคำพูดของพระอาจารย์นำ จึงให้คณะกรรมการวัดไปนิมนต์พ่อท่านคลิ้ง
มาทำการปลุกเสกเหรียญและมาร่วมในงานพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์นำ ที่วัดดอนศาลา จ.พัทลุงด้วย จึงได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๙ และถวายน้ำพระพุทธมนต์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๙ และพระบรมวงศานุวงศ์
พ่อท่านคลิ้งได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกครั้งหนึ่ง ณ วัดโคกสมานคุณ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในงานยกช่อฟ้าของวัด นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น และเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานสมณศักดิ์ ให้พ่อท่านคลิ้งเป็นพระครูสัญญาบัตร “พระครูภาวนาภิรม” ในอันดับที่ ๙๓ ของใบประกาศพระราชทานสมณศักดิ์ ปี ๒๕๒๑
ขอขอบคุณท่านเจ้าของภาพและที่มาข้อมูล – หนังสือพิมพ์รวมไทย
ข้อเข่า โดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายบานพับ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเดิน วิ่ง หรือออกกำลังกาย การดูแลข้อเข่าอย่างเหมาะสมจะช่วยป้องกันการเสื่อมก่อนวัย และลดปัญหาอาการปวดหรือข้ออักเสบที่อาจเกิดขึ้นได้ อาหารบำรุงข้อเข่าให้เสื่อมช้าลง ปลา ที่มีโอเมก้า 3 เช่น โดยเฉพาะอาหารทะเล เช่น… อ่านเพิ่มเติม..
• ท่านพระมหาโมคคัลลานะ พระเถระอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระโคตมพุทธเจ้า เป็นพระอสีติมหาสาวกผู้เป็นเอตทัคคะในด้านผู้มีฤทธิ์มาก คู่กับพระสารีบุตร ผู้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา พระมหาโมคคัลลานะ มีชื่อเดิมว่า "โกลิตะ" เป็นบุตรพราหมณ์ท้ายบ้านผู้หนึ่ง ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากกรุงราชคฤห์ โกลิตมาณพ เป็นเพื่อนสนิทกับอุปติสสมาณพ หรือ พระสารีบุตร… อ่านเพิ่มเติม..
พระพุทธเจ้าทรงแสดงอุบายแก้ง่วงแก่พระโมคคัลลานะ พระมหาโมคคัลลานะ เป็นบุตรพราหมณ์ในหมู่บ้านโกลิตคาม ได้ชื่อว่า “โกลิตะ” ตามชื่อของหมู่บ้าน มารดาชื่อโมคคัลลี คนทั่วไปจึงเรียกท่านว่า “โมคคัลลานะ” ตามชื่อของมารดา ท่านเป็นสหายที่รักกันมากับอุปติสสมาณพ (พระสารีบุตร) เที่ยวแสวงหาความสุขความสำราญ ตามประสาวัยรุ่น และพ่อแม่มีฐานะร่ำรวย… อ่านเพิ่มเติม..
บทสวดมนต์ประจำวันเกิด แบบเต็มและแบบย่อทั้ง 7 วัน ตามกำลังวัน สวดก่อนนอนชีวิตราบรื่น ร่มเย็น เสริมสิริมงคล ประโยชน์ของการสวดมนต์ก็คือทำให้จิตใจเราผ่องใส และจิตใจสงบมากขึ้น ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พระประจำวันเกิด คือ พระพุทธรูปปางถวายเนตร บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอาทิตย์… อ่านเพิ่มเติม..
อาการท้องผูก ท้องอืด ถึงแม้จะไม่ส่งผลอันตรายมากถึงชีวิตแต่ก็สร้างความอึดอัดไม่สบายท้อง หรืออาจลุกลามกลายเป็นโรคอันตรายในอนาคตได้ และที่สำคัญอาการเหล่านี้มักส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง! ผลไม้หลายชนิดอุดมไปด้วยใยอาหาร ทำให้การขับถ่ายง่ายขึ้น ผลไม้ 9 ชนิดช่วยขับถ่าย กากใยสูง แก้อาการท้องผูกชนิดไหนบ้างนั้น มาดูกันเลย 1.มะละกอสุก เป็นผลไม้ที่มีกากใยสูงและหาทานง่าย… อ่านเพิ่มเติม..
เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.