วันมาฆบูชา เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ มีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน ๑,๒๕๐ รูปมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมายกันพระสงฆ์ ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา ๖ และเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจากพระพุทธเจ้า ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นทั้งหลักการอุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติที่ นำไปใช้ได้ทุกสังคม มีเนื้อหาคือ

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง : การไม่ทำบาปทั้งปวง
กุสะลัสสูปะสัมปะทา : การทำกุศลให้ถึงพร้อม
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง : การชำระจิตของตนให้ผ่องใส
เอตัง พุทธานะสาสะนัง : ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
สรุปคำสอนเรื่อง โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหลักคำสอนสำคัญที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ได้ประทานแก่ที่ประชุมพระภิกษุสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปในวันมาฆบูชา เพื่อวางจุดหมาย หลักการ และวิธีการ ในการเผยแผ่เพื่อเข้าถึงพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งหลาย
หลักการ ๓ ได้แก่
๑. สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง : การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลดละเลิก ได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งความชั่วมี ๑๐ ประการ อันความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ
๒. กุสะลัสสูปะสัมปะทา : การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี ๑๐ ประกาศอันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ
๓. สะจิตตะปะริโยทะปะนัง : การชำระจิตของตนให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนิวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบมี ๕ ประการ ได้แก่

๑. กามฉันทะ คือความพอใจในกาม
๒. พยาบาท คือความอาฆาตพยาบาท
๓. ถีนะมิทธะ คือความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน ขี้เกียจ
๔. อุทธัจจะ กุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ
๕. วิจิกิจฉา คือความสงสัย
อุดมการณ์ คือ เป้าหมายสูงสุดในการดำเนินชีวิต มี ๔ ประการ ได้แก่
๑. ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
๒. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้ายรบกวน หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
๓. ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
๔. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จากการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘

วิธีการ ๖
๑.ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร
๒. ไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๓. สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎ กติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของสังคม
๔. รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหารหรือการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
๕. อยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
๖. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ ฝึกหัดชำระจิตให้สงบมีสุขภาพคุณภาพ และประสิทธิภาพที่ดี
Ⓜ️ เรื่องที่น่าสนใจ |

"วันมาฆบูชา" เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ เนื่องจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา เป็นการแสดงปาติโมกข์ที่ประกอบด้วยองค์ ๔ เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" และในวันเดียวกันนี้ก็เป็นวันที่ "พระสารีบุตร" พระอัครสาวกเบื้องขวาผู้เลิศทางด้านปัญญาของพระพุทธเจ้า ได้สำเร็จเป็น "พระอรหันต์" ในขณะที่ท่านกำลังถวายงานพัดให้แก่พระพุทธองค์ ณ ถ้ำสุกรขาตา เชิงเขาคิชกูฏ นครราชคฤห์ "พระสารีบุตร" ผู้เป็น "พระอัครสาวกเบื้องขวา" ของพระพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า "เป็นเลิศกว่าพระภิกษุทั้งปวงในด้านสติปัญญา" เมื่อแรกเกิดมีชื่อว่า "อุปติสสะ" ท่านเกิดวันเดียวกันกับสหายของท่านคือ "โกลิตะ" ซึ่งต่อมาคือ "พระมหาโมคคัลลานะ" ผู้เป็น "พระอัครสาวกเบื้องซ้าย" ของพระพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า "เป็นเลิศกว่าพระภิกษุทั้งปวงในด้านผู้มีฤทธิ์มาก" บรรลุโสดาบันและบวชในพระพุทธศาสนา..."พระอัสสชิ" อันเป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์วันหนึ่งท่านถือบาตรและจีวร ไปสู่กรุงราชคฤห์...เพื่อบิณฑบาต "อุปติสสะ" ได้พบพระอัสสชิเถระ ประทับใจในอิริยาบถน่าเลื่อมใส สำรวมดี ของท่านพระอัสสชิเถระ ผู้มีอินทรีย์ฝึกดีแล้ว จึงเกิดความคิดว่า "ท่านผู้นี้จักเป็นพระอรหันต์" จึงได้เดินตามหลังพระอัสสชิเถระและสอบถามพระอัสสชิเถระในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับคำสอนของพระศาสดา พระอัสสชิจึงได้กล่าวคำสอนของพระพุทธองค์ว่า...…

วันมาฆบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๓ เนื่องในโอกาสคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ หลักคำสอนสำคัญที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา แก่พระภิกษุจำนวน ๑,๒๕๐ รูป โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็น "ปาติโมกข์" ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงตลอดปฐมโพธิกาล คือ ๒๐ พรรษาแรก เฉพาะครั้งแรกในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน ๓) หลังจากตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน เป็นการแสดงปาติโมกข์ที่ประกอบด้วยองค์ ๔ เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ซึ่งมีเพียงครั้งเดียวในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งๆ หรือจะเรียกว่าเป็นการประกาศตั้งศาสนาก็ได้ (อรรถกถาแสดงไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" นี้ ด้วยพระองค์เอง ท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ตลอด ๒๐ พรรษาแรก หลังจากนั้นทรงบัญญัติให้พระสงฆ์แสดง "อาณาปาติโมกข์" แทน) เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ : นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย โอวาทปาติโมกข์ หลักปฏิบัติ ในการเผยแผ่ประกาศธรรม พระพุทธเจ้ากี่พระองค์…

"วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ " แต่คงมีบางท่านที่ยังไม่รู้ว่าวันธรรมสวนะนั้นมีความเป็นมาอย่างไรบ้าง ลองอ่านบทความด้านล่างดูกันนะคะ ความเป็นมาของวันธรรมสวนะ ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลว่า "นักบวชศาสนาอื่นเขามีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าในศาสนาพุทธยังไม่มี" พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวัน ๘ ค่ำ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะเพื่อกำหนดให้มีการประชุมพร้อมเพรียงกันฟังธรรม ในสมัยพุทธกาลนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชุมพระสงฆ์สาวกเพื่อทรงสั่งสอนธรรม การประชุมสงฆ์ซึ่งเป็นสาวกของพระพุทธองค์นั้นก็ได้นัดหมายไปประชุมกัน และจะมีพระสงฆ์รูปหนึ่งเป็นผู้สวดพระปาฏิโมกข์ พระภิกษุทุกรูปก็จะนั่งฟังด้วยอาการอันสำรวม และตั้งใจจนกระทั่งจบ คำว่า "สวนะ" แปลว่า การฟัง และคำว่า "ธรรมสวนะ" แปลว่า การฟังธรรม, วันฟังธรรม (ภาษาพูดเรียกว่า วันพระ) ในทางศาสนาก็ยังได้เรียกว่า วันอุโบสถ ซึ่งแปลว่า วันถือศีลของอุบาสกอุบาสิกาผู้ต้องการบุญกุศลเป็นกรณีพิเศษ พิธีของชาวบ้าน โดยพุทธศาสนิกชนก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายอาหารหวานคาวแด่พระสงฆ์ สมาทานศีล (รับศีล) และฟังพระธรรมเทศนาที่วัด ในวันธรรมสวนะนี้ ชาวบ้านก็จะละเว้นการประพฤติกิจที่เป็นบาปต่างๆ การสมาทานศีลในวันนี้ เช่น…