“สมบัติผลัดกันชม ตายแล้วติดตัวไปไม่ได้
ควรประมาณในความมีอยู่ ความเผื่อแผ่เมตตาเปนบารมีแก่ชีวิต”
– หลวงปู่จันทร์ สุเมโธ เปนคนหัวไทร กำเนิดในวันพฤหัส ร่างกายใหญ่สูงแบบคนโบราณ ครบบวชบุพการีจัดให้อุปสมบท ท่านเข้าสู่ร่มกาสาวพัตรครั้งแรกที่วัดหลาแก้ว เปนสัทธิวิหาริกแต่พระครูพนังศรีวิสุทธิ์พุทธิภักดี อุปัชฌาย์
หลวงปู่จันทร์ หรือ พ่อท่านจันทร์ สุเมโธ วัดทุ่งเฟื้อ หมู่ 5 ต.สวนหลวง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครศรีธรรมราช สมัยที่พ่อท่านยังมีชีวิตอยู่ชื่อเสียงกิติศัพท์ของพ่อท่านจันทร์ โด่งดังขจรกระจายกว้างไกลเป็นอย่างมาก หลวงปู่จันทร์ผู้มีวิชาอาคมแก่กล้า แม้กระทั่ง “ขุนพันธรักษ์ราชเดช” มือปราบหนังเหนียว ยังมาฝากตัวเป็นศิษย์ขอเรียนวิชา เครื่องรางควายธนูพ่อท่านจันทร์ ถือเป็นควายธนูหนึ่งเดียวของเมืองใต้
หลวงปู่จันทร์ สุเมโธ เป็นพระเกจิอีกที่มรณะภาพแล้วสรีรสังขารไม่เน่าเปื่อย “อมตะสังขาร” พระผู้มีเมตตาธรรม ญาณหยั่งรู้ชั้นสูง มีมหิทธานุภาพอาคมขลัง เก่งกล้าวิชาอาคม สังขารแข็งดุจหิน แม้เวลาล่วงเลยมาหลายปี
หลวงปู่จันทร์ ท่านได้ศึกษาวิชาทางวิปัสสนาฯ จาก พระครูอรรถธรรมรส (พ่อท่านซัง) วัดวัวหลุง พ่อท่านเอียด (ดำ) วัดในเขียว พ่อท่านเอียด (ขำ) วัดหรงบน พ่อท่านทอง วัดดอนสะท้อน ฯลฯ ท่านจึงมีเวทวิทยาคมขั้นสูง สามารถเรียกและตัดเหล็กไหลได้ หลวงปู่จันทร์ หลวงปู่จันทร์ เกิดวันพฤหัสบดี ที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๓ ณ บ้านหลาแก้ว อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช เมื่ออายุครบ ๒๐ปี ก็ได้อุปสมบทที่วัดศาลาแก้ว มีพระครูพนังศรีวิสุทธิพุทธิภักดี เป็นพระอุปัชฌาย์ อาจารย์เห้ง วัดศาลามีแก้ว เป็นพระกรรมาวาจารย์ หลวงพ่อจันทร์ ได้ฉายาว่า “สุเมโธ” หลวงปู่จันทร์ ได้เดินธุดงค์ไปทั่วทั้ง ๑๔จังหวัดภาคใต้
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๑ พ่อท่านจันทร์ สุเมโธ ท่านได้จำพรรษาที่ วัดทุ่งเฟื้อ เพราะเล็งเห็นว่าเหมาะแก่การเจริญวิปัสสนาสมาธิเป็นอย่างยิ่ง จากอดีต วัดทุ่งเฟื้อ ที่เคยมีสภาพทรุดโทรม ก็ได้รับการพัฒนาเปิดป่า เปลี่ยนเป็นศาลาโรงธรรม หอระฆัง พระอุโบสถและกุฏิสงฆ์ขึ้นมาตามลำดับ ต่อมา พ่อท่านจันทร์ ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดทุ่งเฟื้อ อย่างสมบูรณ์
พระสงฆ์ต่างจังหวัดและชาวบ้านต่างมาฝากตัวเป็นศิษย์ท่านเป็นจำนวนมาก เพื่อศึกษาตำราพิชัยสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องวิชาคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุด แต่งคนเลิศดีนักแลฯ ถือเป็นวิชาสุดยอดทั้งนั้นและ หลวงพ่อจันทร์ ก็เคยเดินทางไปศึกษาวิชากับ อาจารย์เอียดดำ วัดในเขียว อีกด้วย
กฎแห่งไตรลักษณ์มีอย่างไรความจริงก็ย่อมปรากฏเช่นนั้น หลวงพ่อจันทร์ ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติจนเกิดฌานจนแก่กล้า สามารถรู้เหตุการณ์ต่างๆแม้แต่วันตาย ดังบันทึกของคณะศิษย์วัดทุ่งเฟื้อ ทุกๆสาย หลวงปู่จันทร์ เป็นพระปฏิบัติสามารถรู้เหตุการณ์ต่างๆแม้แต่วันมรณภาพ คืนวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๒ ท่านเข้าสมาธิภาวนาตั้งแต่หัวค่ำด้วยอิริยาบถอันสงบ แม้อาการป่วยกระเสาะกระแสะมาตลอดท่านก็ไม่ ทิ้งธุระเรื่องภาวนา ตลอดคืนจนได้เวลา ๐๕.๐๐น. อันเป็น เวลาใกล้สว่าง หลวงปู่จันทร์ ท่านได้ให้บรรดาศิษย์ช่วยกันพยุงกายท่านให้ลุกขึ้น เพราะท่านนั่งสมาธิมาตั้งแต่หัวค่ำ เรี่ยวแรงก็น้อยลง
เมื่อพระสมุห์พิงค์ ขึ้นแล้ว ท่านได้เปลี่ยน สบง จีวร สังฆาฏิ ใหม่หมดเสร็จแล้วท่านได้บอกให้ลูกศิษย์ประคองให้นั่งลงทำสมาธิต่อไปหลังจากฉันอาหารเช้าแล้ว หลวงปู่จันทร์ท่านก็หลับตาลง และได้สั่งให้พระผู้เป็นศิษย์จุดเทียนไว้เบื้องหน้าหนึ่งเล่ม พร้อมทั้งไม่ให้ใครมาส่งเสียงบริเวณนั้นจะทำสมาธิครั้งสุดท้ายหลังจากกล่าวแก่ศิษย์ทุกคนแล้ว
หลวงปู่จันทร์ ท่านก็หลับตาลงเป็นครั้งสุดท้ายกำหนดจิตเข้าสู่สมาธิ เป็นลำดับเวลา ๐๘.๓๐น.บรรดาลูกศิษย์ ที่เฝ้าดูอาการของ เห็นผิดสังเกต เพราะศีรษะของท่านโน้นเอียงลงมาเล็กน้อย ซึ่งปกติท่านจะนั่งตัวตรงไม่ไหวติง ศิษย์ที่อยู่ใกล้ชิดท่านย่อมรู้ดี จึงทราบว่า หลวงปู่จันทร์ หรือ พ่อท่านจันทร์ สุเมโธ วัดทุ่งเฟื้อ ได้มรณภาพแล้วการนั่งมรณภาพของ หลวงพ่อจันทร์ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ ได้ลือกระฉ่อนไปทั่วสารทิศเมืองนครศรีธรรมราช สรีรสังขารของท่านไม่เน่าเปื่อย สังขารของท่านแข็งดุจหิน
ทั้งนี้ วิชาอาคม หยุดกระสุนปืน และป้องกันศาสตราวุธต่างๆ เป็นที่ยอมรับว่าท่านเป็นยอดไม่เป็นรองใครในใต้ล่าด้ามขวานทอง แถมท่านยังได้ชื่อว่าเป็น “เทพเจ้าเหล็กไหล” ในด้านอิทธิมงคลวัตถุของพ่อท่านจันทร์ นั้นมีอานุภาพดีเด่นในทางพุทธคุณสูง อานุภาพสูงส่งจากประสบการณ์ผู้นำติดตัวไปใช้ก็มีมากมาย จึงเป็นที่หวงแหนของผู้ที่ครอบครองไว้ สำหรับความรู้สึกของศิษยานุศิษย์ที่ได้เรียนวิชาคงกระพัน วิชาชาตรี วิชาแคล้วคลาด วิชามหาอุด วิชาแต่งคน และรับมอบอิทธิวัตถุมงคลของหลวงพ่อจันทร์ พูดได้ว่ายอดเยี่ยมเลยทีเดียว
ณ ปัจจุบันมีการพัฒนาวัดทุ่งเฟื้อและได้มีการทำนุบำรุงศาสนา นักท่องเที่ยวผู้ศรัทธาทั้งชาวไทยและต่างชาติ มาเลเซีย สิงค์โปร์เดินทางมาบ่อยครั้ง
ภาพถ่ายพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง และ พ่อท่านจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ ในคราวบรรจุพระบรมธาตุและฉลองพระเจดีย์ ณ วัดเขมวงศาราม อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๒